แชร์เรื่องนี้
Project Manager กับ Product Owner
โดย Seven Peaks เมื่อ 14 มี.ค. 2022, 10:28:00
สองหน้าที่นี้แตกต่างกันอย่างไร และทำไมคุณถึงจำเป็นต้องใช้งานพวกเขา
project manager คืออะไร?
project manager คือคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบการ implement ที่เหมาะสม และส่งมอบโปรเจกต์ให้ทันเวลา.
หน้าที่หลักของ project manager คือการตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลลัพธ์นั้นตรงตามมาตรฐานและความคาดหวังของลูกค้า
project manager ที่ทำงานในบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์มักจะมีพื้นฐานความรู้ทางเทคนิคและเข้าใจรายละเอียดงานในเชิงเทคนิคเพราะพวกเขาต้องทำงานกับ software engineer อย่างใกล้ชิด
บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีพวกเขาไหม?
บทบาทของ project manager นั้นเป็นหนึ่งในส่วนที่สำคัญที่สุดในบริษัทซอฟต์แวร์ทุกบริษัท เนื่องจากการบริหารจัดการโปรเจกต์ที่มีความซับซ้อนให้เสร็จสิ้นทันเวลานั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
หน้าที่ของ project manager อาจแตกต่างกันไปตามกลุ่มธุรกิจหากเป็นกลุ่มที่มีคนจำนวนมากมาเกี่ยวข้อง แต่หน้าที่หลักของ project manager นั้นยังเหมือนเดิม คือการสร้างสมดุลระหว่างการใช้เวลา, งบประมาณ, และขอบเขตในการทำงาน
การที่งานใดๆ จะบรรลุเป้าหมายได้นั้น project manager ต้องพิจารณาถึงภาพรวมเพื่อให้โปรเจกต์เสร็จสิ้นอย่างถูกต้องตามมาตรฐานและทันกำหนดการ
project manager ต้องรับผิดชอบในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้า เพื่อให้เกิดข้อตกลงร่วมกันก่อนที่จะเริ่มโปรเจกต์ รวมถึงประเมินว่าทรัพยากรบุคคลที่ต้องใช้ ความเสี่ยง ประโยชน์ที่จะได้รับ และรูปแบบการทำงานจะเป็นอย่างไร
project manager ต้องรักษาสมดุลของขอบเขตการทำงาน, งบประมาณ, และเวลาในการทำโปรเจกต์ รวมถึงตรวจสอบทุกขั้นตอนของโปรเจกต์ เพื่อให้สามารถรายงานผลต่อผู้บริหารและอัปเดตแผนงานได้หากมีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายหรือมีความเสี่ยงเกิดขึ้น
ต่อไปคือการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ product owner เพื่อให้เข้าใจความแตกต่างระหว่าง product owner กับ project manager ได้ชัดเจนขึ้น
product owner คืออะไร?
product owner คือคนที่ควบคุมแผนงานและการจัดลำดับความสำคัญของงานในทีม Scrum พวกเขาจะกำหนดว่าขอบเขตในการทำงานคืออะไร และบริหารจัดการมันจนเสร็จสมบูรณ์
การสร้างวิสัยทัศน์ของผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์ได้นั้น product owner จะต้องพูดคุยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในองค์กรและนอกองค์กรเพื่อวางกลยุทธ์ในอุดมคติขึ้นมา ซึ่งจะต้องมีการประชุมกับลูกค้าและรายงานผลต่อผู้บริหาร
product owner มีหน้าที่รับผิดชอบต่อรูปร่างหน้าตาและคุณภาพของผลิตภัณฑ์เวอร์ชัน final ทั้งยังต้องรวบรวมฟีดแบ็กจากลูกค้าและก้าวให้ทันเทรนด์ของตลาดในปัจจุบันอีกด้วย
product owner จะพยายามมองภาพกว้างๆ เพื่อหาวิธีทำให้งานเสร็จอยู่เสมอ พวกเขาต้องเข้าใจเกี่ยวกับตลาดและลูกค้า เพื่อให้เข้าใจ pain point ที่แท้จริงของลูกค้า และสามารถอธิบายเรื่องนี้ให้เข้าใจง่ายๆ ได้
product owner ทำอะไรบ้าง
การเป็น product owner คือการดูแลกระบวนการทุกอย่างตั้งแต่ต้นจนจบ
- วางเป้าหมาย: ขั้นตอนนี้คือการร่างแผนการว่าอยากให้ผลิตภัณฑ์มีหน้าตาอย่างไร สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้บ้าง และอยากให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นอย่างไร
- ดำเนินงาน: การสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมานั้น product owner ต้องทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรผ่าน ทีมพัฒนาซอฟต์แวร์
- เปิดตัว: ตรวจสอบให้แน่ใจว่านำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดอย่างประสบความสำเร็จ
Project manager กับ product owner มีสิ่งที่ต้องโฟกัสแตกต่างกันอย่างไร
โปรเจกต์ที่มีความซับซ้อน ประกอบด้วยกลุ่มคนหลากหลายเข้ามาทำงานนั้นจำเป็นต้องมีกลยุทธ์การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง project manager และ product owner จะร่วมมือกันเพื่อให้มั่นใจว่าโปรเจกต์จะประสบความสำเร็จได้
เหตุผลที่ทำให้ project manager มีความจำเป็น
คอยกระตุ้นทีม
ถ้าหากต้องมีการปรับปรุงและอัปเดตงาน project manager จะช่วยด้วยการสร้างพลังบวกให้กับทีมเพื่อให้ทุกคนทำงานจนสำเร็จลุล่วง กระตุ้นให้ทำงานกันเป็นทีม และลดความเครียดจากการทำงาน
รับมือกับอุปสรรคที่ต้องเผชิญ
ในฐานะ project manager คุณต้องเจอกับความท้าทายที่มาจากหลากหลายด้าน การตัดสินใจเพื่อจัดการกับปัญหาคือสิ่งที่ project manager ต้องทำ
project manager ต้องกำหนดว่าปัญหาใดร้ายแรงที่สุด เพื่อที่จะได้รีบแก้ไขและหาข้อสรุป พวกเขาต้องรู้ได้อย่างรวดเร็วว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร เพื่อที่จะนำเสนอทางแก้ที่เหมาะสมได้
เพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์และเชื่อมโยงระหว่างบริษัทและลูกค้า
บทบาทของ project manager ในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นสำคัญมาก ถ้า project manager รู้ความเสี่ยง, ปัญหา, และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โปรเจกต์ก็จะได้รับการดำเนินการอย่างเหมาะสม
เหตุผลที่ทำให้ product owner มีความจำเป็น
เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์เสร็จสมบูรณ์ตามความต้องการของลูกค้า
product owner สามารถอธิบายให้ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นภาพของกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจนได้ ส่งผลให้สามารถเรียงลำดับความสำคัญของงานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจไปในตัว ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้ผลงานผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้
เพื่อช่วยเหลือและกำหนดวิสัยทัศน์
product owner จะสร้างโรดแม็ปขึ้นมา ซึ่งจะกว้างกว่าที่ project manager ทำ เพื่อควบคุมกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทีมงานสามารถโฟกัสกับงานและไปในทิศทางที่เหมาะสมได้
เพื่อบริหารจัดการ product backlog
เป้าหมายคือการส่งมอบความคืบหน้าของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งในระหว่างการประชุมแต่ละ sprint นั้น product owner ควรกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ สำหรับการบริหารจัดการ backlog เพื่อให้พร้อมต่อการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการทดสอบผลิตภัณฑ์ได้
สิ่งนี้ทำให้ product owner สามารถเพิ่มหรือลบไอเทมที่อยู่ใน backlog รวมถึงปรับแก้กระบวนการหลังจากได้รับข้อมูลมาจากทีมงาน ก่อนที่จะเริ่ม sprint ต่อไป
สรุปทิ้งท้าย
หากถามว่าความแตกต่างระหว่าง product owner และ project manager คืออะไร คำตอบคือ project manager ต้องทำให้ขอบเขตงานของโปรเจกต์, งบประมาณ, เวลา, รวมถึงการตรวจสอบแต่ละขั้นตอนของกระบวนการทำงานนั้นมีความสมดุลกัน
ส่วน product owner มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องของการวางแผนและจัดลำดับความสำคัญของงาน
การรู้ความแตกต่างระหว่าง project manager กับ product owner ช่วยให้คุณสามารถดำเนินโปรเจกต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งสองบทบาทนี้มีความสำคัญต่อทีมพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ทีมงานทำงานได้ดี และนั่นคือสาเหตุว่าทำไมคุณถึงจำเป็นต้องมีพวกเขาทั้งสอง
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Product Growth (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- พฤศจิกายน 2024 (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)