การทำ usability testing แอปฯ มือถือเพื่อเพิ่มการผลิตพืชผล

โดย Seven Peaks
1 นาทีในการอ่าน
24 ก.ค. 2024, 16:06:14

ภาพรวม

Ricult โซลูชันทางการเงินดิจิทัลสำหรับเกษตรกรรายย่อย ได้นำเสนอแอปพลิเคชัน AgriTech บนมือถือที่ช่วยให้นักปฐพีวิทยาและตัวแทนภาคสนามจากโรงงานสามารถตรวจสอบฟาร์มและเพิ่มการผลิตพืชผลทางการเกษตรให้มากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทุกคนในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อการสร้างโปรดักต์ที่ทันสมัยและใช้งานง่ายยิ่งขึ้น Ricult จึงต้องการปรับเปลี่ยนดีไซน์เดิมของแอปพลิเคชันไปสู่รูปแบบใหม่

โซลูชันของเรา

ทีม UX research ของเราทำงานร่วมกับเหล่า UX designer และร่วมมือกับ Ricult รวมถึงบรรดาโรงงานในเครือข่ายของ พวกเขา เพื่อระบุฟีเจอร์ที่ผู้ใช้แอปฯ จำเป็นต้องใช้ในการตรวจสอบพืชผลต่างๆ ได้อย่างละเอียด และทำให้งานของพวกเขาง่ายขึ้นกว่าเดิม เราจึงทำการวิจัย UX ที่ครอบคลุมเป็นวงกว้าง ตลอดจนสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อประเมินว่าการใช้แอปพลิเคชันในสถานการณ์จริงเป็นอย่างไร ตั้งแต่ความต้องการจากโรงงานและเกษตรกร ไปจนถึงปัญหาใดๆ ก็ตามเกี่ยวกับ user flow นอกจากนี้เรายังจัดให้มีการทดสอบการใช้งานสำหรับแอปฯ ต้นแบบในสามภาษาอีกด้วย

จากนั้น UX researcher ของเราได้ใช้ insight เหล่านี้เพื่อช่วยการออกแบบ UX และนักพัฒนาจากภายนอกของ Ricult ในการลงมือสร้างดิจิทัลโปรดักต์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ Ricult ได้อย่างแท้จริง

ระบุปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อ 70% ของผู้ใช้


ด้วยการทำ usability testing ทางออนไลน์ ทำให้เรามั่นใจได้ว่าแอปฯ นี้จะเป็นมิตรกับผู้ใช้, ใช้งานง่าย, และเหมาะกับการใช้ในชีวิตจริง

UX ของแอปฯ มือถือที่ผ่านการตรวจสอบแล้วใน 3 ประเทศ


เราทำ UX research กับผู้ใช้งานในประเทศไทย ประเทศปากีสถาน และประเทศเวียดนามผ่านเซสชันการทดสอบทางออนไลน์

ตรงกับความต้องการของตัวแทนภาคสนามหลายร้อยคน


ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ใช้จริงในพื้นที่ เราจึงมั่นใจว่าแอปฯ จะตอบสนองความต้องการเฉพาะของตัวแทนต่างๆ ในเครือข่ายของ Ricult ได้

 

 

“แม้ว่าโปรดักต์ของเราจะมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร แต่ Seven Peaks ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจที่แท้จริงและมีส่วนร่วมอย่างมากในการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจถึงความท้าทายที่ผู้ใช้ต้องเผชิญอย่างลึกซึ้ง นอกจากนี้ Seven Peaks ยังมีความยืดหยุ่นอย่างมาก โดยพร้อมที่จะปรับสิ่งต่างๆ ให้เข้ากับความต้องการของทีมและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับโปรเจกต์ได้ทุกเมื่อหากจำเป็น”

 

กระบวนการของเรา

Design discovery → Value proposition → Information architecture  → In-depth user interviews → Wireframing → Discussion guides → Usability testing

การทำ design discovery ของเราเริ่มต้นด้วยการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยตนเองและการประชุมเชิงปฏิบัติการกับตัวแทนภาคสนามที่จะตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับฟาร์ม สิ่งนี้ช่วยให้เรารู้ว่าฟีเจอร์ใดบ้างที่รวมอยู่ในแอปฯ เก่าที่สามารถนำมาใช้กับแอปฯ เวอร์ชันใหม่ได้ รวมถึงมีฟีเจอร์ใหม่อะไรบ้างที่ตัวแทน, หัวหน้างาน, และลูกค้าของเราแต่ละคนต้องการ

จากนั้น UX researcher ของเราก็ร่วมมือกับเหล่า UX designer เพื่อรวบรวม value proposition ในขั้นตอนนี้ เราได้สร้างโปรไฟล์ของลูกค้าโดยการระบุงาน, ปัญหาที่พบ, และผลกำไรที่อาจเกิดขึ้นจากตัวแทน ตามด้วยกระบวนการคิดเพื่อกำหนดวิธีที่เราจะช่วยเหลือพวกเขาผ่านโปรดักต์รวมถึงบริการ, โซลูชันที่มาแก้ปัญหา และดึงดูดให้ผู้คนอยากที่จะเข้ามาใช้งานเพิ่มขึ้น

 

SPS- Ricult-1
 

เมื่อเราพิจารณาแล้วว่าฟีเจอร์ใดจะเป็นประโยชน์และช่วยขจัดความหงุดหงิดให้ผู้ใช้ได้มากที่สุด เหล่า UX designer และ UX researcher ของเราจึงร่วมมือกันสร้างแผนผังเว็บไซต์ของแอปฯ ออกมา

โดยก่อนที่นักออกแบบของเราจะก้าวไปสู่ขั้นตอนต่อไปและเริ่มสร้างเลย์เอาต์ ทีม UX ของเราจำเป็นต้องตรวจสอบว่าสมมติฐานทางธุรกิจที่เกิดขึ้นระหว่างการนำเสนอ value proposition ว่าสิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงความต้องการในชีวิตจริงของผู้ใช้ได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นเราจึงดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบตัวต่อตัวกับผู้ใช้ที่โรงงานเพื่อระบุปัญหาก่อนที่ทีมของเราจะเริ่มออกแบบ flow และดีไซน์ของสิ่งต่างๆ ภายในแอปฯ

นอกจากนี้ ในระหว่างกระบวนการออกแบบ wireframe ทาง UX researcher ของเราได้เข้าร่วมการประชุมร่วมกับ UX designer ของเราทุกวัน เพื่อทบทวนกระบวนการพัฒนาแต่ละขั้นตอนกับตัวแทนของ Ricult สิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าการออกแบบจะสอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจของ Ricult และช่วยแก้ปัญหาของผู้ใช้ ซึ่งส่งผลให้ได้โปรดักต์ขั้นสุดท้ายออกมามีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานจริงได้ดีที่สุด

UX researcher ของเราได้ร่างคู่มือการสัมภาษณ์ผู้ใช้เพื่อนำไปใช้ในการทำ usability testing ของแอปฯ สิ่งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยสรุปคำถามที่ต้องถามผู้ใช้ในระหว่างขั้นตอนการทดสอบเท่านั้น แต่ยังสร้างสถานการณ์ที่เป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้นจากการทดสอบแอปฯ อีกด้วย โดยเราได้ใช้คู่มือนี้ในการทดสอบแอปฯ กับผู้ใช้จริง เพื่อกำหนดเนื้องานส่วนที่เหลือของการออกแบบ UX ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

https://morph-2-prd-bucket.s3.ap-southeast-1.amazonaws.com/agritech_app_e08190933c.png
 

ความท้าทายที่เราเอาชนะมาได้

1. รวบรวมข้อมูล insight ของผู้ใช้จากหลายประเทศ

Ricult ต้องการปรับใช้แอปพลิเคชัน AgriTech บนมือถือสำหรับโรงงานในประเทศไทย ปากีสถาน และเวียดนาม เพื่อทำการทดสอบการใช้งานกับตัวแทนที่ทำงานในจังหวัดต่างๆ ของทั้งสามประเทศ และเราได้ดำเนินกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องผ่านทางออนไลน์อีกด้วย

เราได้เชิญตัวแทนของ Ricult ในพื้นที่, หัวหน้าโรงงาน, และตัวแทนภาคสนามเข้าร่วมการประชุมออนไลน์เพื่อทำ usability testing ในระหว่างการทดสอบแต่ละครั้ง เราได้ส่งลิงก์ไปยังผู้เข้าร่วมเพื่อให้พวกเขาเข้าไปยัง wireframe ของเรา ซึ่งแปลออกมาเป็นภาษาของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน การขอให้ผู้ใช้แชร์หน้าจอทำให้เราสามารถสังเกตการใช้งานในส่วนต่างๆ บนหน้าจอของแอปได้ ขณะเดียวกันก็ศึกษาพฤติกรรมและปฏิกิริยาของพวกเขาไปด้วย สิ่งนี้ทำให้เราสามารถรวบรวม insight จากผู้ใช้เป้าหมายในแต่ละประเทศได้อย่างครบถ้วน 

2. หลีกเลี่ยงอุปสรรคในการบันทึกข้อมูลการผลิตพืชผล

UX research ของเราเปิดเผยว่ามาตรฐานในการตรวจสอบและวัดผลผลิตทางการเกษตรของแต่ละโรงงานไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะกับพืชผลที่ต่างชนิดกัน

แม้ว่าข้าวโพดหวานจะสามารถคาดการณ์เวลาเก็บเกี่ยวได้ แต่อ้อยจะสามารถวัดได้ก็ต่อเมื่อได้รับการแปรรูปให้กลายเป็นน้ำตาลแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การออกแบบแอปฯ ในช่วงแรกจะต้องวัดผลผลิตทางการเกษตรและบันทึกข้อมูลการเก็บเกี่ยวพืชผลในแอปฯ ไปพร้อมกัน ซึ่งหมายความว่าตัวแทนภาคสนามที่ทำงานกับอ้อยจะไม่สามารถบันทึกข้อมูล และไม่สามารถดำเนินการตามกระบวนการต่อไปในแอปพลิเคชันได้

หากไม่มีการทำ usability testing เชิงลึกของเรา ทีม UX designer ของเราและลูกค้าก็คงจะไม่รู้ถึงปัญหาที่เกิดจากฟังก์ชันการทำงานของแอปฯ และมีโอกาสสูงมากที่สิ่งนี้จะทำให้ผู้ใช้พบกับทางตันและไม่สามารถทำในสิ่งที่พวกเขาต้องการใน user flow ของแอปฯ ให้เสร็จได้ 

3. เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของพืชผลทางการเกษตร

แอปฯ ของ Ricult แสดงข้อมูลสุขภาพของพืชผลทางการเกษตรที่รวบรวมจากข้อมูลดาวเทียม ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยติดตามฟาร์มและเรือกสวนไร่นาเพื่อเพิ่มผลผลิตรวมถึงระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ตัวแทนภาคสนามกว่า 50% ที่ใช้แอปฯ ไม่เข้าใจคำย่อที่ Ricult ใช้เพื่ออ้างถึงดัชนีสุขภาพของพืชผลอย่าง NDVI (ดัชนีความแตกต่างพืชพรรณ)

เราช่วยให้การทำ data integration นี้ใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้นสำหรับผู้ใช้โดยการเปลี่ยนดัชนีสุขภาพของพืชผลเป็น "สุขภาพ" ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามเข้าใจข้อมูลดาวเทียมในแต่ละฟาร์มได้ดีขึ้น ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถสนับสนุนเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้มากยิ่งขึ้น


มีโปรเจกต์อยู่ในใจหรือไม่?
ให้เราช่วยสร้างเทคโนโลยีตามความต้องการของคุณ
ติดต่อเรา