แชร์เรื่องนี้
ฝ่ายบุคคล กับ เอเจนซีจัดหางาน เลือกแบบไหน
โดย Seven Peaks เมื่อ 4 พ.ค. 2021, 11:03:00
เข้าใจความแตกต่างของทั้งคู่และเทคนิคการเพิ่ม ROI ให้สูงสุดไม่ว่าจะเลือกวิธีไหน
เกริ่นนำ
เมื่อต้องเลือกระหว่างการจ้างงานผ่านฝ่ายบุคคล กับ เอเจนซีจัดหางาน เพื่อรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์เข้ามาทำงานในโปรเจกต์ของคุณเพิ่ม เราขอแนะนำว่าคุณควรประเมิน ROI จากสิ่งที่ลงทุนไปให้ดีๆ
เพราะว่าการคำนวณ ROI นั้นสำคัญต่อการสร้างความมั่นใจว่าสิ่งที่ลงทุนไปนั้นคุ้มค่ามากแค่ไหน โดยวัดจากวัตถุประสงค์, ขอบเขตการดำเนินงาน, และระยะเวลาดำเนินงาน
เราเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อแนะนำสิ่งสำคัญที่คุณควรรู้ในการประเมิน ROI เมื่อต้องเปรียบเทียบระหว่างการจ้างงานผ่านฝ่ายบุคคล กับ เอเจนซีจัดหางาน ซึ่งจะทำให้คุณตัดสินใจเลือกได้ง่ายขึ้น
การประเมิน ROI
การจ้างทีมนักพัฒนาซอฟต์แวร์หลายตำแหน่งจำเป็นต้องวางกลยุทธ์และประสานงานกับเอเจนซีอย่างใกล้ชิด ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นได้
ตามปกติแล้วบริษัทที่กำลังมองหานักพัฒนาหรือนักออกแบบซอฟต์แวร์อยู่อาจจะมีคำถามว่า “เราควรจะคัดเลือกนักพัฒนาโดยฝ่ายบุคคล หรือควรจ้างทีมงานเอาต์ซอร์สจากเอเจนซีให้หมดเลยดี”
ความจริงก็คือ สองทางเลือกในการจ้างงานนี้ไม่ควรนำมาเปรียบเทียบกันด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่ควรเปรียบเทียบจริงๆ คือรายละเอียด เช่น อัตราส่วนการจ้างงานในแต่ละแบบมากกว่า
เรามีข้อมูลและเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้บริษัทมากมายทั่วโลกสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการจ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยการแนะนำให้คุณทำความเข้าใจว่าเมื่อไรที่ควรจ้างทีมงานพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเอาต์ซอร์สจากเอเจนซีแทนที่จะจ้างนักพัฒนามาทำงานประจำ
การจ้างเอเจนซีจากภายนอกนั้นมีประโยชน์หลายอย่างด้วยกัน เช่น มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายลง ประหยัดเวลา และอื่นๆ อีกมากมาย
ข้อมูลต่อไปนี้จะเปิดเผยให้คุณได้รู้ถึงความแตกต่างหลักๆ ระหว่างการจ้างพนักงานประจำกับการจ้างทีมพัฒนาซอฟต์แวร์จากเอเจนซี
สิ่งแรกที่ควรรู้ คือ ค่าจ้างพนักงาน และ ต้นทุนที่ต้องใช้ทั้งหมดในการจ้างงาน เพื่อจะประเมินสิ่งที่คุณต้องการ
เมื่อคุณรู้ค่าจ้างปัจจุบันของพนักงานแล้ว คุณจำเป็นต้องคูณด้วยตัวเลขของ turnover rate จากนั้นนำต้นทุนภายในกับต้นทุนภายนอกมารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนการจ้างงานทั้งหมด ซึ่งจะออกมาเป็นสมการดังนี้
ต้นทุนเฉลี่ยต่อการจ้างพนักงานหนึ่งคน = ต้นทุนภายใน + ต้นทุนภายนอกทั้งหมด / จำนวนการจ้างงานทั้งหมด
สถิติจาก Workable ระบุว่า ต้นทุนเฉลี่ยต่อการจ้างงานพนักงานหนึ่งคนอยู่ที่ประมาณ 4,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 136,000 บาท ทั้งยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่ส่งผลต่อต้นทุนดังกล่าว ดังนั้น เราแนะนำว่าควรนำตัวชี้วัดต่างๆ ของบริษัทคุณมาคำนวณด้วยเช่นกัน
เมื่อคุณรู้แล้วว่าต้นทุนเฉลี่ยต่อการจ้างพนักงานต่อหนึ่งคนอยู่ที่เท่าไร คุณก็จะรู้วิธีเพิ่ม ROI ได้ด้วยการลดหรือตัดต้นทุนต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกออกไป
ต้นทุนในการจ้างเอเจนซี
มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเอเจนซีให้มากขึ้นกัน
การทำความเข้าใจรายละเอียดต้นทุนในการจ้างเอเจนซีนั้น ก่อนอื่น ควรเข้าใจก่อนว่าโมเดลทางธุรกิจของพวกเขาที่ใช้ในการคิดค่าบริการเป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้คุณสามารถคำนวณต้นทุนในการจ้างเอเจนซีได้ถูกต้อง
เป้าหมายหลักๆ ของเอเจนซีที่คัดเลือกคนมาให้เราก็คือ การหาคนที่เหมาะสม หากคนของพวกเขาได้รับเลือก พวกเขาก็จะได้รับค่าคอมมิชชันประมาณ 15-20% จากเงินเดือนปีแรกของทีมงานคนนั้น แต่คุณต้องจำเอาไว้ว่าต้นทุนเหล่านี้อาจพุ่งสูงขึ้นเป็น 30% หากเป็นตำแหน่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่หายากและเป็นที่ต้องการของตลาดมากๆ
แน่นอนว่าต้นทุนของบริษัทคุณในการจ้างคนผ่านเอเจนซีนั้นแปรผันตามความต้องการที่แตกต่างกันไป รวมถึงอุตสาหกรรมที่คุณกำลังทำอยู่ และค่าคอมมิชชันที่คุณตกลงกับเอเจนซีที่ให้บริการจัดหาคนมาให้
แม้ว่าจะเป็นไปได้ที่ต้นทุนจะพุ่งสูงขึ้นจากกระบวนการดังกล่าว แต่เราก็สามารถประเมินค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการจ้างคนจากหลากหลายอุตสาหกรรม ตามที่ Top Echelon รายงานไว้ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 18,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 629,000 บาท ต่อปี
เข้าใจให้ชัดเจนว่าการจ้างงานแบบที่คุณต้องการเป็นอย่างไร
คุณต้องรู้ว่ามีอะไรบ้างที่จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้
จากการประเมินค่าใช้จ่ายก่อนหน้านี้ก็ชัดเจนแล้วว่า หากคุณเลือกที่จะจ้างคนผ่านเอเจนซี และเน้นด้านนี้เป็นหลัก ต้นทุนในการจ้างงานจะต่ำกว่า แต่ว่าการคำนวณจริงๆ ไม่ได้ง่ายอย่างที่คุณคิด เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่คุณต้องรู้
ตอนนี้คุณได้เห็นตัวเลขแล้วว่าสามารถประหยัดต้นทุนได้ถึง 17,000 – 18,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 612,000 บาท ต่อปี แต่ว่าการคำนวณต้นทุนยังไม่จบแค่นั้น
ในบางสถานการณ์ อาจจะคุ้มกว่าถ้าหากคุณใช้วิธีจ้างพนักงานประจำแทน อย่างไรก็ตาม มีบางสถานการณ์ที่การเลี่ยงไม่ใช้บริการจ้างคนจากเอเจนซีทำให้คุณต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าในระยะยาว
มาลองดูเคสของสถานการณ์จริงกัน มีบริษัทหนึ่งต้องการนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเข้ามาทำงานในแผนกพัฒนาแอปฯ มือถือเพื่อช่วยให้ทีมพัฒนาแอปฯ สามารถทำโปรเจกต์ขนาดใหญ่ได้ทันเวลา โดยที่ยังคงได้ผลงานที่มีคุณภาพดีตามที่คาดหวังไว้
ในเคสนี้ สิ่งสำคัญที่บริษัทนี้ต้องทำคือการจ้างคนให้เร็วที่สุดและทำอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้ว่าจะต้องจ่ายแพงกว่าเมื่อเทียบกับวิธีการอื่นๆ ก็ตาม
บริษัทนี้มีแนวโน้มที่จะเลือกการจ้างคนผ่านเอเจนซีแทนเนื่องจากสิ่งสำคัญที่สุดในสถานการณ์นี้คือการจ้างคนให้ได้เร็วๆ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กรนั้นมีความสำคัญรองลงมา
ยกตัวอย่างในเคสการจ้างงานอื่น เช่น บริษัทหนึ่งวางแผนที่จะจ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเพราะต้องการให้พวกเขาทำงานในระยะยาว และสอดคล้องกับโครงสร้างของทีม ไม่จำเป็นต้องรีบหานักพัฒนาที่มีความสามารถมาร่วมทีมแต่อย่างใด บริษัทแห่งนี้อาจต้องการจ้างพนักงานประจำด้วยฝ่ายบุคคลของตัวเองมากกว่า
ประเด็นสำคัญที่คุณควรคำนึงถึง
“สิ่งที่ยิ่งใหญ่ไม่อาจสำเร็จได้ด้วยคนเพียงคนเดียว” – สตีฟ จ็อบส์
การจ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์และนักออกแบบมาเป็นพนักงานประจำในบริษัทเพียงอย่างเดียวนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย การมีทีมงานฝ่ายบุคคลช่วยให้คุณสามารถค้นหา คัดสรร สัมภาษณ์ และจ้างผู้สมัครที่เหมาะสมได้
การทำแบบนี้มีประโยชน์มากเนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะได้พนักงานที่มีคุณภาพ เพราะทีมงานฝ่ายบุคคลในบริษัทของคุณน่าจะรู้ดีอยู่แล้วว่าบริษัทของคุณมีความต้องการแบบไหน ทั้งยังช่วยให้คุณสามารถประหยัดงบในการจ้างงานได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การมีฝ่ายบุคคลทำให้บริษัทมีภาระงานด้านนี้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการจ้างพนักงานใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการจ้างนักพัฒนาหรือนักออกแบบซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้เวลานานเป็นพิเศษ
คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีทรัพยากรที่สำคัญครบเหมือนกับที่เอเจนซีดีๆ มี ได้แก่ผู้สมัครที่มีความสามารถมากมาย เครื่องมือสมัยใหม่ที่ใช้เฟ้นหาคนเก่งๆ และความมุ่งมั่นในการหาคนที่เหมาะสมจริงๆ
ทรัพยากรเหล่านี้ที่เอเจนซีดีๆ มีใช้ทำให้พวกเขามีเครื่องมือและกระบวนการทำงานอันทันสมัยในการสื่อสารและทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้คุณและฝ่ายบุคคลของคุณสามารถทำงานร่วมกับเอเจนซีจัดหางานได้อย่างราบรื่น
ถ้าบริษัทของคุณสามารถทำในสิ่งกล่าวมาข้างต้นได้ คุณก็สามารถเพิ่ม ROI ในการจ้างทีมงานสายเทคโนโลยีได้ถึงขีดสุด และทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตในยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี
นอกจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีเคสอื่นๆ ที่คุณควรพิจารณาให้ดีเมื่อต้องเลือกระหว่างการจ้างคนในบริษัทกับเอเจนซี ได้แก่
เน้นยอดขาย กับ เน้นคุณภาพคน
เป้าหมายของเอเจนซีจัดหางานคือการสร้างรายได้ให้พวกเขา ซึ่งทำให้พวกเขาเน้นการขายทั้งกับบริษัทที่ว่าจ้างและผู้สมัครที่ใช้บริการของพวกเขา เมื่อพูดถึงผู้สมัคร เอเจนซีจัดหางานจะบอกให้คนเหล่านี้มั่นใจว่าตำแหน่งที่คุณเปิดรับสมัครนั้นเป็นโอกาสดีสำหรับอนาคตทางหน้าที่การงานของพวกเขา ในขณะที่ฝ่ายบุคคลของบริษัทนั้นจะเน้นหาคนที่มีความโดดเด่น เหมาะสมกับตำแหน่งนั้นๆ ของบริษัทมากกว่า พวกเขาโฟกัสไปที่แผนระยะยาวของบริษัทและลด turnover ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ความรวดเร็ว กับ ความแม่นยำ
เอเจนซีจัดหางานมักจะทำงานอย่างรวดเร็วกว่าหากเทียบกับฝ่ายบุคคลของบริษัท ซึ่งเอเจนซีจะทำงานหาคนไปทีละเคส พวกเขาจะช่วยให้บริษัทของคุณได้คนอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะได้รับเงินแล้วก็ไปหาคนในตำแหน่งอื่นต่อ ในขณะที่ทีมงานฝ่ายบุคคล พวกเขาจะใช้ความละเอียดรอบคอบมากกว่านั้น เนื่องจากพนักงานเหล่านี้เองก็ทำงานอยู่ในบริษัท ทำให้พวกเขารู้ดีว่าแต่ละตำแหน่งนั้นต้องการคนแบบไหนกันแน่ก่อนที่จะโพสต์รายละเอียดงานไป
ความเข้าใจด้านเทคนิค กับ ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กร
เอเจนซีนั้นเข้าใจดีว่าตำแหน่งที่รับสมัครต้องการคนมีทักษะแบบไหนและจะหาผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอย่างไร ทำให้พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว เมื่อบริษัทต้องการคนในตำแหน่งงานด้านเทคนิคและตำแหน่งอื่นๆ ที่หายาก หากได้ร่วมมือกับเอเจนซีที่เก่งๆ ก็จะมีประโยชน์มากและช่วยให้การจ้างคนราบรื่นยิ่งขึ้น ซึ่งตอนที่เอเจนซีรับงานมา พวกเขาอาจจะมีผู้สมัครที่เหมาะสมบางคนอยู่ในรายชื่อแล้วก็ได้
ส่วนฝ่ายบุคคลของบริษัทนั้นตรงกันข้าม พวกเขามักจะไม่ค่อยรู้รายละเอียดนัก เพราะต้องดูแลการหาคนในตำแหน่งที่หลากหลายให้กับบริษัท แต่ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่เข้าใจรายละเอียดทุกอย่างของทุกตำแหน่ง แต่พวกเขามักจะคัดพนักงานที่มีคุณภาพดีและบริษัทมองเห็นถึงคุณค่าอยู่เสมอ
สรุปทิ้งท้าย
เมื่อต้องเลือกระหว่างการจ้างทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีผ่านฝ่ายบุคคลของบริษัทกับการเอาต์ซอร์สทีมนักพัฒนาจากภายนอกหรือจ้างผ่านเอเจนซีจัดหางาน สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจเรื่องของต้นทุนในการจ้างงานตำแหน่งที่ต้องการในอุตสาหกรรมนั้นๆ เสียก่อน
เมื่อคุณรู้ต้นทุนหรือตัวเลขที่ว่าแล้ว ก็สามารถตัดสินใจเลือกจ้างมาเป็นพนักงานของบริษัท ซึ่งจะเหมาะกับแผนงานระยะยาวและตำแหน่งงานที่ไม่จำเป็นต้องรีบหามากนัก หรือเลือกวิธีเอาต์ซอร์สผ่านเอเจนซีก็ได้ หากคุณต้องการที่จะหาทีมงานฝ่ายเทคนิคได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้โปรเจกต์ที่ต้องการเสร็จสิ้นอย่างรวดเร็ว
ไม่ว่าคุณจะเลือกเส้นทางไหน แต่ข้อมูลดังกล่าวก็จะทำให้คุณเข้าใจทั้งสองตัวเลือกอย่างถ่องแท้ เพื่อที่จะตัดสินใจเลือกได้อย่างถูกต้องตามสถานการณ์และสิ่งที่ต้องการในตอนนั้น
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Product Growth (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- พฤศจิกายน 2024 (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)