แชร์เรื่องนี้
อนาคตของธนาคารไร้สาขา (virtual bank) ในประเทศไทย
โดย Seven Peaks เมื่อ 12 ก.ย. 2023, 13:36:19
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ตัดสินใจออกใบอนุญาตการธนาคารไร้สาขาจำนวน 3 ใบ โดยจะเปิดให้ผู้สนใจเข้ามายื่นขอใบอนุญาตในปี 2567 โดยประเทศไทยจะเป็นประเทศที่สามในอาเซียนที่อนุญาตให้มีธนาคารไร้สาขา หรือที่เรียกกันว่า virtual bank ต่อจากสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยธนาคารไร้สาขาที่ได้รับใบอนุญาตแห่งแรกจะสามารถเริ่มดำเนินธุรกิจได้ภายในปี 2568
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการต่างๆ ในประเทศไทยได้พัฒนาไปตามเทรนด์ของการทำ digital transformation โดยปัจจุบันผู้บริโภคในประเทศไทยสามารถเข้าถึงบริการในแอปฯ ได้แล้ว เช่น แอปฯ ธนาคารบนมือถือ, การชำระเงินด้วยการสแกน QR code และพร้อมเพย์ เป็นต้น
ไม่เพียงเท่านี้ ธนาคารไร้สาขายังมีศักยภาพในการขับเคลื่อนภาคการเงินไทยให้ก้าวไปสู่ดิจิทัลและเพิ่มการแข่งขันได้อีกมากมาย
ความท้าทายของธนาคารไร้สาขาในประเทศไทย
ธนาคารไร้สาขาอาจมีความแตกต่างจากธนาคารดิจิทัลที่นำเสนอโดยสถาบันการเงินอื่นๆ นั่นก็เพราะว่าธนาคารไร้สาขาไม่มีสาขาจริงและให้บริการโดยตรงผ่านช่องทางดิจิทัลต่างจากธนาคารทั่วไปนั่นเอง
ดังนั้น ธนาคารไร้สาขาจึงมีขีดความสามารถที่มากขึ้น ตั้งแต่เรื่องของความคล่องตัว, ใช้ต้นทุนที่น้อยลง, ต้นทุนการดำเนินงานที่ลดลง, และสามารถออกสู่ตลาดเร็วขึ้น ในทางกลับกัน virtual bank ก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายและอุปสรรคที่ไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความยืดหยุ่น
ด้วยความที่ ธปท. คำนึงถึงความเสี่ยงเหล่านี้ พวกเขาจึงได้ออกข้อกำหนดบางประการใน Virtual Banking Licensing Framework ซึ่งรวมถึงรูปแบบธุรกิจที่แข็งแกร่ง และความต้องการเงินทุนเริ่มต้นที่สูงขึ้นถึง 5 พันล้านบาท
ข้อกำหนดเหล่านี้ที่ได้ปรับปรุงล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคมภายใต้การดูแลแก้ไขโดย ธปท. ยังรวมถึงมาตรฐานบางประการสำหรับเทคโนโลยีและระบบไอทีด้วย ธนาคารไร้สาขาต้องมีเทคโนโลยีและระบบไอทีที่คล่องตัว, ปลอดภัย, ยืดหยุ่นและพร้อมใช้งานตลอดเวลา อีกทั้งพวกเขายังต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเข้าถึง, จัดการ, และใช้ข้อมูลประเภทต่างๆ เป็นอย่างดีอีกด้วย
นอกจากนี้ virtual bank จะต้องพัฒนากลไกการเคลื่อนย้ายข้อมูลเพื่อถ่ายโอนข้อมูลลูกค้าไปยังผู้ให้บริการรายอื่น
เพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ ธนาคารไร้สาขาจะต้องมีความเชี่ยวชาญที่สำคัญในด้านเทคโนโลยีทางการเงิน และต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง, โปรดักต์ที่มีประสิทธิภาพ, และการออกแบบ frontend และ backend ที่มีประสิทธิภาพสำหรับแต่ละระบบได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การบรรลุมาตรฐานเหล่านี้ยังเป็นโอกาสสำคัญสำหรับ virtual bank ในการขับเคลื่อนความสำเร็จ ก้าวนำหน้าคู่แข่ง และให้บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
การรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้นด้วยคลาวด์โซลูชัน
ข้อกำหนดของ ธปท. สำหรับระบบที่ปลอดภัยและพร้อมใช้งานตลอดเวลาสามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้ผ่านสถาปัตยกรรมคลาวด์ที่ออกแบบมาอย่างดี นั่นหมายความว่า virtual bank มีสิทธิ์ในการใช้งาน cloud native โดยไม่ต้องผูกติดกับระบบหรือฐานข้อมูลแบบเดิมๆ อีกต่อไป
คลาวด์โซลูชันที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่รับประกันความปลอดภัยของข้อมูลและข้อกำหนดการปฏิบัติตามข้อกำหนดทั่วทั้งองค์กรเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เข้าถึงและทำ integration ข้อมูลสำคัญได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
บริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง
Virtual bank จำเป็นต้องสร้างดิจิทัลโปรดักต์ที่เป็นไปได้, เป็นที่ต้องการ, และใช้งานได้จริงตามที่ลูกค้าต้องการ สิ่งนี้เริ่มต้นด้วยกระบวนการ iterative design ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างต้นแบบอย่างต่อเนื่อง, การตรวจสอบ, และการทดสอบเพื่อให้แน่ใจว่าโปรดักต์นั้นจะสามารถใช้งานได้ นอกจากนี้ยังหมายถึงการพัฒนาโปรดักต์ที่คล่องตัวและปรับขนาดได้ในขณะที่ธนาคารมีการพัฒนาและเติบโตขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวกฎระเบียบใหม่และต้องปรับสิ่งต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานใหม่
นอกจากนี้ ด้วยประสบการณ์การใช้งานข้ามแพลตฟอร์มที่รวมเป็นหนึ่งเดียว ธนาคารไร้สาขายังสามารถรับประกันได้ว่าผู้ใช้จะมีประสบการณ์ที่ราบรื่นระหว่างที่พวกเขาใช้แอปฯ มือถือและเว็บไซต์ สิ่งนี้เองทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้นเมื่อพวกเขาได้ใช้ virtual bank
การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลและการบริหารความเสี่ยง
ธนาคารไร้สาขาสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลสำรองและ AI เพื่อดึง insight ที่แม่นยำยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกค้าเมื่อต้องให้สินเชื่อ การเข้าถึงและการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมเหล่านี้ช่วยเพิ่มความครอบคลุมทางการเงินให้กับกลุ่มลูกค้าที่ปกติมักจะไม่ได้รับบริการหรือไม่ได้รับบริการโดยสิ้นเชิง ซึ่งช่วยให้ virtual bank สร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคมได้อย่างแท้จริง
ในทางกลับกัน ข้อมูลต่างๆ ยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับประสบการณ์ของลูกค้าได้อีกด้วย โดยระบบธุรกิจอัจฉริยะและระบบรวบรวมข้อมูลที่ดีขึ้นจะช่วยให้ได้รับ insight ที่ถูกต้องเพื่อสร้างประสบการณ์ส่วนบุคคล และช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับกลยุทธ์ที่ดีกว่าสำหรับอนาคตที่จะมาถึง
ประสิทธิภาพที่เหนือกว่าด้วยระบบอัตโนมัติ
กระบวนการอัตโนมัติช่วยให้ virtual bank สามารถจำกัดกำลังคน, เพิ่มความแม่นยำ, และดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากธนาคารไร้สาขาช่วยลดงานธรรมดาที่มีความซ้ำซ้อนและทำให้ประหยัดเวลาและทรัพยากรอันมีค่าได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังขจัดข้อผิดพลาดและความลำเอียง รวมถึงลดกำลังคนสำหรับการโต้ตอบพูดคุยกับลูกค้าที่ต้องใช้ความเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ
เมื่อรวมเข้ากับการออกแบบโปรดักต์ที่มีประสิทธิภาพและโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ระบบอัตโนมัติจะขับเคลื่อนบริการทางการเงินที่แข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้ ธนาคารไร้สาขาสามารถให้บริการธนาคารได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมการสมัครเปิดบัญชีที่รวดเร็วขึ้น และกระบวนการอนุมัติบัตรเดบิตและบัตรเครดิตที่มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม
อนาคตใหม่ของอุตสาหกรรมทางการเงิน
การมาถึงของ virtual bank ในประเทศไทยจะช่วยให้การแข่งขันในภาคการเงินร้อนแรงยิ่งขึ้น และจะทำให้บรรดาลูกค้ามีความคาดหวังต่อธนาคารที่พวกเขาใช้บริการอยู่ยิ่งกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมทางการเงินจะได้รับประโยชน์มากมายจากความเปลี่ยนแปลงที่ virtual bank เข้ามาถึง ตั้งแต่การทำ digital transformation, ระบบการธนาคาร, และบริการของธนาคารสามารถปรับปรุงวิธีการดำเนินงานแบบดั้งเดิมให้ทันสมัยขึ้น รวมถึงสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าเป้าหมายได้แน่นเฟ้นมากขึ้น
ค้นหาว่าซอฟต์แวร์ Seven Peaks สามารถสนับสนุนเป้าหมายทางธุรกิจของคุณและขับเคลื่อนความสำเร็จของคุณจากแนวคิดไปสู่ดิจิทัลโปรดักต์ได้อย่างไรที่นี่
Valentin Caudan, Lead of the Account Management Team ที่ Seven Peaks
ด้วยประสบการณ์กว่า 8 ปีในด้านการวิจัยเทคโนโลยีและบริการให้คำปรึกษา Valentin มีความกระตือรือร้นในการช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายการทำ digital transformation และเทคโนโลยี
ในฐานะ Lead of the Account Management Team ที่ Seven Peaks Software นั้น Valentin ทำงานร่วมกับลูกค้า, พาร์ตเนอร์, และทีมงานภายในเพื่อสร้างโซลูชันที่สร้างผลกระทบทางธุรกิจที่แข็งแกร่งให้กับองค์กรและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Product Growth (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- พฤศจิกายน 2024 (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)