บทความและข่าวสาร | Seven Peaks Insights

Financial Inclusion และ FinTech คือสองสิ่งที่ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น

SPS- What is InsurTech_01 Herobanner (12)-1

 

Finanical inclusion กลายเป็นสิ่งที่ได้ยินบ่อยเมื่อพูดถึง FinTech ซึ่งคำคำนี้ก็คือหนึ่งในความพยายามแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมถึงในไทย แน่นอนว่ามันไม่ใช่แค่ buzzword ที่พูดกันเพื่อความเท่หรือให้ดูล้ำนำเทรนด์เท่านั้น โดยจากข้อมูลของ Macquarie ในปี 2022 เปิดเผยว่า 63% ของประชากรวัยผู้ใหญ่ของไทย เป็นกลุ่มที่ unbanked หรือ underbanked และส่วนใหญ่มักเป็นคนที่มีรายได้น้อย หรือธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่ดำเนินงานนอกระบบธนาคาร

ภายในบทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จักความหมายของ financial inclusion ว่าสามารถช่วยให้พวกเราทุกคนในสังคมไทยและทั่วโลกมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นได้อย่างไรในอนาคต

Financial inclusion คืออะไร เกี่ยวกับข้อง FinTech ยังไง?

Finanical inclusion ตามที่ Worldbank ได้นิยามเอาไว้ก็คือการที่บุคคลและธุรกิจใดๆ สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่เป็นประโยชน์ได้ในราคาไม่แพง ทั้งยังต้องตรงกับความต้องการของพวกเขา เช่น ธุรกรรมต่างๆ, การชำระเงิน, การออม, การลงทุน, และประกันภัย ด้วยการส่งมอบโปรดักต์ทางการเงินด้วยวิธีที่มีความรับผิดชอบและยั่งยืน เพื่อช่วยให้บุคคลที่อยู่ห่างไกล หรือมีสถานะทางการเงินแบบไหนก็ตาม สามารถที่จะเข้าถึงได้อย่างสะดวกและเท่าเทียมกัน

โดย financial inclusion และ FinTech มีความเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก เนื่องจาก FinTech มาพร้อมโซลูชันที่ช่วยให้ประชากรที่ขาดโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินแบบดั้งเดิมที่มีอยู่แค่ในธนาคาร สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น ทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากปัญหาเรื้อรังจากหนี้นอกระบบ หรือความไม่รู้ว่าจะลงทุนเพื่อให้เงินที่มีอยู่น้อยนิดงอกเงยในอนาคตได้อย่างไร อย่างนี้เป็นต้น

TH_Financial Inclusion and FinTech_02

4 FinTech ช่วยให้ financial inclusion พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น

ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ที่มาพร้อมกับ FinTech ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้เปิดโอกาสใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาเรื่องการเงินต่างๆ และส่งผลให้เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศพัฒนาโดยต่อจากนี้คือ 4 FinTech ที่ช่วยให้ finanical inclusion ในไทยและต่างประเทศมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น

  • Mobile Banking เหมือนมีธนาคารทั้งสาขาอยู่ในมือถือ

Mobile banking มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา financial inclusion ไม่แพ้ FinTech ประเภทอื่นๆ ที่สามารถใช้สมาร์ตโฟนในการทำธุรกรรมทางธนาคารและเข้าถึงบริการทางการเงินต่างๆ จากมือถือ ซึ่งสิ่งนี้ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้คนที่อยู่ห่างไกลหรือไม่สะดวกไปที่สาขาธนาคาร ด้วยการช่วยให้พวกเขาเหล่านี้สามารถเปิดบัญชี, โอนเงิน, เข้าถึงสินเชื่อ และจัดการการเงินที่มีอยู่ได้อย่างสะดวกสบาย ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายเพียงมีมือถือที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น 

จำนวนผู้ใช้ mobile banking ของไทยในเดือนสิงหาคมปี 2023 มีสูงถึง 103,999,550 บัญชี พร้อมทั้งมีปริมาณการทำธุรกรรม 2,574,520 รายการ และคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 5,737 พันล้านบาท แน่นอนว่าส่วนใหญ่เป็นการโอนเงินและชำระเงิน ซึ่งข้อมูลนี้ถูกเผยแพร่โดยธนาคารแห่งประเทศไทย 

  • Digital Payment จับจ่ายใช้สอยได้สะดวกสบาย และรวดเร็วเหมือนอยู่หน้าร้าน

Digital payment ถือเป็นหนึ่งใน FinTech ที่ช่วยส่งเสริมกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสให้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในไทยได้ง่ายขึ้น ตามฐานข้อมูล Global Findex ของธนาคารโลก เปิดเผยว่าเมื่อปี 2021 ประมาณ 70% ของประชากรวัยผู้ใหญ่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางมีบัญชีธนาคารไว้ใช้ทำธุรกรรมต่างๆ แต่ด้วยการเข้าถึงธนาคารแบบดั้งเดิมในภูมิภาคเหล่านี้ที่ยังคงมีจำกัด ทั้งเรื่องการอยู่ห่างไกลความเจริญ, โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เอื้ออำนวย, และความรู้ทางการเงินที่ยังจำกัดอยู่เฉพาะแค่กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ 

ข่าวดีก็คือ โซลูชัน digital payment ได้เข้ามาอุดช่องว่างนี้ โดย 46% ของผู้ใหญ่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำจนถึงปานกลางในปี 2021 มีการชำระเงินดิจิทัลเพิ่มจากเดิมในปี 2017 มีเพียง 34% เท่านั้น 

โดยปัจจัยที่ทำให้ยอดการใช้ digital payment เพิ่มขึ้น มาจากสมาร์ตโฟนที่มีการใช้งานแพร่หลายในทุกกลุ่มประชากร รวมถึงตัวเลือกบริการ FinTech ที่มีมากมาย ซึ่งกระตุ้นให้ผู้บริโภคสนใจอยากที่จะลองใช้โปรดักต์ทางการเงินใหม่ๆ ตั้งแต่การเก็บ ชำระ และโอนเงินอย่างปลอดภัยได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งช่วยยกระดับการเข้าถึงบริการทางการเงิน, ลดการพึ่งพาเงินสด, และส่งเสริมเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการทางการเงิน

  • Peer-to-Peer (P2P) Lending ขอสินเชื่อที่ต้องการได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส

ด้วยบริการ P2P lending ทำให้บุคคลและธุรกิจ SME สามารถเข้าถึงสินเชื่อที่พวกเขาต้องการได้สะดวกยิ่งขึ้นผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์บนมือถือ ซึ่งแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมแบบ P2P อำนวยเปิดโอกาสให้ผู้คนที่อยู่ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน โดยการเชื่อมช่องว่างระหว่างธนาคารแบบดั้งเดิมกับบุคคลและธุรกิจที่ไม่สามารถใช้บริการทางการเงินที่มีอยู่เดิมได้ เนื่องจากติดเรื่องของเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติสินเชื่อ

FINNIX คือหนึ่งในแพลตฟอร์ม P2P lending ของคนไทย ที่ให้บริการ digital lending ได้แก่ สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ เพื่อบุคคลที่ต้องการนำเงินไปประกอบอาชีพ กับสินเชื่อส่วนบุคคล ที่ทั้งสองสินเชื่อนี้ไม่จำเป็นต้องมีทรัพย์หรือทรัพย์สินหรือบุคคลค้ำประกัน พร้อมทั้งคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก และนำเสนอให้แก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น 

โดย FINNIX ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการทำ financial inclusion ที่มีประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เพราะพวกเขาได้นำเสนอแคมเปญ “นางทาส” ที่ทำเพื่อช่วยให้ลูกหนี้นอกระบบไม่ตกเป็นเหยื่อของวงจรการเงินที่ไม่ดีต่อพวกเขาอีกต่อไป ด้วยการมอบความรู้ผ่านทางวิดีโอใน YouTube, บริการแชทบอท “กู้จริงหรือกู้โจร” ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้คนตกเหยื่อของหนี้นอกระบบหรือมิจฉาชีพทางออนไลน์, และการนำเสนอ e-book จำนวน 3 เล่ม ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับภัยจากการกู้เงินจากแก๊งมิจฉาชีพและการรับมือกับขบวนการหลอกโอนเงิน

  • Insurtech เลือกประกันที่ใช่และเหมาะสมได้จากทุกที่และทุกเวลา

จากเดิมที่การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, ประกันอุบัติเหตุ, หรือประกันรถยนต์ ล้วนต้องทำผ่านตัวแทนประกัน แต่ทุกวันนี้ใครก็ตามสามารถทำประกันต่างๆ ผ่านทางแอปฯ ในมือถือหรือบนเว็บไซต์ได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิกแล้ว ซึ่งเราเรียกสิ่งนี้ว่า InsurTech ซึ่งจัดเป็นหนึ่งใน FinTech ที่เข้ามาช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันที่พวกเขาต้องการได้ง่ายขึ้น ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและลดต้นทุนการดำเนินงานไปพร้อมๆ กัน

ขณะเดียวกัน แนวโน้มของ InsurTech ในประเทศไทยมีทิศทางเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย Statista คาดว่าจำนวนผู้ใช้สมาร์ตโฟนในประเทศไทยจะสูงพุ่งไปถึง 58 ล้านคนภายในปี 2023 หรือคิดเป็นเกือบ 84% ของประชากรทั้งหมด สอดคล้องกับการที่ InsurTech ในไทยมียอดผู้รับบริการหรือผู้เอาประกันภัยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี และนี่คือตัวอย่างของ InsurTech ที่น่าสนใจ

Roojai: แพลตฟอร์มประกันภัยรถยนต์ออนไลน์ที่มาพร้อมจุดเด่นในการสมัครประกันที่ตรงกับความต้องการของผู้เอาประกันภัย ด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการอนุมัติประกัน โดยผู้เอาประกันภัยจะได้เบี้ยประกันที่ถูกว่าประกันแบบเดิมๆ แต่สามารถเคลมหรือแจ้งสถานที่เกิดอุบัติเหตุผ่านทางแอปฯ รู้ใจได้อย่างง่ายดาย

 

TH_Financial Inclusion and FinTech_03


Financial inclusion กับสถิติที่น่าสนใจในสังคมไทย

Financial inclusion ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่เกิดขึ้นในสังคมไทยให้ทุเลาลง โดยจากข้อมูลที่เปิดเผยโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ระบุว่า ในปี 2566 หนี้ครัวเรือนในไทย มี 80.2% เป็นหนี้ในระบบ และ 19.8% เป็นหนี้นอกระบบ หรือคิดเป็น 559,408 บาท/ครัวเรือน

โดย P2P lending หรือ universal lending จะเข้ามาช่วยเหลือผู้คนที่มีสถานภาพทางการเงินไม่ดี ให้พวกเขาสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำได้ง่ายขึ้น แทนที่จะไปกู้ยืมมาจากนอกระบบที่มีการคิดดอกเบี้ยสูง ซึ่งสิ่งนี้คือต้นเหตุของการเกิดความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยมาอย่างช้านาน ทำให้คนไทยหลายคนขาดความมั่นคงในการดำเนินชีวิต และอาจเจอกับความรุนแรงที่มาจากการทวงหนี้นอกระบบอีกด้วย

FinTech ยังจะช่วยให้คนไทยเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะปัจจุบันคนไทยมีจำนวนบัญชีทางการเงินสูงถึง 95.6% รวมถึงการทำธุรกรรมผ่านทาง digital payment ถึง 92% เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิก ที่อยู่ที่ 82.1% กับ 78.1% ตามลำดับ 

สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าไทยสามารถพัฒนาเรื่อง financial inclusion ให้ดีขึ้นได้ เพราะคนไทยมีความคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ขาดก็เพียงไม่กี่ปัจจัยเท่านั้น เช่น ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เข้ามาตอบโจทย์กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือไม่สามารถเข้าถึงระบบธนาคารดั้งเดิม รวมถึงการมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน การกู้ยืม และการลงทุน ที่จะช่วยลดปัญหาหนี้เรื้อรังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

Financial inclusion ที่ครอบคลุมคนส่วนใหญ่และปลอดภัยไปพร้อมกัน

ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) พยายามอย่างจริงจังที่จะลดปัญหาความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการเงินหรือ financial inclusion ที่เราพูดถึงมาตลอดทั้งบทความ ด้วยการกำหนดให้ผู้ที่จะประกอบธุรกิจ FinTech ประเภทต่างๆ จะต้องขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

  1. ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money License)
  2. ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการให้บริการสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร (Payment Facilitator License: PF)
  3. ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการให้บริการรับชำระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Payment Agent License: PA)
  4. ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการให้บริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Fund Transfer License)
  5. ใบอนุญาตให้บริการการชำระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่นำนวัตกรรมซึ่งนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้เฉพาะในวงจำกัด (Regulatory Sandbox)

โดยองค์กรหรือหรือสตาร์ตอัปด้าน FinTech ไหนก็ตามที่ต้องการนำเสนอโปรดักต์ทางด้านการเงินและการธนาคารอันเป็นโซลูชันใหม่ๆ ให้กับประชาชนคนไทย พวกเขาจะต้องได้รับใบอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อปกป้องความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ ความมั่นคงของประเทศ และควบคุมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับระบบการเงินให้เป็นไปตามทิศทางที่ BOT ได้วางกลยุทธ์เอาไว้ในระยะยาว

 

โอกาสเจาะตลาด FinTech ยังมีอีกมากมายในไทย ด้วยการพัฒนา digital product ที่ผู้ใช้ต้องการ

ตลาด FinTech ในประเทศไทยยังมีพื้นที่ว่างให้องค์กรใดๆ ก็ตามที่เล็งเห็นถึงโอกาส สามารถนำเสนอ digital product ที่เข้ามาแก้ไขพร้อมทั้งตอบโจทย์เรื่อง financial inclusion เพื่อลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสให้คนไทยเข้าถึง financial service ต่างๆ ได้เสมอ สำหรับใครที่อยากพัฒนา FinTech เพื่อคว้าประโยชน์มหาศาลจากการพัฒนาดิจิทัลโปรดักต์ที่ดีและเหมาะสมกับความต้องการของคนไทย คุณก็สามารถปรึกษาเราได้ตอนนี้