แชร์เรื่องนี้
Digital Transformation คืออะไร มีความสำคัญกับอนาคตของธุรกิจยุคใหม่อย่างไร?
โดย Seven Peaks เมื่อ 29 ม.ค. 2024, 10:55:43
จากการคาดการณ์ของ Statista เผยว่า เม็ดเงินที่ใช้ในการทำ digital transformation ของบรรดาองค์กรต่างๆ ทั่วโลก จะสูงถึง 3.4 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2026 เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นั่นทำให้หลายๆ องค์กรที่เคยทำธุรกิจแบบดั้งเดิมหรือคิดว่าตัวเองยังไม่พร้อมสำหรับการแข่งขันในยุคดิจิทัล ต้องหันมาสนใจในเรื่อง digital transformation ว่ามันคืออะไร และช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างไร บทความนี้จะพาคุณไปหาคำตอบที่ว่าเหล่านั้นกัน
Digital Transformation คืออะไร ทำไมทุกองค์กรในยุคนี้ถึงให้ความสำคัญมาก?
Digital transformation เป็นกระบวนการที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ เพื่อส่งมอบคุณค่าที่มากขึ้นให้กับลูกค้า และเพิ่มความสามารถการแข่งขันในตลาดให้ทัดเทียมหรือนำหน้าคู่แข่ง สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภายในองค์กรแบบครบทุกมิติ ตั้งแต่กระบวนการทางธุรกิจ การดำเนินงาน การโต้ตอบกับลูกค้า และแม้แต่วัฒนธรรมขององค์กร เพราะเป้าหมายที่แท้จริงไม่ใช่แค่ปรับมาใช้เครื่องมือดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังทำเพื่อปรับโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรและใช้ประโยชน์จากโอกาสที่ได้รับจากการเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอีกด้วย
การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของไวรัสโควิด-19 เมื่อปี 2020 ไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญเพียงอย่างเดียวที่กระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ยกเครื่องทั้งองค์กรใหม่หมดเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอย่างพฤติกรรมของผู้บริโภคที่โหยหาสิ่งใหม่ๆ อย่างไม่เคยหยุด ด้วยการนำเสนอโปรดักต์และบริการใหม่ๆ ของบรรดาคู่แข่งในตลาด ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้ทุกบริษัทที่ต้องการแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ยิ่งต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วและทำอย่างตรงจุด จึงเห็นได้ว่าเทรนด์การทำ digital transformation เป็นที่ถูกพูดถึงเป็นวงกว้างทั้งในไทยและต่างประเทศ
7 สิ่งสำคัญในการทำ digital transformation เพื่อพาองค์กรของคุณไปสู่อนาคต
เฟรมเวิร์ก 7S ของ McKinsey ถือเป็นหนึ่งในแนวทางที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำ digital transformation ได้ แม้ว่าเฟรมเวิร์กนี้จะไม่ได้ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการทำ digital transformation ก็ตาม แต่สิ่งนี้ช่วยให้องค์กรต่างๆ มีแนวคิดริเริ่มที่จะใช้กำหนดวัตถุประสงค์ตลอดจนวิธีการเปลี่ยนผ่านรูปแบบการทำธุรกิจจากเดิมไปสู่รูปแบบใหม่ที่ตรงกับสิ่งที่ลูกค้าปัจจุบันรวมถึงในอนาคตต้องการ ต่อไปนี้คือวิธีที่เฟรมเวิร์ก 7S ของ McKinsey ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้เพื่อการพาองค์กรก้าวสู่ยุคดิจิทัล
-
Strategy - สร้างกลยุทธ์
ในบริบทของการทำ digital transformation สิ่งนี้จะเกี่ยวข้องกับการกำหนดกลยุทธ์ดิจิทัลที่ชัดเจน รวมถึงวิธีที่องค์กรจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย แข่งขันในตลาด และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
-
Structure - จัดทำโครงสร้าง
องค์กรที่อยู่ระหว่างการทำ digital transformation มักจะต้องมีการประเมินและปรับโครงสร้างใหม่เพื่อรองรับแนวทางที่คล่องตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งอาจมีเรื่องของการสร้างทีมข้ามสายงาน การสร้างนวัตกรรมที่เป็นหัวใจขององค์กร หรือละทิ้งรูปแบบการทำงานที่เป็นลำดับขั้นแบบเดิมๆ ไปสู่แนวทางที่คล่องตัวกว่าเพื่อส่งเสริมให้พนักงานทุกคนทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นมากขึ้น
-
System - ออกแบบระบบ
หัวข้อนี้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลและเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ ที่มักประกอบด้วยระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP), ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM), เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล และแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่นๆ ที่ช่วยให้กระบวนการทำงานในแต่ละภาคส่วนมีประสิทธิภาพและสามารถวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นให้ออกมาเป็นข้อมูลที่เห็นได้จริง
-
Shared Values - วัฒนธรรมองค์กรที่เป็นหนึ่งเดียว
วัฒนธรรมองค์กรนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทุกคนภายในองค์กรพร้อมและยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการทำ digital transformation ด้วยวัฒนธรรมที่เปิดรับนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงการที่พนักงานทุกคนมีความสามารถในการปรับตัว และแนวความคิดที่ยึดเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลางถือเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้ ผู้นำยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมวัฒนธรรมที่สนับสนุนให้ทุกคนเล็งเห็นถึงเป้าหมายในการเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่การแข่งขันในตลาดยุคใหม่
-
Skill - ทักษะของคนในองค์กร
ทักษะที่จำเป็นสำหรับการพาองค์กรไปสู่เป้าหมายในการทำ digital transformation นั้นมีมากกว่าแค่ทักษะแบบเดิมๆ โดยพนักงานทุกคนจำเป็นต้องได้รับความรู้ด้านดิจิทัล พร้อมฝึกฝนทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และทำความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีอยู่ในตลาด รวมถึงยังต้องทำการฝึกอบรมเพื่อการใช้โปรแกรมและยกระดับทักษะด้านดิจิทัลให้เพียบพร้อมที่สุด
-
Style - วิสัยทัศน์ของผู้นำ
วิสัยทัศน์ของผู้นำเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้สามารถ digital transformation ได้สำเร็จ โดยผู้นำที่ดีจะต้องมีวิสัยทัศน์ เปิดกว้างต่อการเปลี่ยนแปลง และเต็มใจที่จะรับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน นอกจากนี้ ยังเป็นคนที่ต้องสร้างแรงบันดาลใจและสื่อสารถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่ความเป็นดิจิทัลให้พนักงานทุกคนได้รับรู้
-
Staff - พนักงานที่พร้อมเรียนรู้ตลอดเวลา
การมีคนที่เหมาะสมกับทักษะที่ใช่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรที่กำลังเดินหน้าทำ digital transformation เริ่มตั้งแต่การสรรหาผู้มีความสามารถหน้าใหม่ที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล หรือเพิ่มพูนทักษะแห่งยุคดิจิทัลให้กับพนักงานปัจจุบันที่มีอยู่ โดยการทำงานร่วมกันและการสื่อสารระหว่างพนักงานถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรให้พร้อมกับการแข่งขันอันเข้มข้นที่รออยู่
ประโยชน์ของการทำ digital transformation ที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน
การทำ digital transformation มอบประโยชน์มากมายให้กับองค์กรในอุตสาหกรรมต่างๆ แม้ว่าข้อดีที่ได้รับอาจแตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะของธุรกิจและแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล แต่ประโยชน์เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรได้รับจากการเปลี่ยนแปลงไปสู่แนวทางแบบดิจิทัลอย่างแน่นอน
-
ปรับปรุงประสิทธิภาพและผลผลิต
ระบบอัตโนมัติที่อยู่ภายใต้กระบวนการทำงานตลอดจนเวิร์กโฟลว์ต่างๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน พร้อมลดงานขั้นพื้นฐานที่บรรดาพนักงานต้องทำซ้ำๆ ด้วยตนเอง และนำไปสู่การดำเนินงานที่คล่องตัวซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตโดยรวมให้กับองค์กรมากขึ้น
-
ประสบการณ์ของลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น
การทำ digital transformation ช่วยให้องค์กรสามารถปรับแต่งรูปแบบในการโต้ตอบให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายได้ในทุกมิติ นอกจากนี้ ช่องทางการสื่อสารที่ได้รับการปรับปรุงและเทคโนโลยีที่คำนึงถึงลูกค้าเป็นศูนย์กลางยังทำให้ลูกค้ารู้สึกพึงพอใจมากขึ้นเมื่อพวกเขาได้ใช้
โปรดักต์หรือบริการของคุณอีกด้วย
-
โปรดักต์และบริการที่มีนวัตกรรมอันน่าทึ่ง
องค์กรต่างๆ สามารถสร้างและเปิดตัวโปรดักต์และบริการที่เป็นนวัตกรรมผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โมเดลธุรกิจ และแหล่งรายได้ใหม่ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากนวัตกรรมดิจิทัลที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่หลังการทำ digital transformation
-
การตัดสินใจที่อ้างอิงจากข้อมูล
การเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์และเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไปเป็นแบบดิจิทัล จะช่วยให้เกิดการตัดสินใจที่อ้างอิงจากข้อมูล ส่งผลให้บรรดาองค์กรต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกค้า แนวโน้มของตลาด และผลการดำเนินงานได้อย่างครอบคลุม
-
ความคล่องตัวและการปรับตัวที่รวดเร็ว
การทำ digital transformation ช่วยให้องค์กรต่างๆ ปรับตัวเข้ากับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว ด้วยวิธีการการทำงานที่คล่องตัวและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่ยืดหยุ่นจะช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ในทุกสถานการณ์
-
เพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขัน
บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจะมีความได้เปรียบคู่แข่งขันในตลาด จากการนำโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมมาใช้ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้ และยังเป็นการสร้างการจดจำต่อผู้บริโภคในฐานะผู้บุกเบิกเบอร์ต้นๆ ของตลาดในด้านนั้นๆ อีกด้วย
-
ลดต้นทุนในการดำเนินงาน
บรรดาเครื่องมืออัตโนมัติต่างๆ ที่องค์กรนำเอามาใช้ นอกจากจะช่วยประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานแล้ว ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องอีกต่างหาก ซึ่งแทนที่ด้วยการประมวลผลผ่านระบบคลาวด์ที่ช่วยลดความต้องการโครงสร้างพื้นฐานอย่างเซิร์ฟเวอร์ แถมยังไม่ต้องมาคอยจ่ายค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงการจ้างบุคลากรมาคอยดูแล หรือจัดเตรียมห้องสำหรับการติดตั้งเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ฯลฯ
-
ทำงานร่วมกันได้จากทุกที่ทุกเวลา
แพลตฟอร์มและเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ ช่วยให้ทุกคนในทีมรวมถึงทีมต่างๆ ภายในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันระหว่างทีมได้ราบรื่นยิ่งขึ้น แม้ว่าพวกเขาจะทำงานอยู่จากที่ไหนบนโลกก็ตาม ขอแค่มีอินเทอร์เน็ตและเครื่องมือที่ทำงานผ่านระบบคลาวด์ก็สามารถดำเนินการสิ่งต่างๆ ได้เหมือนกับการมานั่งด้วยกันที่ออฟฟิศแล้ว
-
การบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมยิ่งกว่าเดิม
การทำ digital tranformation จะมีหลักปฏิบัติสำคัญอย่างการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ มาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการติดตามและจัดการความเสี่ยงแบบเรียลไทม์ โดยมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ได้รับการปรับปรุงจะช่วยป้องกันภัยคุกคามทางดิจิทัลและการเข้าถึงข้อมูลที่มีความสำคัญขององค์กรรวมถึงลูกค้าของคุณ
-
กระตุ้นให้พนักงานพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
การเข้าถึงเครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ และโอกาสในการฝึกอบรมจะช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานให้พนักงานของคุณมีทักษะด้านดิจิทัลที่ก้าวขึ้นไปอีกขั้น โดยพวกเขาจะสามารถจัดการงานต่างๆ ได้ยืดหยุ่นตามความต้องการที่อาจปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ และยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีที่ทันสมัยยังช่วยให้พนักงานรู้สึกพึงพอใจที่พวกเขาทำงานได้สะดวกสบายกว่าเดิมด้วย
ตัวอย่างการทำ digital transformation ที่ประสบความสำเร็จของแบรนด์ดังระดับโลก
ที่ผ่านมาเราพบเห็นเคสการทำ digital transformation ที่ประสบความสำเร็จของ Starbucks ในการเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ของลูกค้าให้มาเป็นแบบดิจิทัล ต่อด้วย Airbnb ที่พลิกโฉมอุตสาหกรรมด้านโรงแรมและที่พักให้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซึ่งจะมีแนวทางที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น เรามาดูไปพร้อมกัน
Starbucks
ร้านกาแฟสัญชาติอเมริกันเจ้าดังอย่าง Starbucks ได้ใช้ Digital Flywheel ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์การทำ digital transformation โดยแสดงถึงองค์ประกอบที่เชื่อมโยงถึงกันของระบบนิเวศดิจิทัลของ Starbucks ด้วยการเชื่อมโยงแอปพลิเคชันมือถือ ประสบการณ์แบบ personalized ที่ปรับแต่งเฉพาะลูกค้าแต่ละคน และการปรับปรุงโปรดักต์รวมถึงบริการอย่างต่อเนื่องตามความคิดเห็นของลูกค้า
Digital Flywheel จึงกลายเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันให้การทำ digital transformation ของ Starbucks เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุง user journey โดยรวมของลูกค้า กระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกนิยมชมชอบในแบรนด์ผ่าน loyalty program และปรับสิ่งต่างๆ ให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ Starbucks ที่จะเดินหน้าธุรกิจให้เติบโตในโลกยุคดิจิทัล โดยใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเพื่อปรับแต่งและเพิ่มประสิทธิภาพประสบการณ์ของลูกค้าอย่างต่อเนื่องทั้งช่องทางดิจิทัลและทางกายภาพ
Airbnb
Airbnb ได้พลิกโฉมอุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักผ่านการทำ digital transformation ด้วยการเปิดตัวบริการจองห้องพักแบบ peer-to-peer ที่เชื่อมโยงนักเดินทางกับเจ้าของที่พักโดยตรง ซึ่งแพลตฟอร์มนี้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เข้ามาปรับปรุงกระบวนการจองห้องพัก ประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดี และพลิกโฉมรูปแบบการต้อนรับแบบดั้งเดิมให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจมากขึ้นกว่าเดิม
แนวทางดิจิทัลของ Airbnb ช่วยให้การเข้าพักยังที่พักต่างๆ มีความเป็นส่วนตัวและได้รู้จักกับที่พักของคนในท้องถิ่นนั้นๆ มากขึ้น พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมให้ผู้ใช้ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมและเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละชุมชน นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้เจ้าของที่พักสร้างรายได้จากบ้าน คอนโด หรือที่พักใดๆ ก็ตามของตนที่มีที่ว่างอยู่ ซึ่งมีส่วนช่วยในการกระตุ้นสภาพเศรษฐกิจในบริเวณนั้นให้มีเงินสะพัดมากขึ้น โดยรวมแล้ว นวัตกรรมดิจิทัลของ Airbnb ได้กำหนดนิยามใหม่ของวิธีที่ผู้คนค้นหาและจองที่พัก เรียกว่าสิ่งนี้ได้เข้ามาแข่งขันและแย่งชิงลูกค้าจากโมเดลธุรกิจโรงแรมแบบเดิมๆ เป็นอย่างมาก
Digital Transformation จำเป็นสำหรับธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม
ด้วยภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสความต้องการของผู้บริโภคที่อยากได้สิ่งใหม่ๆ หรือมองหาอะไรก็ตามที่ช่วยให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้น ทุกองค์กรจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำ digital transformation เพื่อเปลี่ยนตัวเองให้พร้อมสำหรับการแข่งขันในตลาดที่ดุเดือดอยู่ตลอดเวลา จะดีกว่าไหมหากคุณได้ที่ปรึกษาตัวจริงที่เชี่ยวชาญการทำ digital transformation กับองค์กรชั้นนำต่างๆ มาแล้วทั่วโลก ปรึกษา Seven Peaks ตอนนี้ เพื่ออนาคตที่ดีกว่าสำหรับองค์กรของคุณ
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Product Growth (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- พฤศจิกายน 2024 (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)