แชร์เรื่องนี้
E-wallet คืออะไร ทำไมถึงตอบโจทย์การใช้จ่ายในยุคสังคมไร้เงินสด
โดย Seven Peaks เมื่อ 8 พ.ย. 2023, 10:43:22
ปัจจุบัน e-wallet, digital wallet หรือ กระเป๋าเงินดิจิทัล ที่หลายๆ คนเรียกกันนั้น แท้จริงแล้วก็คือโซลูชันทางการเงินที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของ FinTech นั่นเอง โดยรายงาน The Global Payments Report 2023 ของ FIS เปิดเผยว่าในปี 2022 คนไทยใช้จ่ายผ่าน e-wallet ถึง 25% ของการใช้จ่ายผ่าน e-payment ทั้งหมด และยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกในอนาคต
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตอนนี้จะมีหลายคนที่หันมาใช้ e-wallet กันมากขึ้น แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ยังคุ้นเคยกับการใช้เงินสดอยู่ ดังนั้น บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจว่า e-wallet ช่วยให้ชีวิตประจำวันของคุณง่ายขึ้นยังไงบ้าง
E-wallet คืออะไร?
E-wallet คือ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ซึ่งนับเป็น FinTech อย่างหนึ่ง ที่ผู้คนทั่วไปนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยสิ่งนี้ได้เข้ามาช่วยให้การจับจ่ายใช้สอยเงินในชีวิตประจำวันสะดวกง่ายดายยิ่งกว่าเดิม เพียงมีกระเป๋าเงินดิจิทัลที่ผูกกับบัญชีธนาคาร, บัตรเดบิต, หรือบัตรเครดิต เท่านี้ก็ใช้ e-wallet เพื่อชำระเงินค่าสินค้าและบริการตามร้านค้าหรือที่ต่างๆ ได้แล้ว
E-wallet กับ digital wallet สองอย่างนี้ต่างหรือเหมือนกันหรือไม่?
ปกติแล้วพวกเรามักใช้คำว่า e-wallet และ digital wallet สลับกันไปมาเป็นเรื่องปกติ และที่จริงแล้วสองคำนี้มีแนวคิดเดียวกัน นั่นก็เพราะว่าทั้งคู่เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บและจัดการสินทรัพย์ทางการเงินและการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม ยังมีบางคนที่อาจแยกแยะความแตกต่างระหว่างทั้งสองคำนี้ได้ไม่ค่อยเคลียร์เท่าไรนัก และใครที่ยังไม่แน่ใจว่าทั้งสองคำนั้นต่างกันอย่างไร เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจให้มากขึ้นเอง
E-wallet (กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์):
- E-wallet เป็นคำดั้งเดิมที่มีการใช้งานมาเป็นเวลานานแล้ว
- โดยทั่วไปแล้ว e-wallet หมายถึงกระเป๋าเงินจริงๆ ที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคุณสามารถจัดเก็บบัตรชำระเงินของคุณ เช่น บัตรเครดิตและบัตรเดบิต รวมถึงเงินสดในรูปแบบของสกุลเงินดิจิทัลหรือเงินอิเล็กทรอนิกส์
- E-wallet เกิดขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการชำระเงินที่หวังจะมาแทนที่วิธีการเดิมๆ เช่น การจ่ายด้วยเงินสด โดยมักใช้สำหรับการชำระเงิน, การโอนเงิน, และการจัดการบัตรสะสมคะแนน เป็นต้น
Digital wallet (กระเป๋าเงินดิจิทัล)
- Digital wallet เป็นคำที่ทันสมัยและครอบคลุมกว่า ซึ่งใช้กับสินทรัพย์ดิจิทัลและฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลายยิ่งขึ้น
- นอกเหนือจากบัตรชำระเงินและสกุลเงินดิจิทัลแล้ว กระเป๋าเงินดิจิทัลยังสามารถจัดเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น ข้อมูลบัตรประชาชน, ตั๋วต่างๆ, บัตรสะสมคะแนน, และอื่นๆ
- กระเป๋าเงินดิจิทัลมักได้รับการออกแบบมาเพื่อมอบประสบการณ์ดิจิทัลที่ครอบคลุมมากกว่าแค่การชำระเงิน พวกเขาสามารถจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลได้กว้างขึ้น และอำนวยความสะดวกในการโต้ตอบและบริการต่างๆ เช่น การเข้าถึงเอกสารที่ปลอดภัย หรือการพิสูจน์ตัวตน
โดยสรุปแล้ว แม้คำว่า e-wallet และ digital wallet มักใช้สลับกัน แต่ก็มีหลายคนที่อาจมองว่า digital wallet เป็นคำที่ทันสมัยและครอบคลุมกว่า เพราะชื่อเรียกนี้สะท้อนถึงความสามารถในการเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลและฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลายมากกว่าแค่การชำระเงินแบบเดิมๆ ซึ่งวิธีการ, ฟีเจอร์ และความสามารถเฉพาะของกระเป๋าเงินเหล่านี้ อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการและเทคโนโลยีที่นำมาใช้
9 ประโยชน์ของการใช้ e-wallet ในยุคสังคมไร้เงินสด
E-wallet มีบทบาทสำคัญในสังคมไร้เงินสดที่ประเทศไทยตั้งเป้าหมายจะไปให้ถึง หากคุณสนใจอยากจะมาเริ่มใช้ e-wallet แต่ยังลังเลหรือไม่ค่อยมั่นใจในการใช้งาน หรือกำลังคิดอยากจะพัฒนา digital product เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวไทย เราพร้อมอธิบายถึงข้อดีทั้งหมดของ e-wallet ให้คุณได้รับรู้ และต่อไปนี้คือบรรดาประโยชน์ที่ e-wallet มอบให้กับทุกคนที่อยู่ในสังคมไร้เงินสด
1. ใช้จ่ายได้สะดวกสบาย
เริ่มต้นกันด้วยประโยชน์ข้อแรกของ e-wallet ที่ช่วยให้เราทุกคนสามารถทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ เช่น ช็อปปิ้งออนไลน์, จ่ายบิลค่าน้ำค่าไฟ, และการโอนเงินให้ใครสักคน ผ่านทางสมาร์ตโฟนหรืออุปกรณ์ดิจิทัลอื่นๆ ได้จากทุกที่และทุกเวลา
2. ความปลอดภัยสูง ไม่เสี่ยงถูกแฮ็ก
ด้วยความที่ e-wallet มีการเข้ารหัสและวิธีการรับรองความถูกต้องที่ปลอดภัยเพื่อปกป้องข้อมูลทางการเงินของผู้ใช้ แตกต่างจากการพกเงินสดไปยังที่ต่างๆ ซึ่งอาจสูญหายหรือถูกขโมยได้ จึงทำให้ e-wallet สามารถจัดเก็บและเข้าถึงเงินได้ปลอดภัยกว่า นอกจากนี้ e-wallet เกือบทั้งหมดยังมีฟีเจอร์ที่ผู้ใช้ต้องยืนยันตัวตนก่อนการทำธุรกรรมทุกครั้ง เช่น สแกนลายนิ้วมือ หรือสแกนใบหน้าเพื่อเพิ่มความปลอดภัย
3. รวดเร็ว ลื่นไหล
ในยุคที่อะไรๆ ก็ต้องรวดเร็วไปเสียหมด e-wallet ก็คือหนึ่งในวิธีชำระเงินของคนใจร้อนและไม่ชอบอะไรยุ่งยาก เพียงแตะเข้าแอปฯ ในมือถือเพียงไม่กี่ครั้ง เท่านี้ก็สามารถชำระเงิน โอนเงิน หรือทำนู่นนี่ที่ต้องการได้แล้ว เรียกว่าช่วยลดเวลาที่ใช้ในการทำธุรกรรมแบบเดิมๆ เช่น นับแบงก์พร้อมกับเหรียญเพื่อจ่ายเงินค่าอะไรสักอย่าง แต่ถ้าหันมาจ่ายด้วย e-wallet ก็เร็วกว่าเห็นๆ
4. จัดการและดูข้อมูลทางการเงินได้
E-wallet หลายๆ ตัวมักมาพร้อมกับเครื่องมือจัดทำงบประมาณและประวัติการทำธุรกรรมในแอปฯ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถดูค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น, รูปแบบการใช้จ่ายต่างๆ, และวางแผนงบประมาณได้อย่างง่ายดาย ซึ่งนำไปสู่การจัดการทางการเงินที่ดีขึ้นในอนาคต
5. เชื่อมโยงกับบริการดิจิทัลต่างๆ
บ่อยครั้งที่ e-wallet มักนำเสนอบริการและการเชื่อมต่อแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถชำระเงินค่าสมัครสมาชิกออนไลน์, การซื้อในแอปฯ, ตลอดจนสินค้าและบริการดิจิทัลอื่นๆ ได้อย่างราบรื่น ผ่านทาง e-wallet โดยไม่ต้องไปหาช่องทางอื่นให้ยุ่งยาก
6. ทำแคมเปญการตลาดสนับสนุนการใช้ได้
หากคุณเป็นคนชอบเข้าร่วมแคมเปญต่างๆ e-wallet ก็เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่คุณไม่ควรพลาด เนื่องจากผู้ให้บริการ e-wallet หลายรายมักจะจัดทำโปรโมชัน cashback, แจกส่วนลด, มอบคะแนนสะสม, และสิ่งจูงใจอื่นๆ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ใช้เข้ามาทำธุรกรรมภายในแอปฯ หรือแพลตฟอร์มของพวกเขา และแน่นอนว่ารางวัลเหล่านี้สามารถจูงใจให้หลายๆ คนหันมาใช้ e-wallet ในการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันได้
7. เข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้ง่ายมากขึ้น
จากเดิมที่ใครสักคนอยากเปิดบัญชีธนาคารเพื่อไว้ใช้โอนเงินหรือชำระค่าสิ่งของ พวกเขาจะต้องไปเปิดบัญชีที่สาขาธนาคารเพื่อทำเรื่องต่างๆ แต่ขั้นตอนเหล่านั้นจะลดน้อยลงมาก เพราะไม่ว่าใครก็สมัครใช้งาน e-wallet ได้โดยไม่ต้องมีบัญชีธนาคาร จากนั้นจะเก็บเงิน, ชำระเงิน, และเข้าถึงบริการทางการเงินอื่นๆ ก็ทำได้ง่ายและเข้าถึงโอกาสทางการเงินต่างๆ ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
8. ลดต้นทุนในการทำธุรกิจ
E-wallet สามารถลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสด, การขนส่ง, และการรักษาความปลอดภัยได้ ไม่เพียงเท่านี้ บรรดาธุรกิจต่างๆ ยังคงได้รับประโยชน์จากค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตอีกด้วย และยังไม่ต้องรับความเสี่ยงในการได้เงินจากลูกค้าไม่ครบ หรือเกิดการตกหล่นโดยพนักงานหน้าร้านอีกต่างหาก
9. ชำระเงินแบบไร้การสัมผัสด้วย contactless
ทุกวันนี้ e-wallet จำนวนมากรองรับการชำระเงินแบบ contactless ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่การชำระเงินแบบ contactless ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดการสัมผัสระหว่างบุคคล ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพและความปลอดภัยอีกด้วย
E-wallet ในไทยมีอะไรบ้าง แต่ละกระเป๋าต่างกันอย่างไร
ปัจจุบันตลาด e-wallet ในไทยเรามี e-wallet อยู่หลายตัวให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้ โดยมี digital wallet หลายตัวที่พวกเราคุ้นเคยกันดี ซึ่งเราจะมาดูไปพร้อมกันว่าบรรดากระเป๋าดิจิทัลเหล่านี้มีรายละเอียดแตกต่างกันในจุดไหนบ้าง
-
TrueMoney Wallet อันดับ 1 ของ e-wallet ในไทย
จากผลสำรวจเมื่อปี 2022 เปิดเผยว่าผู้บริโภคในไทยกว่า 56% เลือก TrueMoney Wallet เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลอันดับ 1 ในดวงใจของพวกเขา ซึ่งแพลตฟอร์มการชำระเงินนี้ได้ก่อตั้งเมื่อปี 2015 พร้อมได้ให้บริการใน 7 ประเทศทั่วภูมิภาคอาเซียน รวมถึงมีลูกค้าใช้บริการมากกว่า 50 ล้านราย ที่กระจายอยู่ใน ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, เมียนมา, และกัมพูชา
สำหรับจุดเด่นของ TrueMoney Wallet ที่ทำให้ครองใจคนไทยได้นั้น ก็มาจากการที่ผู้บริโภคสามารถใช้สแกนเพื่อชำระเงินได้ที่ 7eleven รวมถึงบรรดาจุดรับชำระที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทยมากกว่า 7 ล้านแห่ง ขณะเดียวกันก็ยังได้ชื่อว่าเป็น super app ที่มีผลิตภัณฑ์ทางการเงิน, โปรโมชันจากพาร์ตเนอร์, และ TrueMoney Mastercard ฯลฯ เรียกว่าช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงการใช้จ่าย ออมเงิน และลงทุน ได้อย่างครบถ้วนและง่ายดายยิ่งกว่ายุคไหนๆ ที่ผ่านมา
-
LINE Pay เบอร์ 2 แต่มีฟีเจอร์ดีไม่เป็นรองใคร
หลายคนคุ้นเคยกับ LINE Pay ที่มีมาสคอตเป็นเจ้าน้องหมีบราวน์กับกระต่ายน้อยโคนี่สุดน่ารัก แต่นั่นไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ e-wallet นี้คว้าที่ 2 ไป แต่จริงๆ แล้วมาจากการที่ LINE อันเป็นแพลตฟอร์มรับส่งข้อความที่คนไทยใช้งานเป็นอันดับ 1 ซึ่งได้รวมฟีเจอร์ในการชำระเงินเอาไว้ในแอปฯ นั้น เพื่อที่ผู้ใช้งานจะได้ชำระเงินค่าต่างๆ ได้ทั้งแบบ offline และ online ด้วยการสแกนหรือโชว์ QR code ของตัวเองที่จุดชำระเงินก็ได้
ไม่เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ยังโอนเงินให้เพื่อนหรือแชร์ค่าใช้จ่ายผ่านทางแอปฯ LINE ได้อีกต่างหาก หรือจะใช้ผูกกับบัตรโดยสารรถไฟฟ้า BTS, ชำระเงินค่าสินค้าและบริการทางออนไลน์, ผูกกับบัตรเครดิต Kbank LINE Point เพื่อรับ cashback เป็น LINE Point ที่นำมาใช้จ่ายแทนเงินสดผ่าน LINE Pay และอื่นๆ ได้อีกด้วย ส่วนใครที่ไปไต้หวันหรือญี่ปุ่นก็ใช้แอปฯ นี้ชำระเงินค่าต่างๆ ได้เช่นกัน
-
Shopee Pay นี่คือ e-wallet ของขาช็อปตัวจริง
Shopee Pay คือหนึ่งใน e-wallet ที่เกิดมาจากแพลตฟอร์ม e-commerce อันดับต้นๆ ในไทยอย่าง Shopee ที่ได้พัฒนาฟีเจอร์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในไทยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสแกน QR code ชำระเงินตามจุดบริการ, เข้าถึงดีลและโปรโมชันต่างๆ ที่อยู่ใกล้ ณ ตอนนั้น, โปรฯ ส่งฟรีและส่วนลดเมื่อชำระเงินค่าสินค้าผ่าน Shopee, รวมถึงการจ่ายบิลค่าน้ำ ไฟ โทรศัพท์ และอื่นๆ ที่มี Shopee coin คืนมาให้ เป็นต้น
-
เป๋าตัง e-wallet ที่คนไทย(เกือบ)ทุกคนมีติดมือถือ
หากถามคนทั่วไปว่ารู้จัก e-wallet ไหม หลายคนก็คงส่ายหน้า แต่ถ้าบอกว่าแอปฯ เป๋าตัง คือ digital wallet พวกเขาก็จะร้องอ๋อทันที ด้วยความที่แพลตฟอร์มนี้เคยผูกกับการใช้โครงการคนละครึ่งของรัฐบาลในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงทำให้มันกลายเป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลที่คนไทยใช้มากที่สุดลำดับต้นๆ ไปโดยปริยาย
โดยในปัจจุบันแอปฯ เป๋าตัง ไม่ได้เป็นแค่ e-wallet ที่ไว้ใช้สแกนจ่ายเงินค่านู่นนี่นั่นเท่านั้น แต่ยังมีการเพิ่มเติมฟีเจอร์ต่างๆ มากมาย อาทิ การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล, การซื้อทอง, ใช้สิทธิในโครงการและมาตรการต่างๆ จากรัฐ, ตรวจสอบสิทธิและเงื่อนไขการรับบริการด้านสุขภาพ, ลงทุนในพันธบัตร หุ้นกู้, ใช้บัตร Play เพื่อจ่ายเงินหน้าร้านหรือทางออนไลน์ รวมถึงจ่ายเงินค่ารถไฟฟ้าและทางด่วนได้ในบัตร ฯลฯ เป็นต้น
Stripe หนึ่งในโซลูชัน e-commerce ที่ตอบโจทย์ธุรกิจยุคดิจิทัล
ในมุมมองของผู้บริโภคแล้ว หากพวกเขาสามารถที่จะเปรียบเทียบโปรดักต์กับราคา ตลอดจนถึงสินค้าและบริการได้หลากหลายขึ้น รวมถึงทำการเลือกซื้อสินค้าได้ตามความสะดวกของตนเอง นั่นก็คงเป็นเรื่องที่ดีมาก ซึ่งในขณะที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจ e-commerce ก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ
โดย Stripe ได้เป็นพาร์ตเนอร์กับ Seven Peaks และ Bluestone เพื่อสนับสนุนลูกค้าให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดตลอดทั้งเส้นทางการใช้ e-commerce ด้วยการลดความยุ่งยากในการชำระเงิน และรับประกันว่าทุกการทำธุรกรรมจะเป็นไปอย่างราบรื่นไร้รอยต่อ ในขณะเดียวกัน Bluestone ก็เข้ามาช่วยปรับปรุงความสามารถด้าน e-commerce ของลูกค้าของเราด้วยฟีเจอร์ที่แข็งแกร่งและเหมาะสมกับความต้องการที่มีมากมายในปัจจุบันได้อย่างครบถ้วน ด้วยบริการที่ตอบโจทย์ธุรกิจ e-commerce ได้แก่
- การเพิ่มประสิทธิภาพการชำระเงิน
- เว็บไซต์ e-commerce
- การจัดการและบริหารคลังสินค้า
- การประมวลผลการชำระเงิน
- การเรียกเก็บเงินการสมัครสมาชิก
- การป้องกันการฉ้อโกง
- Payment Integration
- การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่ง
สร้าง e-wallet ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ยุคใหม่ได้อย่างแท้จริง
E-wallet นั้นเป็นหนึ่งใน digital product ที่มีโอกาสในการเติบโตไม่น้อยไปกว่า FinTech ชนิดอื่นๆ ถึงว่าในปัจจุบันจะมีผู้เล่นรายใหญ่เพียงไม่กี่รายที่ครองตลาดในประเทศไทย แต่หากคุณมีไอเดียที่อยากจะพัฒนาดิจิทัลโปรดักต์ e-wallet ทาง Seven Peaks ก็พร้อมที่จะช่วยทำให้ความฝันนั้นของคุณกลายเป็นจริง เพื่อก้าวขึ้นไปแข่งขันกับบรรดากระเป๋าเงินดิจิทัลได้อย่างทัดเทียม ด้วยฟีเจอร์ต่างๆ ที่ถูกพัฒนามาเพื่อผู้ใช้ชาวไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง ปรึกษาเราตอนนี้
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)