แชร์เรื่องนี้
Super App คืออะไร ทำไมถึงกลายเป็นเทรนด์พัฒนาดิจิทัลโปรดักต์ที่น่าสนใจ
โดย Seven Peaks เมื่อ 8 ธ.ค. 2023, 15:40:31
หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินชื่อ “super app” กันความนิยมของมันที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ใช่แค่ในไทย หรือแค่ในเอเชีย แต่เริ่มแพร่หลายไปในวงกว้างจนกำลังจะกลายเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก จน Gartner บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยด้านเทคโนโลยีชั้นนำของอเมริกาคาดการณ์ว่าภายในปี 2027 จะมีผู้ใช้กว่า 50% ทั่วโลกหันมาใช้ super app แม้แต่ Elon Musk ก็มีการวางแผนจะให้ X มีฟีเจอร์ที่หลากหลายจนกลายเป็น super app ในอนาคตด้วย
หนึ่งในข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับสัญญาณการเติบโตของ super app ก็คือผลการสำรวจที่ PYMNTS และ PayPal ร่วมจัดทำขึ้นเมื่อปี 2022 พบว่า 72% ของผู้บริโภคในอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมนี และอังกฤษ กว่า 10,000 คน สนใจที่จะใช้ super app
กราฟจากผลการสำรวจของ pymnts.com และ PayPal
คุณอาจสงสัยว่า แล้ว super app คืออะไร ทำไมบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์รวมถึงแบรนด์มากมายจึงหันมาพัฒนา super app กัน สิ่งนี้ตอบโจทย์ความต้องการของคนในยุคปัจจุบันอย่างไร และมีจุดเด่นอะไรบ้าง มาหาคำตอบกันในบทความนี้
super app คืออะไร ทำไมถึงได้ชื่อว่าสุดยอดแอปฯ
เรื่องนี้เริ่มขึ้นในงาน Mobile World Congress เมื่อปี 2020 โดย Mike Lazaridis ผู้ซึ่งเป็น founder ของ BlackBerry คือคนแรกที่ให้คำจำกัดความของ super app เอาไว้ว่า
“Super Apps are the kinds of apps that people love, that they use every day because they offer such a seamless, integrated, contextualized and efficient experience.”
แปลแบบรวบรัดได้ว่า super app คือแอปฯ ที่ผู้คนชอบใช้เป็นประจำทุกวันเพื่อเข้าถึงบริการที่หลากหลายและรวมไว้ในที่เดียว พร้อมกับประสบการณ์ที่ราบรื่นไร้รอยต่อ ซึ่งสรุปง่ายๆ คือ เป็นแอปฯ เดียวที่มีบริการครบทุกอย่างที่ต้องการ นั่นเอง คำว่า super app ถ้าแปลตรงๆ อาจจะฟังดูเวอร์ไปสักหน่อย แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันและมีคนใช้เรียกมาจนถึงทุกวันนี้
แรกเริ่มเดิมที super app นั้นมักเริ่มมาจากแอปฯ ที่มีเพียงฟีเจอร์หรือบริการหลักเพียงอย่างเดียวก่อนด้วยแนวคิด MVP เพื่อทดลองสมมติฐานและทดสอบตลาดโดยที่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไม่ต้องเสียเวลาหรืองบประมาณมากเกินไปในการพัฒนาโปรดักต์อย่างเต็มรูปแบบ
จากนั้นเมื่อประสบความสำเร็จจนมียอดผู้ใช้งานมากพอและรู้แล้วว่าผู้ใช้ต้องการฟังก์ชันอะไรบ้าง จึงมีการเพิ่มบริการเข้าไปให้รองรับความต้องการของผู้ใช้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเป็นการต่อยอดให้ธุรกิจไปในตัว จนกลายเป็น super app โดยเราจะมาเจาะลึกกันถึงความสามารถอันหลากหลายจนเรียกได้ว่า super app ในหัวข้อต่อไป
ฟีเจอร์หลักๆ ใน super app มักจะมีอะไรบ้าง
ด้วยความที่เป็นแอปฯ ที่ทำได้หลายอย่าง แต่ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าต้องมีฟีเจอร์อะไรบ้าง เราจึงขอยกตัวอย่างบริการที่ super app มักจะมีไว้ให้ใช้ได้ ดังนี้
- วอลเล็ต คือกระเป๋าเงินดิจิทัลที่นอกจากเก็บเงินไว้เพื่อใช้จ่ายในแอปฯ แล้วยังใช้สะสมคะแนน คูปอง และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ที่ใช้เป็น Digital ID เพื่อยืนยันตัวตนได้อีกด้วย
- ระบบชำระเงิน มีระบบชำระเงินไว้ให้ใช้เพื่อจ่ายบิลหรือค่าบริการต่างๆ แบบออนไลน์ได้ภายในแอปฯ โดยตรง ซึ่งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนนั้น หนึ่งในผู้นำระบบ payment gateway ที่องค์กรต่างๆ นิยมใช้กันมากก็คือ 2C2P ซึ่งโดดเด่นด้วยบริการชำระเงินที่ครบวงจร รองรับทั้งบัตรเครดิต/เดบิต, บัตรเติมเงิน, กระเป๋าเงินดิจิทัล, ชำระผ่านตู้เอทีเอ็ม, ไปจนถึงชำระผ่านเคาน์เตอร์ และมีความปลอดภัยสูง ตรงที่เมื่อลูกค้ากรอกข้อมูลชำระเงินแล้วจะมีรหัส OTP ส่งไปยังมือถือเพื่อยืนยันตัวตน
ส่วนในระดับโลกนั้น Stripe คือผู้นำระบบชำระเงินแบบครบวงจรที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมี API ที่ใช้งานง่าย สามารถนำโค้ดไปเชื่อมต่อการทำงานกับเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว รองรับกว่า 135 สกุลเงินทั่วโลก มีความปลอดภัยและเสถียรสูง จนได้รับความไว้วางใจจากแบรนด์ระดับโลกมากมาย เช่น Amazon, BWM, Maersk, Zara เป็นต้น
- ฟู้ดดิลิเวอรี หรือบริการส่งอาหารจากร้านอาหารรอบตัวที่คนทั่วไปคุ้นเคยกันดี
- ซูเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ สามารถซื้อของกินของใช้ที่ต้องการจากซูเปอร์มาร์เก็ตได้โดยไม่ต้องไปถึงที่
- ส่งเอกสาร/พัสดุ อำนวยความสะดวกในการส่งของให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องเดินทางไปที่ทำการไปรษณีย์หรือวางบิลบริษัทได้โดยไม่ต้องจ้างเมสเซนเจอร์เอง
- อีคอมเมิร์ซ ที่ทำให้เราสามารถซื้อขายสินค้าทั้งที่เป็นแบบจับต้องได้และแบบดิจิทัลกันได้ง่ายๆ
- เรียกรถ สามารถเรียกรถให้ไปรับไปส่งได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์ หรือรถยนต์ แถมบางแอปฯ ยังสามารถกำหนดความพรีเมียมของรถยนต์ได้ด้วย
super app มีผลดีอย่างไรต่อธุรกิจ
จากหัวข้อที่แล้ว จะเห็นได้ว่า super app นั้นเต็มไปด้วยฟีเจอร์มากมายที่คนทั่วไปชอบใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้แบรนด์ต่างๆ อยากโดดเข้ามาทำ super app บ้าง ซึ่งหากแบรนด์ไหนทำสำเร็จ ก็จะส่งผลดีต่อธุรกิจในหลายทาง เช่น
- ผู้ใช้มีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้น เนื่องจากผู้ใช้ไม่ต้องออกไปใช้งานแอปฯ อื่น ทุกความต้องการสามารถจบได้ในแอปฯ เดียว ซึ่งหากใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ก็จะวนใช้หลากหลายบริการในแอปฯ เดิมซ้ำๆ จนเกิดเป็น brand loyalty ขึ้นได้ในที่สุด
- ได้ insight ที่ละเอียดขึ้น ยิ่งผู้ใช้ใช้งานบริการที่หลากหลายมากเท่าไร ก็สามารถเก็บรวบรวม insight อันล้ำค่าจากการใช้บริการอันหลากหลายของผู้ใช้ได้มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งโดยปกติแล้วแบรนด์ไม่สามารถทำได้ขนาดนี้มาก่อนหากยังคงให้บริการในรูปแบบเดิม เพราะจะได้ insight ในมิติเดิมๆ และยิ่งได้ insight มากเท่าไร ก็ยิ่งสามารถ personalize บริการทั้งหมดให้ตรงใจผู้ใช้แต่ละคนได้มากเท่านั้น
- รู้แนวทางพัฒนาโปรดักต์เดิม ประโยชน์ที่ได้ต่อเนื่องจากข้อที่แล้วก็คือนำ insight ที่ละเอียดกว่าเดิมมาแก้ไขจุดด้อยของโปรดักต์ พัฒนาจุดเด่นที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น และปรับเปลี่ยนให้ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้แต่ละคนมากขึ้น
- ทดลองโปรดักต์ใหม่ได้ง่าย เมื่อมีบริการที่หลากหลายขึ้น แบรนด์ก็อาจมองเห็นโอกาสในการทดลองสร้างบริการหรือโปรดักต์ใหม่ออกมาสู่ตลาดเพื่อให้ครอบคลุมความต้องการผู้ใช้มากยิ่งขึ้น การเปิดตัวโปรดักต์ใหม่ก็ทำได้ง่าย เพียงแค่ใส่เพิ่มเข้าไปในแอปฯ เดิม ไม่ต้องแยกออกไปพัฒนาและแยกกันโปรโมตให้วุ่นวาย ซึ่งอาจเสี่ยงที่จะมีคนดาวน์โหลดน้อยเพราะไม่มีคนรู้จักหรือไม่ค่อยอยากโหลดมาให้รกเครื่อง หากโปรดักต์ใหม่นั้นไม่ประสบความสำเร็จก็สามารถยุบทิ้งได้ง่ายด้วยการถอดออกไปจากแอปฯ
- มองเห็นช่องทางเปิดธุรกิจประเภทใหม่ เนื่องจากการทำธุรกิจประเภทเดียวอาจเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่หลายแบรนด์ต้องเผชิญ เมื่อมีช่องทางหารายได้ที่หลากหลายขึ้น ก็ย่อมส่งผลดีต่ออนาคตของแบรนด์ในระยะยาว ซึ่งบางครั้งอาจกลายเป็นธุรกิจหลักที่ต่อยอดจากธุรกิจเดิม หรือหากทำกำไรมากกว่าก็อาจทดแทนของเดิมเลยก็เป็นได้
- สามารถเปิดให้แบรนด์อื่นมาร่วมพัฒนาโปรดักต์ได้ การเป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ย่อมเป็นสิ่งดึงดูดให้แบรนด์อื่นอยากเข้ามาเป็นพันธมิตร ซึ่งพวกเขาสามารถร่วมพัฒนาโปรดักต์ที่เป็นเสมือนแอปฯ ย่อยๆ ข้างใน super app ได้ ผ่าน API เพื่อให้ super app นั้นๆ มีความสามารถหลากหลายยิ่งขึ้น และส่งผลให้มีระบบนิเวศที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
ผู้บริโภคได้ประโยชน์อะไรจาก super app
ประโยชน์หลักๆ ที่ผู้บริโภคได้จากการใช้งาน super app ก็คือ
- สามารถใช้งานบริการที่หลากหลายได้อย่างสะดวกสบายในแอปฯ เดียว แค่เปิดแอปฯ เดียวก็ตอบโจทย์ความต้องการพื้นฐานในแต่ละวันได้ ไม่ต้องสลับแอปฯ ไปมาให้วุ่นวาย
- การใช้งานแอปฯ เดียวเพื่อทำธุรกรรมต่างๆ ช่วยให้ทำสิ่งเหล่านั้นได้รวดเร็วและได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่นไร้รอยต่อ ไม่ต้องสมัครหรือลงทะเบียนใหม่ให้ยุ่งยาก เพราะใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน และเชื่อมโยงบริการทุกอย่างไว้อย่างกลมกลืน
- สามารถปรับแต่งการใช้งานภายในแอปฯ ได้ และยิ่งใช้งานมากก็ยิ่งได้รับบริการที่ตรงตามความต้องการ เนื่องจากแอปฯ มีข้อมูลการใช้งานมากพอที่จะนำเสนอบริการให้ตรงใจผู้ใช้
- ไม่ต้องดาวน์โหลดหลายๆ แอปฯ มาใช้ให้รกเครื่องหรือเปลืองเนื้อที่ SD card อีกต่อไป ทั้งยังสามารถบริหารจัดการแอปฯ ที่มีในเครื่องได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่าง super app ในไทยและต่างประเทศ
TrueID
จากแพลตฟอร์มบันเทิงของ True ที่เดิมทีมีไว้เน้นชมภาพยนตร์ ซีรีส์ และสามารถทำงานเชื่อมโยงกับกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัลของ TrueID TV ได้ ก็เพิ่มฟีเจอร์ในส่วนของกระเป๋าเงินดิจิทัลและการชำระเงินของ TrueMoney ที่พ่วงตัวเลือกในการออมเงิน สินเชื่อ ซื้อประกัน และซื้อกองทุนเข้าไปด้วย กลายเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่และครอบคลุมความต้องการของคนมากขึ้น
LINE
เดิมที LINE เป็นเพียงแอปฯ ที่เอาไว้ส่งข้อความหากันระหว่างครอบครัว เพื่อนฝูง หรือคนรู้จัก ต่อมา LINE ก็เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น Wallet ที่เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัล, LINE Pay ระบบชำระเงินกับร้านค้าและเชื่อมโยงกับบริการขนส่งสาธารณะอย่าง Rabbit LINE Pay ของ BTS, Melody Shop ที่เอาไว้ซื้อเพลงที่ชอบไปตั้งเป็นริงโทนและเสียงรอสาย, LINE Shopping แพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์, LINE BK ระบบออนไลน์แบงกิ้งที่สมัครใช้ง่ายๆ รวมเอาบริการฝาก-โอนเงิน ขอสินเชื่อ และซื้อประกันภัยเอาไว้ โดยใช้งานร่วมแอปฯ K+ ของ KBank ได้อีกด้วย, และ LINE MAN ที่นอกจากจะสั่งซื้ออาหารจากร้านอาหารได้แล้ว ยังให้บริการส่งของและวางบิลไปในตัวอีกด้วย
Grab
Grab เติบโตจากการเป็นแอปฯ เรียกรถในสิงคโปร์ที่มีทั้งมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ เมื่อได้รับความนิยมในอาเซียนก็เพิ่มบริการอื่นๆ เข้ามาอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าเงินดิจิทัล, ส่งอาหาร, รับ-ส่งพัสดุ, สั่งซื้อของจากซูเปอร์มาร์เก็ตและมินิมาร์ท, จองที่พัก, ไปจนถึงซื้อแพ็กเกจทัวร์เลยทีเดียว
ONESIAM
แอปฯ ที่โดดเด่นในเรื่องการมอบประสบการณ์ช็อปปิงแบบครบวงจรสำหรับขาช็อประดับพรีเมียมตัวจริง เป็นบริการ omnichannel ที่รองรับการเข้าถึงข้อมูลร้านค้า โปรโมชัน และอีเวนต์ที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าเครือสยามพิวรรธน์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นห้างสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่ รวมทั้งไอคอนสยาม ได้ตลอดเวลา
พร้อมระบบอีคอมเมิร์ซที่ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากร้านเหล่านี้ได้ มีข่าวสารอัปเดตเทรนด์แฟชันให้ติดตาม มีออนไลน์คอมมูนิตี้ของแบรนด์ต่างๆ ให้ติดตาม พร้อมด้วยระบบสะสมแต้มและแลกสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิกอีกด้วย โดยมีบริษัทพันธมิตรชั้นนำมากมายให้การสนับสนุน พร้อมทั้งรองรับการใช้งาน digital asset อีกด้วย
airasia Superapp
แม้ธุรกิจหลักของ AirAsia จะเป็นสายการบินราคาประหยัด แต่ปัจจุบันได้เปิดให้ใช้งาน airasia Superapp ที่มีบริการครอบคลุมทั้งเรื่องท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นจองตั๋วเครื่องบิน จองที่พัก จองรถบัส รถตู้ รถทัวร์ เรียกรถรับส่ง สั่งอาหาร สั่งซื้อสินค้าปลอดภาษี เป็นต้น
เริ่มจากเป็นแอปฯ ส่งข้อความหากัน จากนั้นก็มีโซเชียลมีเดีย แล้วเพิ่มบริการกระเป๋าเงินดิจิทัล, ระบบชำระและโอนเงิน, แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ, บริการเรียกรถ, สั่งอาหาร, จองตั๋วเครื่องบินและที่พัก จนได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ในจีน และมีบัญชีผู้ใช้กว่าพันล้านคน
จุดเด่นคือ WeChat ไม่เพียงแค่สร้างแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซขึ้นมาให้ร้านค้าต่างๆ มาขายของ แต่ยังออกแบบเป็นแอปฯ ซ้อนแอปฯ ที่เรียกว่า Mini Program เพื่อให้แบรนด์ต่างๆ สามารถใส่ฟีเจอร์เฉพาะตัวลงไปในพื้นที่ Mini Program ของตนเองแล้วนำเสนอข้อมูลและบริการที่ดึงดูดลูกค้าได้ เช่น บริการค้นหาและเช่าจักรยาน, บริการหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้า, ไปจนถึงบริการสั่งเบอร์เกอร์
คุณล่ะ อยากพัฒนา super app ไหม
การพัฒนา super app นั้นแม้จะดูเหมือนเป็นช่องทางที่น่าสนใจ เพราะสามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจและเพิ่มผลกำไรได้ แต่ก็ใช่ว่าทุกแอปฯ จะประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีคู่แข่งมากขึ้นเรื่อยๆ และแข่งขันกันอย่างรุนแรง ยากที่จะรักษาฐานผู้ใช้เดิมไว้ได้ในระยะยาว คุณจึงต้องศึกษาข้อมูลให้ดีและปรึกษาบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เชื่อถือได้
หากคุณต้องการเริ่มโปรเจกต์ super app และต้องการผู้เชี่ยวชาญมาทำหน้าที่นี้ เพียงติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษา เพราะเราเป็นที่ปรึกษาด้าน digital transformation ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาแอปฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน FinTech และอีคอมเมิร์ซกับลูกค้าชั้นนำมาแล้วมากมาย มั่นใจได้ว่า super app ของคุณจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)