แชร์เรื่องนี้
ทำไมเฟรมเวิร์กที่ดีจึงก่อให้เกิดแอปฯ ที่มีประสิทธิภาพ
โดย Seven Peaks เมื่อ 15 ก.ย. 2023, 14:06:37
อะไรที่เป็นสิ่งที่ทำให้แอปพลิเคชันมือถือมีประสิทธิภาพ? ในความเห็นของเราแล้ว สิ่งนั้นคือดิจิทัลโปรดักต์ใดๆ ก็ตามที่สามารถสร้างผลกระทบมากที่สุดต่อชีวิตของใครสักคน และตอบสนองต่อความต้องการในชีวิตจริงของพวกเขาได้ครบถ้วน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความต้องการในโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความคาดหวังของผู้คนเกี่ยวกับสิ่งที่แอปพลิเคชันมือถือควรทำได้ก็ต่างออกไปจากเดิมเช่นกัน
บ่อยครั้งที่เรามักพบว่าแอปฯ ที่เชื่อมโยงกับเฟรมเวิร์กแบบเดิมและวิธีการพัฒนา UI อันล้าสมัยนั้นยากต่อการตามเทรนด์ต่างๆ ของตลาดที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาให้ทัน ดังนั้นผู้ให้บริการแอปฯ มือถือจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับชุดเครื่องมือ mobile development ที่มีความสามารถมากกว่า
แม้ว่าการก้าวกระโดดไปสู่เฟรมเวิร์กใหม่อาจดูน่ากังวลในช่วงแรกๆ แต่บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจว่าเหตุใดถึงคุ้มค่าที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
ทำไมถึงต้องเปลี่ยนไปใช้เฟรมเวิร์กใหม่
การสร้าง UI ที่ทันสมัยและใช้งานง่ายอาจเป็นเรื่องยากหากใช้เฟรมเวิร์กที่ล้าสมัย ซึ่งบางงานที่ดูเรียบง่ายอาจกลายเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เวลานานกว่าเดิมถ้าต้องใช้ UI ที่ซับซ้อนหรือเพิ่มฟีเจอร์ที่ทันสมัย เช่น แอนิเมชันหนักๆ, เอฟเฟกต์แสงเงาหรือ glance, เครื่องสแกน QR code หรือฟังก์ชันอื่นๆ
นอกจากนี้ เมื่อคุณพยายามเริ่มอัปเดตฟีเจอร์ คุณก็จะพบว่าสิ่งต่างๆ ดูไม่สอดคล้องกันหลายอย่าง จากนั้นองค์ประกอบของแอปฯ ของคุณก็เริ่มขัดข้อง และสุดท้ายคุณก็จำเป็นที่ต้องเขียนโค้ดและปรับโครงสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ในท้ายที่สุด
ในทางกลับกัน ด้วยชุดเครื่องมือสมัยใหม่อย่าง Jetpack Compose คุณสามารถสร้างองค์ประกอบหนึ่งสำหรับหน้าจอที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้มากขึ้นหากมีฟีเจอร์ใหม่ที่อาจถูกเพิ่มเข้ามาในอนาคต ซึ่งคุณสามารถที่จะปรับพารามิเตอร์หลายตัวให้เข้ากับหน้าจอที่มีขนาดแตกต่างกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างโค้ดขึ้นมาใหม่ทุกครั้ง
การสลับไปใช้เฟรมเวิร์กใหม่จะทำให้การปรับขนาดและพัฒนาโปรดักต์ของคุณง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก เนื่องจากนักพัฒนาจะประหยัดเวลาในการเขียนโค้ดให้กับแต่ละองค์ประกอบที่เพิ่มเข้ามาในอนาคต แต่ว่าด้วยเฟรมเวิร์กเก่าเช่น XML view นั้นทำให้คุณอาจจะต้องสร้างไฟล์ XML แต่ละไฟล์ขึ้นมาใหม่
โดยรวมแล้ว เฟรมเวิร์กใหม่จะช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรอันมีค่าเมื่อเพิ่มฟีเจอร์ใหม่และอัปเดตแอปฯ ของคุณ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ผู้ใช้ของคุณจะได้รับอินเทอร์เฟซที่สวยงามและใช้งานง่ายยิ่งขึ้น
กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจ
Grab และ Disney+ เป็นหนึ่งในแบรนด์ชั้นนำระดับโลกที่ใช้ Jetpack Compose เพื่อลดโค้ดที่ต้องใช้รวมถึงสร้างแอปฯ ที่ใช้งานได้ราบรื่นและมีความสวยงาม ขณะเดียวกันยังใช้คนในการพัฒนาและดูแลรักษาแอปฯ เหล่านั้นน้อยลงอีกด้วย สิ่งนี้ช่วยให้วิศวกรสามารถทำงานได้อย่างดีเยี่ยม และช่วยเพิ่มความเร็วในการพัฒนาได้สูงสุดถึงสามเท่า
นอกจากนี้ยังมีบริษัทอื่นๆ อีกหลายแห่งใช้ที่เฟรมเวิร์กนี้เพื่อพัฒนาแอปฯ ของตน ได้แก่:
เพราะอะไรบางบริษัทจึงลังเลที่จะ
อัปเกรดเฟรมเวิร์กของพวกเขา
การย้ายจากเฟรมเวิร์กเดิมไปสู่เฟรมเวิร์กใหม่อาจทำให้คุณต้องเขียนโค้ดของแอปฯ มือถือใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในช่วงแรกๆ จะใช้เวลานานสักหน่อย นอกจากนี้ การย้ายจาก XML view ที่คุ้นเคยไปยัง Jetpack Compose อาจเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับนักพัฒนาที่ไม่มีประสบการณ์ในการใช้ชุดเครื่องมือ Android ตัวล่าสุด และนั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณจึงรู้สึกปลอดภัยกว่ากับการใช้ของเก่า
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ไปสู่เฟรมเวิร์กใหม่จะทำให้กระบวนการพัฒนาแอปฯ ทั้งหมดง่ายขึ้นในระยะยาว เนื่องจากการสร้างสรรค์ฟีเจอร์ใหม่ๆ จะใช้เวลาน้อยลง และยังไม่จำเป็นต้องเขียนซ้ำทีละฟีเจอร์อีกต่างหาก
แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นใช้งาน Jetpack Compose
การสื่อสารระหว่างทีมเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าคุณเริ่มพัฒนาแอปฯ บนเส้นทางที่ถูกต้อง นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับแอปฯ มือถือที่มีหลากหลายฟีเจอร์ ซึ่งการจัดตำแหน่งทุกอย่างให้เหมาะสมตั้งแต่เริ่มต้นนั้นเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของแอปฯ นั่นหมายความว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องในการสร้างดิจิทัลโปรดักต์ ตั้งแต่นักวิเคราะห์ธุรกิจ, UX designer ไปจนถึง developer ของคุณจะต้องมีความเข้าใจที่ตรงกัน
การใช้เวลาจำนวนมากในช่วงเริ่มต้นเพื่อจัดระเบียบสถาปัตยกรรมและส่วนประกอบต่างๆ จะช่วยคุณประหยัดเวลาและเรื่องปวดหัวในภายหลังได้เยอะมากๆ
Design style guide เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดตำแหน่ง, กำหนดแบบอักษร, จัดระเบียบสี, ฟอนต์ตัวอักษร, และองค์ประกอบพื้นฐานอื่นๆ ที่คุณวางแผนจะใช้กับแอปฯ มือถือของคุณ โดยการตั้งชื่อที่เป็นมาตรฐานสำหรับแต่ละองค์ประกอบใน style guide ของคุณ ขั้นตอนสำคัญเหล่านี้ช่วยให้มั่นใจได้ถึงการสื่อสารที่ชัดเจนระหว่างทุกคนที่ทำงานในแอปฯ นั้น รวมถึงทีมซอฟต์แวร์ภายในและนักพัฒนาจากภายนอก ตลอดอายุการใช้งานแอปฯ ของคุณ เมื่อคุณตั้งค่าคำจำกัดความที่เป็นมาตรฐานแล้ว นักพัฒนาและนักออกแบบของคุณก็ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง
นี่อาจฟังดูเป็นเหมือนเรื่องปกติทั่วไปที่ควรทำ แต่คุณอาจแปลกใจเมื่อรู้ว่ามีหลายโปรเจกต์ที่ไม่ได้ถูกจัดระเบียบตั้งแต่ต้น ด้วยความคาดหวังว่าสิ่งต่างๆ จะสามารถจัดวางให้สอดคล้องกันได้ในภายหลัง อย่างไรก็ตาม ยิ่งแอปฯ ของคุณพัฒนาจนมีฟีเจอร์ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ การดูแลให้ทุกสิ่งสอดคล้องกันตลอดการพัฒนาก็จะยิ่งยากขึ้นเท่านั้น
ขั้นตอนต่อไปในการย้ายสิ่งต่างๆ ไปยัง Jetpack Compose คือการสร้างส่วนประกอบทั่วไปที่นำมาใช้ซ้ำได้ตาม style guide ของคุณ ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากในช่วงแรกๆ แต่ก็ช่วยให้ประหยัดเวลาการทำงานในอนาคตได้มากขึ้น นอกจากนี้ คุณควรปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อย่างเป็นทางการของ Google ที่ว่าด้วยเรื่องการสร้างส่วนประกอบที่ปรับขนาดได้เสมอ โดยทีมของคุณจะต้องปฏิบัติตามรูปแบบการตั้งชื่อเดียวกัน การมีชุดรูปแบบตัวอักษร, สี, ฟอนต์, และส่วนประกอบจากแหล่งเดียวเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากทุกคนในทีมของคุณจะต้องใช้สิ่งเหล่านี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอดการทำงานในอนาคต
เลือกการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องมากกว่าการโยกย้ายแบบเร่งด่วน
เมื่อฐานผู้ใช้ดิจิทัลโปรดักต์ของคุณมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ คุณอาจต้องการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้กับแอปพลิเคชันมือถือของคุณ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่เติบโตรวดเร็วแบบทวีคูณ เฟรมเวิร์กที่คุณใช้อยู่ก็อาจไม่ทันสมัยพอที่จะรองรับการเพิ่มฟีเจอร์เหล่านี้
หากคุณอัปเกรดเฟรมเวิร์กเพียงเพื่อต้องการเพิ่มฟังก์ชันหรือฟีเจอร์ใหม่ของแอปฯ อย่างเร่งด่วน คุณอาจเจอกับปัญหาต่างๆ ที่ทำให้เกิดความล่าช้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็อาจกินเวลาอันมีค่าไปหลายสัปดาห์ ที่แย่ไปกว่านั้น การรีบเร่งย้ายข้อมูลหรือสิ่งต่างๆ จะทำให้ทีมของคุณมีความเครียดเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การปรับปรุงเฟรมเวิร์กใหม่ยังมีราคาแพงกว่าการดูแลรักษาเฟรมเวิร์กแอปพลิเคชันของคุณอย่างสม่ำเสมออีกด้วย
เช่นเดียวกับที่นักวิเคราะห์ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จคอยจับตาดูแนวโน้มของตลาด คุณเองก็ควรอัปเดตและปรับปรุงเฟรมเวิร์กให้เป็นเวอร์ชันใหม่อยู่เสมอ เพียงแค่สละเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมงเพื่อตรวจสอบว่าเฟรมเวิร์กแอปพลิเคชันของคุณยังคงทันสมัยและรองรับการติดตั้งฟีเจอร์ใหม่ๆ ในอนาคตได้อยู่หรือไม่
นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้คุณสามารถเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ๆ บนแอปฯ มือถือ ได้ในขณะที่ฟังก์ชันการทำงานต่างๆ ยังคงเกี่ยวข้องและเป็นที่ต้องการจากผู้ใช้ของคุณอยู่ และยังเป็นการทำให้มั่นใจว่าแอปฯ สามารถสร้างผลกระทบต่อตลาดได้สูงสุด
หากแอปฯ มือถือของคุณต้องการการอัปเดตและคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ทีมงาน Seven Peaks ก็พร้อมที่จะช่วยเหลือจัดการเรื่องนี้ให้กับคุณ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทีม dedicated mobile development ของเราที่นี่
Fedor Erofeev, Senior Android Developer ที่ Seven Peaks
คุณ Fedor มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับ Android และเคยได้รับการกล่าวถึงในเว็บไซต์ El Androide Libre ของสื่อออนไลน์ในสเปนอย่าง El Espanol เขาทำงานพัฒนาแอปฯ มาแล้วหลายโปรเจกต์และมียอดดาวน์โหลดกว่า 1 ล้านครั้ง รวมถึงพัฒนาแอปฯ ส่วนตัวขึ้นมาอีกหลายแอปฯ ที่มียอดดาวน์โหลดกว่า 7 แสนครั้งใน Google Play ซึ่งมี Android widget ที่เคยติดอันดับเป็นหนึ่งในแอปฯ ที่ทำรายได้สูงสุดที่มีคนดาวน์โหลดถึง 5 แสนครั้ง
คุณ Fedor มีความหลงใหลในแพทเทิร์นและโครงสร้างสถาปัตยกรรมของการออกแบบซอฟต์แวร์, การแก้ไขปัญหา, และติดตามข่าวสารเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Product Growth (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- พฤศจิกายน 2024 (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)