แชร์เรื่องนี้
E-payment คืออะไร และเกี่ยวข้องกับ FinTech อย่างไร
โดย Seven Peaks เมื่อ 10 พ.ย. 2023, 15:04:48
ปัจจุบัน e-payment หรือ digital payment คือหนึ่งในเทคโนโลยีทางการเงินและการธนาคารที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยจากข้อมูลของ World Bank เปิดเผยว่าในปี 2021 ประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลกกว่า 76% มีบัญชีกับธนาคาร, สถาบันการเงินต่างๆ หรือผู้ให้บริการทางการเงินผ่านแอปฯ มือถือ เพิ่มขึ้นจาก 68% ในปี 2017 นอกจากนี้ยังมีสถิติที่น่าสนใจว่าเมื่อปี 2021 ประเทศไทยมียอดการทำธุรกรรมแบบ e-payment สูงถึง 9.7 พันล้านครั้ง อยู่ในอันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดียและจีนเท่านั้น
ข้อมูลเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นว่าผู้คนทั่วโลกรวมถึงในไทยหันมาใช้ดิจิทัลโปรดักต์ในกลุ่ม e-payment มากขึ้น แต่ก่อนที่จะเจาะลึกไปถึงรายละเอียดที่น่าสนใจต่างๆ เราอยากจะพาผู้อ่านมาทำความเข้าใจว่าจริงๆ แล้ว e-payment คืออะไรกันแน่ผ่านบทความนี้
E-payment คืออะไร เป็นช่องทางชำระเงิน หรือเป็น FinTech?
อันที่จริงแล้ว e-payment ย่อมาจากคำว่า electronic payment หรือก็คือกระบวนการของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน, ชำระเงิน, และอื่นๆ อีกมากมาย ที่โดยทั่วไปแล้วมักทำผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ และแน่นอนว่า e-payment ก็นับเป็นหนึ่งใน FinTech เหมือนกัน โดยคุณสามารถดูเพิ่มเติมได้ในบทความ “Fintech คืออนาคตของเทคโนโลยีการเงินและการธนาคารแห่งยุคดิจิทัล” ว่ามีอะไรที่น่าสนใจอีกบ้าง
E-payment ในปัจจุบันมีทั้งหมดกี่ประเภท?
หลายคนคงสงสัยว่า e-payment มีอะไรบ้าง โดยปัจจุบันนั้นประเภทของ e-payment ตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย จะแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลัก และมีแบ่งย่อยออกเป็น 8 ประเภท โดยต่อจากนี้ไปเราจะอธิบายว่า e-payment แต่ละแบบเป็นอย่างไร รวมถึงมีโปรดักต์อะไรบ้างที่ถูกรวมอยู่บ้าง เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาเรามาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่า
1. ระบบการชำระเงินที่มีความสำคัญ
- BAHTNET
สำหรับ e-payment ประเภทแรกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดูแลอยู่ก็คือ ระบบบาทเนต (Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network: BAHTNET) ที่หมายถึง การทำรายการโอนเงินเพื่อลูกค้า ทั้งที่เป็นลูกค้าสถาบันและบุคคลใดก็ตามที่มีถิ่นฐานในประเทศและนอกประเทศ รวมถึงรายการโอนเงินระหว่างสถาบันที่ทำเพื่อลูกค้าที่มีถิ่นฐานในประเทศและนอกประเทศ
2. ระบบการชำระเงิน
-
Inter-institution Fund Transfer System (ระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ)
ระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ (IFTS) หมายถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่ช่วยให้การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างสถาบันการเงินหรือธนาคารต่างๆ ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น ด้วยการเคลื่อนย้ายเงินจากธนาคารหนึ่งไปยังอีกธนาคารหนึ่งแบบเรียลไทม์หรือมีความล่าช้าน้อยที่สุด เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ตั้งแต่การโอนเงิน, ธุรกรรมทางธุรกิจ, การจ่ายบิล, และการชำระหนี้ระหว่างธนาคาร ฯลฯ เป็นต้น
-
Payment Card Network (ระบบเครือข่ายบัตร)
Payment Card Network หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า Card Network เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้บัตรชำระเงิน เช่น บัตรเครดิต, บัตรเดบิต, และบัตรเติมเงิน
เครือข่ายเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่เชื่อมโยงฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมโดยใช้บัตร รวมถึงผู้ถือบัตร, ร้านค้า, ธนาคารผู้ออกบัตร, และธนาคารของผู้รับบัตร โดยระบบเครือข่ายบัตรชำระเงินมีบทบาทสำคัญในการรับประกันว่าเงินทุนจะมีการถ่ายโอนอย่างราบรื่นและปลอดภัยในระหว่างการทำธุรกรรมผ่านบัตรต่างๆ
-
Settlement System (ระบบการชำระดุล)
ระบบการชำระดุล เป็นกลไกหรือกระบวนการที่อำนวยความสะดวกในการโอนเงินหรือทรัพย์สินในขั้นสุดท้ายระหว่างฝ่ายต่างๆ เพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่ช่วยให้มั่นใจถึงความสมบูรณ์และการชำระบัญชีของธุรกรรมทางการเงินต่างๆ เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์, การชำระเงิน, และธุรกรรมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยระบบการชำระดุลมีบทบาทสำคัญในการทำงานที่ราบรื่นและปลอดภัยของตลาดการเงินเป็นอย่างมาก
3. บริการการชำระเงิน
-
บริการบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตร ATM
บริการบัตรเครดิต, บัตรเดบิต และบัตรเอทีเอ็ม เป็นเครื่องมือทางการเงินหรือวิธีการชำระเงินที่ช่วยให้เราสามารถทำธุรกรรมทางการเงินประเภทต่างๆ ได้ เช่น ซื้อสินค้า, ถอนเงินสด และเข้าถึงเงินในบัญชีธนาคารของตนเอง
สิ่งสำคัญที่คุณควรรู้ไว้ก็คือ บัตรพลาสติกใบเดียวสามารถใช้งานได้หลายฟังก์ชัน ตัวอย่างเช่น บัตรนั้นอาจทำหน้าที่เป็นทั้งบัตรเดบิตและบัตร ATM ทำให้ผู้ถือบัตรสามารถถอนเงินสดจากตู้ ATM และทำการซื้อสินค้าด้วยบัตรใบเดียวกันได้ ในทางกลับกัน บัตรเครดิตและบัตรเดบิตมักเป็นบัตรที่แยกจากกันโดยมีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกัน
โดยผู้ที่อยากใช้บัตรเครดิตจะต้องสมัครใช้บริการกับทางธนาคารผู้ออกบัตร โดยวงเงินที่ใช้ได้จะขึ้นอยู่สถานภาพทางการเงินของผู้ขอคนนั้นๆ ซึ่งผู้ถือบัตรจะสามารถซื้อสินค้าหรือบริการได้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ รวมถึงเมื่อถึงวันกำหนดครบชำระก็จะต้องจ่ายเงินที่ได้ใช้ไปในรอบบิลก่อนหน้า หากไม่จ่ายก็ต้องเสียดอกเบี้ยรวมถึงค่าปรับตามมา
ทั้งนี้ การเลือกประเภทบัตรขึ้นอยู่กับความต้องการทางการเงิน, ความชอบ, และข้อเสนอของแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งบัตรแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อจำกัดของตัวเอง ซึ่งผู้ถือบัตรควรทราบข้อกำหนด, ค่าธรรมเนียม, และความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับบัตรที่เลือกด้วยตัวเอง
-
บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์
Electronic money service หรือที่เรียกกันว่าเงินอิเล็กทรอนิกส์ คือมูลค่าของเงินที่จัดเก็บไว้ในระบบดิจิทัลและสามารถใช้สำหรับธุรกรรมทางการเงินต่างๆ โดยบริการเหล่านี้ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคดิจิทัล เพราะสามารถใช้ได้ในหลากหลายวัตถุประสงค์ ตั้งแต่การซื้อสินค้าออนไลน์, การโอนเงิน, หรือแม้แต่การเข้าถึงสินค้าและบริการต่างๆ ต่อไปนี้คือบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
กระเป๋าเงินดิจิทัล: โดยทั่วไปเงินอิเล็กทรอนิกส์จะถูกจัดเก็บไว้ในกระเป๋าเงินดิจิทัล (digital wallet) ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่านแอปฯ มือถือ, เว็บไซต์, บัตรพลาสติก, หรือบัตรเสมือนจริง โดยกระเป๋าเงินเหล่านี้จะจัดเก็บเงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้และสามารถเชื่อมโยงกับบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิต/เดบิต เพื่อการใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งโปรดักต์ในกลุ่มนี้ก็จะมี TrueMoney Wallet, เป๋าตัง, และ Rabbit Line Pay เป็นต้น
การชำระค่าสินค้าและบริการ: ผู้ใช้สามารถใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการทั้งทางออนไลน์และในร้านค้าจริง รวมถึงยังใช้สำหรับธุรกรรมการขายปลีก, การชำระบิล, และการช็อปปิ้งออนไลน์อีกด้วย
การโอนเงินแบบ Peer-to-Peer (P2P): แอปฯ ธนาคาร รวมถึงแพลตฟอร์ม e-money จำนวนมากรองรับการโอนแบบ P2P ซึ่งในปี 2022 มีการใช้งานคิดเป็น 42% ของการทำธุรกรรมผ่าน e-commerce ทั้งหมดเลยทีเดียว ฟีเจอร์นี้ทำให้ผู้ใช้สามารถส่งเงินให้เพื่อน, ครอบครัว, หรือคนรู้จักทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมถึงการให้เงินค่าสิ่งของ, คืนเงินที่ยืมมา, หรือส่งเป็นของขวัญก็ได้อีกด้วย
Mobile banking: หมายถึงการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น สมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต เพื่อเข้าถึงและจัดการบัญชีธนาคารและทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ธุรกรรมเหล่านี้ได้แก่ การตรวจสอบยอดเงินคงเหลือในบัญชี, การดูประวัติการทำธุรกรรม, การโอนเงินระหว่างบัญชี, จ่ายบิลต่างๆ, การโอนเงินแบบบุคคลต่อบุคคล (P2P), การตั้งค่าการแจ้งเตือนบัญชีและการแจ้งเตือน และการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ธนาคารนำเสนอ เป็นต้น
การชำระเงินผ่านมือถือ: บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มักจะรวมเข้ากับแอปฯ การชำระเงินผ่านมือถือ ทำให้ผู้ใช้สามารถชำระเงินด้วยใช้สมาร์ตโฟนหรืออุปกรณ์มือถืออื่นๆ ผ่านทาง QR code, สแกนจ่าย, ตัดเงินจากบัตรเดบิตหรือเครดิต อย่างนี้เป็นต้น
บริการธนาคารและการเงินออนไลน์: ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคาร เช่น บัญชีออมทรัพย์, สินเชื่อ และตัวเลือกการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ที่นอกเหนือจากฟังก์ชันการชำระเงินขั้นพื้นฐาน
บัตรเติมเงิน: บัตรเติมเงิน หรือ prepaid card สามารถใช้เพื่อชำระเงินและถอนเงินได้ และมีกลุ่มผู้ใช้หลักเป็นคนที่ไม่ต้องการเชื่อมบัตรหรือบัญชีธนาคารของตนกับบริการโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น บัตร Youtrip, บัตร Planet SCB, และบัตร TrueMoney Mastercard ฯลฯ
การชำระเงินแบบไร้สัมผัส: หรือ contactless payment ถือเป็นหนึ่งในบริการภายใต้ e-payment ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญมาก โดยผู้ใช้สามารถแตะบัตรเดบิต, บัตรเครดิต, และบัตร prepaid ที่มีสัญลักษณ์ PayWave หรือ Tap & Go ตลอดจนบัตรโดยสารรถไฟฟ้า, หรือการใช้มือถือที่มีระบบ NFC ซึ่งผูกกับแอปฯ ที่ไว้ใช้จ่ายและชำระค่าสินค้าอย่าง Apple Pay หรือ Google Wallet ในการชำระเงินค่าต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็ว
สกุลเงินดิจิทัล: สกุลเงินดิจิทัล เช่น Bitcoin, USDT, และอื่นๆ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถจัดเก็บและทำธุรกรรมด้วยสกุลเงินดิจิทัลผ่านทางเว็บไซต์หรือแอปฯ ที่รองรับการชำระด้วย cryptocurrency ได้
-
บริการรับชำระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แทนผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการหรือเจ้าหนี้
การรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนผู้ขาย, ผู้ให้บริการ, หรือเจ้าหนี้ หมายถึงความสามารถในการประมวลผลการชำระเงินโดยลูกค้า โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตรเครดิต, บัตรเดบิต, กระเป๋าเงินดิจิทัล, และแพลตฟอร์มชำระเงินออนไลน์
โดยทั่วไปการให้บริการประเภทนี้เกี่ยวข้องกับองค์กรบุคคลที่สาม ซึ่งมักเป็นผู้ประมวลผลการชำระเงินหรือเกตเวย์การชำระเงิน ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างธุรกิจ (ผู้ขาย, ผู้ให้บริการ, หรือเจ้าหนี้) และลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
-
บริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
การให้บริการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงการให้บริการทางการเงินที่ช่วยให้บุคคลและธุรกิจสามารถส่ง, รับ, และจัดการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ บริการเหล่านี้อำนวยความสะดวกในการโอนเงินระหว่างบุคคล, นิติบุคคล, หรือต่างประเทศ โดยใช้วิธีอิเล็กทรอนิกส์และแพลตฟอร์มดิจิทัล -
บริการการชำระเงินอื่นใดที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบการเงิน หรือประโยชน์สาธารณะ
ในปัจจุบันนั้นมีบริการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงินใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย และส่งผลกระทบต่อระบบการชำระเงินเดิมที่มีอยู่รวมถึงผลประโยชน์ของสาธารณะ ซึ่งบริการเหล่านี้มักจะมาพร้อมกับวิธีแปลกใหม่ในการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งเพิ่มทั้งโอกาสและความท้าทายให้กับผู้ใช้ทุกกลุ่ม และนี่คือตัวอย่างบางส่วน
สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC): ธนาคารกลางของแต่ละประเทศกำลังสำรวจการสร้างสกุลเงินดิจิทัล หรือ CBDC เพื่อให้ผู้คนมีตัวเลือกการชำระเงินที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีคำถามตามมาเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว, การเข้าถึงบริการทางการเงิน, และนโยบายด้านการเงิน จากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
โดยปัจจุบันธนาคารกลางของประเทศไทยได้เริ่มทำ “โครงการบางขุนพรหม” เพื่อทดสอบการใช้ CBDC ระดับพื้นฐานกับประชาชนรายย่อยในวงจำกัด (pilot test) ตั้งแต่ปี 2022 จนถึงช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2023
Peer-to-Peer (P2P) Lending และ Crowdfunding: แพลตฟอร์มที่อำนวยความสะดวกในการปล่อยสินเชื่อและการระดมทุนแบบ P2P ที่อาจกระทบต่อระบบธนาคารและการเงินแบบดั้งเดิม โดยประชาชนทั่วไปจะสามารถเข้าบริการเหล่านี้ และได้รับโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อและการลงทุนเป็นวงกว้างขึ้น
Open Banking: หมายถึงการที่ผู้ให้บริการทางการเงินใดๆ ก็ตาม สามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลทางการเงินของสถาบันการเงินอื่นๆ ได้อย่างสะดวกและปลอดภัยผ่านทาง Open API โดยเป้าหมายของ open banking คือการส่งเสริมการแข่งขัน, นวัตกรรม, และเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค ด้วยการทำลายอุปสรรคในอุตสาหกรรมการธนาคารแบบเดิมๆ และทำให้เกิดการพัฒนาโปรดักต์และบริการทางการเงินที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา
Robo-Advisors: แพลตฟอร์มการลงทุนอัตโนมัติที่ช่วยให้ผู้ที่สนใจลงทุนสามารถการจัดการสินทรัพย์ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการใช้งานระบบ machine learning และ AI พร้อมทั้งตัวเลือกการลงทุนที่มีต้นทุนต่ำ และสถาบันการเงินมากมายยังหันมาพัฒนาโปรดักต์นี้เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
สถิติที่น่าสนใจของการใช้ e-payment ในประเทศไทย
หลังจากที่คุณได้ทราบถึงประเภทของ e-payment ทั้งหมดไปแล้ว เราก็อยากไปดูสถิติที่น่าสนใจของการใช้งาน e-payment ในประเทศไทย เพื่อจะได้รู้ถึงเทรนด์ล่วงหน้าและพร้อมสำหรับการพัฒนา digital product เพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์ทางธุรกิจและผู้บริโภคชาวไทยได้ดียิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
- E-payment ในไทยเติบโตถึง 5 เท่า ระหว่างปี 2017 - 2021
โดยในปี 2017 เพียงปีเดียว จำนวนธุรกรรมสูงถึง 20,700 ล้านรายการ หรือคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 460 ล้านล้านบาท
- 78% ของคนไทยใช้จ่ายและชำระเงินผ่าน mobile/internet banking
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยข้อมูลว่า 78% ของการใช้งาน e-payment ในไทยเป็นการใช้จ่ายและชำระเงินผ่านทางแอปฯ ธนาคารบนมือถือและธนาคารออนไลน์
- คนไทยอายุ 21-40 ปี คือกลุ่มที่โอนและชำระเงินผ่าน mobile/internet banking มากที่สุด
โดยเป็นกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท และใช้มากกว่า 36 ครั้ง/คน/เดือน
- คนไทยและสิงคโปร์ สามารถโอนเงินระหว่างบัญชีข้ามประเทศได้แล้ว
ตอนนี้คนไทยและสิงคโปร์สามารถที่จะโอนเงินระหว่างประเทศให้กันและกันผ่านบริการ PromptPay-PayNow แน่นอนว่ามันใช้งานได้ง่ายเหมือนกับการโอนพร้อมเพย์ให้ใครสักคนที่อยู่ในไทยด้วยการใส่เบอร์มือถือของผู้รับเท่านั้น
- ชำระเงินด้วย QR code ผ่านแอปฯ ธนาคารไทยที่ต่างประเทศได้แล้ว
ตอนนี้คนไทยที่ไปเที่ยวในสิงคโปร์, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, เวียดนาม, กัมพูชา, และญี่ปุ่น สามารถชำระค่าสินค้าและบริการผ่านทางแอปฯ ธนาคารของไทย เช่น BBL, BAY, KTB, KBANK, รวมถึง CIMB ได้อย่างสะดวกสบาย
ข้อควรระวังเมื่อต้องใช้งาน e-payment
จริงอยู่ที่ e-payment เกือบทั้งหมดเต็มไปด้วยข้อดีมากมาย รวมถึงมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด แต่ถึงอย่างนั้นเราซึ่งเป็นผู้ใช้งานก็ยังจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดที่เปิดเผยโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ระบุว่า การถูกแก๊งคอลเซนเตอร์หลอก เป็นภัยทางการเงินที่เกิดขึ้นมากสุดในประเทศไทย ตามมาด้วยการหลอกลวงผ่านโลกออนไลน์, หลอกลวงให้ลงทุนในรูปแบบแชร์ลูกโซ่, เงินกู้นอกระบบ, และการรับจ้างเปิดบัญชี (บัญชีม้า)
นอกจากนี้ ยังมีข้อควรระวังในการใช้ e-payment ที่คุณควรตระหนักถึงอยู่เสมอ ได้แก่
- ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย: ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-payment อาจเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์, การลักลอบนำข้อมูลไปใช้, และการฉ้อโกง
- ข้อกังวลด้านความเป็นส่วนตัว: ผู้ใช้อาจกังวลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงินของตนที่อาจถูกเปิดเผยโดยผู้ไม่หวังดีที่เข้ามาโจมตีระบบ e-payment
- ปัญหาทางเทคนิค: ข้อผิดพลาดทางเทคนิคหรือการหยุดทำงานของระบบอาจจะไปรบกวนบริการ e-payment ได้
เสริม e-payment ใน digital product ของคุณเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าให้ครบถ้วน
e-payment นั้นมีประโยชน์มากมายและมีการใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ แต่การจะทำให้ระบบเสถียร, ปลอดภัย, และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น คุณจำเป็นต้องพัฒนาระบบการชำระเงินที่สามารถทำงานเชื่อมกับ digital product ของคุณได้อย่างราบรื่นเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยผู้เชี่ยวชาญของเราที่ Seven Peaks เราพร้อมจะที่ช่วยคุณค้นหาโซลูชันที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ ปรึกษาเราตอนนี้
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Product Growth (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- พฤศจิกายน 2024 (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)