แชร์เรื่องนี้
InsurTech คืออะไร มีความสำคัญต่อธุรกิจประกันภัยและผู้บริโภคแค่ไหนในยุคนี้
โดย Seven Peaks เมื่อ 31 ต.ค. 2023, 9:05:31
ในโลกที่ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี “InsurTech” คืออีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาและเป็นที่พูดถึงทั้งในและนอกแวดวงธุรกิจประกันภัย วันนี้เราจึงอยากชวนคุณมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งนี้ว่ามันคืออะไร ทำไมถึงสำคัญ และก่อให้เกิดประโยชน์อะไรบ้าง ทั้งในฝั่งของผู้ประกอบธุรกิจประกันภัยและผู้บริโภค เพื่อที่จะนำไอเดียเหล่านี้มาปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้
InsurTech คืออะไร
InsurTech มาจากการรวมตัวของคำว่า insurance และ technology ซึ่งแปลเป็นไทยได้ตรงๆ ง่ายๆ ว่า “เทคโนโลยีประกันภัย” โดยเป็นการนำเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาธุรกิจประกันภัยทั้งในแง่ของการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและลดต้นทุนนั่นเอง ซึ่ง InsurTech นั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ FinTech หรือเทคโนโลยีทางการเงิน ดังที่เรากล่าวถึงไปในบทความนี้ และเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ digital transformation ที่กำลังปรับเปลี่ยนธุรกิจประกันภัยให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตยุคใหม่
ประโยชน์ของการนำ InsurTech ไปใช้กับธุรกิจประกันภัย
InsurTech ก่อให้เกิดประโยชน์มากมายทั้งต่อธุรกิจประกันภัยและผู้บริโภค เช่น
- ลูกค้าสามารถเลือกซื้อประกันภัยได้สะดวกจากทุกที่ทุกเวลาผ่านช่องทางออนไลน์ และสามารถทำดำเนินการซื้อประกันเสร็จสิ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องติดต่อตัวแทนประกันภัยเหมือนในสมัยก่อน
- บริษัทประกันมีระบบที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า เพื่อให้คำแนะนำในการเลือกผลิตภัณฑ์ประกันภัยแบบ personalized ซึ่งมีความตรงใจ ครอบคลุมความต้องการ และเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายได้มากกว่าเดิม
- บริษัทสามารถคำนวณเบี้ยประกันที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย ผ่านระบบที่วิเคราะห์ข้อมูลอย่างชาญฉลาด ทำให้เกิดทั้งความเป็นธรรมต่อลูกค้าที่จ่ายเบี้ยประกันในจำนวนที่ตรงตามคุณสมบัติของตนเอง เช่น รายได้ ความเสี่ยง เป็นต้น หรือในเคสของประกันรถยนต์ก็สามารถคำนวณตามระยะเวลาในการใช้รถ รวมถึงช่วงอายุ เพศ และสถานภาพการสมรสได้อย่างแม่นยำ และบริษัทประกันก็มีความสะดวกในการบริหารจัดการมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องมานั่งคำนวณเองแบบแมนวล ซึ่งอาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้
- ลูกค้าสามารถเคลมและอนุมัติสินไหมได้อย่างรวดเร็วในแบบ paperless คือ ไม่ต้องเตรียมเอกสารมากมายให้วุ่นวาย เพราะฐานข้อมูลทุกอย่างเชื่อมต่อกันหมดแบบออนไลน์ ซึ่งจะยิ่งช่วยได้มากในกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานเคลมให้พนักงานหลายๆ คนในองค์กร อย่าง HR เป็นต้น
- บริษัทประกันสามารถลดต้นทุนที่ต้องใช้ในการจ้างตัวแทนขายประกันและพนักงานลงได้มาก เพราะขั้นตอนหลายๆ อย่างสามารถทำได้ผ่านระบบอัตโนมัติและฐานข้อมูลเชื่อมโยงแบบออนไลน์ ซึ่งทำให้มีบริษัทประกันที่เน้นการทำธุรกิจแบบออนไลน์เป็นหลักมากขึ้น
- บริษัทประกันที่นำ InsurTech มาใช้กับธุรกิจของตัวเองทำให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นในสายตาของผู้บริโภคและทำให้ดูมีความทันสมัย โดดเด่นกว่าคู่แข่งในตลาดอีกด้วย
- ช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ทันสมัย สอดคล้องกับวิถีชีวิตยุคใหม่ และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ทั้งบริษัทประกันและบริษัทสตาร์ตอัป หันมาให้ความสนใจในการลงทุนด้าน InsurTech กันมากขึ้น ส่งผลให้ตลาด InsurTech มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีการคาดการณ์ไว้ว่าตลาด InsurTech ทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2032 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้นอยู่ที่ 41%
แผนภูมิแสดงการเติบโตของตลาด InsurTech โดย Market.us
ตัวอย่าง InsurTech ในไทยและต่างประเทศ
ต่อไปนี้คือตัวอย่างที่น่าสนใจของการนำ InsurTech ไปใช้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
ในประเทศไทย
- คปภ. ร่วมกับบริษัทประกันภัยกว่า 60 บริษัทร่วมกันพัฒนาระบบ Insurance Bureau System เพื่อนำ big data มาเป็นแหล่งข้อมูลกลางด้านประกันภัย ทำให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองที่รวดเร็วขึ้น รวมทั้งการจ่ายค่าเบี้ยประกันและค่าสินไหมทดแทนที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ทั้งยังลดปัญหาการทุจริตจากธุรกิจประกันภัยอีกด้วย
- รู้ใจ บริษัทประกันออนไลน์ที่ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบและซื้อประกันได้ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน โดยมี API เชื่อมต่อกับช่องทางการชำระเงินหลากหลาย และใช้เทคโนโลยี tokenization เพื่อเก็บข้อมูลบัตรเครดิตอย่างปลอดภัย และสามารถตัดเงินค่าเบี้ยประกันรายเดือนหรือรายปีได้อัตโนมัติ พร้อมระบบแจ้งเคลมประกันหรืออุบัติเหตุแบบเรียลไทม์ด้วย GPS
- ไทยวิวัฒน์ มีผลิตภัณฑ์ประกัน Active Health ที่ให้ลูกค้าสวมใส่สมาร์ตวอตช์เพื่อลดค่าเบี้ยประกันสุขภาพหากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และประกันรถยนต์เปิดปิด ที่ใช้อุปกรณ์ IoT เพื่อคิดค่าเบี้ยประกันตามเวลาการใช้งานรถจริง รวมถึงบริการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ค้นหาอู่/ศูนย์ซ่อม หรือต่ออายุประกัน ที่ทำได้ผ่านแอปฯ ทั้งยังมีการร่วมลงทุนกับบริษัทสตาร์ตอัปเพื่อนำ MARS Inspect ที่เป็น AI มาใช้ตรวจสภาพรถยนต์แบบเรียลไทม์อีกด้วย
- ClaimDi แอปฯ สำหรับเคลมประกันภัยรถยนต์ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่บริษัทประกัน โดยระบบจะทำการบันทึกข้อมูล รูปภาพ วันเวลา และสถานที่ ไว้อย่างละเอียด สามารถทำได้ทั้งแบบมีคู่กรณีและไม่มีคู่กรณี
ต่างประเทศ
- Lemonade บริษัทประกันในอเมริกาที่ใช้ AI ในรูปแบบของแชตบอตเพื่อตอบโต้ลูกค้าและใช้เครื่องมืออย่าง Mixpanel ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลโปรดักต์ระดับโลกในการทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันที่ตรงใจและคำนวณค่าเบี้ยประกันที่เหมาะสม ทำให้ค่าเบี้ยประกันถูกกว่าคู่แข่งมาก รวมถึงการจ่ายเงินเคลมประกันที่รวดเร็ว โดยอาจใช้เวลาน้อยที่สุดเพียง 3 วินาทีเท่านั้น ซึ่งขั้นตอนการใช้งานทั้งหมดทำได้ผ่านแอปฯ
- Vouch บริษัทประกันในอเมริกาที่ใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่เน้นกลุ่มสตาร์ตอัป เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันที่เหมาะกับธุรกิจและความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละเจ้า พร้อมผลิตภัณฑ์ประกันที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ประกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ ประกันบั๊กของโปรดักต์ ประกันการทุจริตของพนักงาน เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็น big data, AI, IoT มาใช้กับประกันภัย ทำให้เกิดความสะดวกสบาย เป็นธรรม และครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นที่ทำให้ผู้บริโภคสนใจผู้ให้บริการ InsurTech เหล่านี้ และทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นอย่างมั่นคงในระยะยาว พร้อมที่ก้าวนำคู่แข่งในตลาดได้
สร้างโซลูชัน InsurTech กับเรา
อ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าผู้ประกอบธุรกิจประกันน่าจะมองเห็นแล้วว่า InsurTech คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยยกระดับให้ธุรกิจของคุณได้ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพในการให้บริการและต้นทุนการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าโซลูชัน InsurTech ที่คุณต้องการจะเป็นอย่างไร สามารถเป็นจริงได้ เพียงปรึกษาเรา เพราะเรามีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์และมีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับบริษัทประกันภัยชั้นนำมาอย่างโชกโชน
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Product Growth (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- พฤศจิกายน 2024 (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)