แชร์เรื่องนี้
ปรับใช้ Product Mindset เพื่อความสำเร็จทางดิจิทัล
โดย Seven Peaks เมื่อ 16 มิ.ย. 2023, 11:40:00
ในปัจจุบันนั้นภูมิทัศน์ทางดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาและการจัดการซอฟต์แวร์ที่คำนึงถึงโปรดักต์เป็นศูนย์กลาง แต่ถึงอย่างนั้นก็ยัมีหลายองค์กรที่คิดเอาเองว่า การเริ่มต้นด้านดิจิทัลเป็นเพียงโปรเจกต์ที่ทำขึ้นในระยะสั้นๆ เท่านั้น ขณะเดียวกันแนวทางนี้ยังไม่สามารถตอบสนองต่ออุปสรรคและความต้องการเฉพาะที่เกิดจากโปรดักต์ดิจิทัลได้ดีนัก
เพื่อให้ digital product ที่ถูกสร้างขึ้นมาสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ในระยะยาว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดและจำไว้เสมอว่าโปรดักต์ดิจิทัลเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมากกว่าแค่โปรดักต์ธรรมดาๆ
ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจว่าเหตุใดแนวทางที่เน้นโปรเจกต์เป็นศูนย์กลางจึงไม่ประสบความสำเร็จ และเจาะลึกเกี่ยวกับความแตกต่างที่สำคัญระหว่างแนวคิดที่เน้นโปรเจกต์เป็นศูนย์กลางและโปรดักต์เป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้ เราจะมอบคำแนะนำเรื่องการเปลี่ยนวิธีคิดที่คุณสามารถนำไปใช้ได้จริงเพื่อสร้างซอฟต์แวร์ที่ดีขึ้นในอนาคต
ทำไมแนวทางที่เน้นโปรเจกต์เป็นศูนย์กลางถึงเต็มไปด้วยข้อบกพร่อง
แนวทางที่เน้นโปรเจกต์เป็นศูนย์กลางมักนิยมใช้กับการทำโปรเจกต์พัฒนา digital product โดยวิธีการนี้มักมีข้อกำหนดที่ถูกตั้งเอาไว้ล่วงหน้า มีระยะเวลาที่แน่นอน และมีเส้นตายในการส่งมอบงานที่ชัดเจน แม้ว่าแนวทางนี้อาจเหมาะสำหรับโปรเจกต์ทั่วไป แต่ไม่ได้เหมาะสมกับธรรมชาติของ โปรดักต์ดิจิทัลที่มักเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการรักษาความสามารถในการแข่งขันและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการที่โปรดักต์นั้นๆ จำเป็นต้องมีการทำซ้ำ ดัดแปลง และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
แนวคิดที่เน้นโปรเจกต์เป็นศูนย์กลางนั้นเป็นสิ่งที่ขัดขวางการรวบรวมความคิดเห็นของผู้ใช้, การตอบสนองต่อความผันผวนของตลาด, และการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล จึงอาจกล่าวได้ว่ามุมมองที่ไม่เปิดกว้างนี้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อความยั่งยืนและความสำเร็จของโปรดักต์ดิจิทัลในระยะยาว
แนวคิดที่เน้นโปรดักต์เป็นศูนย์กลาง
การปรับใช้แนวคิดที่เน้นโปรดักต์เป็นศูนย์กลางจะช่วยเปลี่ยนวิธีที่เราโฟกัสกับสิ่งต่างๆ ไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงโปรดักต์ดิจิทัลให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจและดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI)
แนวคิดนี้เกี่ยวข้องกับการติดตามความคืบหน้า, การตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูล, และการจัดลำดับความสำคัญของความพึงพอใจของผู้ใช้เหนือข้อกำหนดที่ตั้งไว้ล่วงหน้า ซึ่งแตกต่างจากแนวทางที่เน้นโปรเจกต์เป็นศูนย์กลาง โดยแนวคิดที่เน้นโปรดักต์เป็นศูนย์กลางมีหลักการพื้นฐานดังต่อไปนี้
1. การทำซ้ำอย่างต่อเนื่อง
การทำซ้ำและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องคือสิ่งจำเป็นสำหรับความสำเร็จของ digital product การใช้วิธีทำซ้ำๆ จะช่วยให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง, การรวบรวมความคิดเห็นของผู้ใช้, และการปรับโดยอิงจากข้อมูลเชิงลึกตามเวลาจริง ซึ่งการทำซ้ำๆ นี้ช่วยให้โปรดักต์ดิจิทัลสามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้ใช้, การเปลี่ยนแปลงของตลาด, และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างยืดหยุ่น
2. มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง
เป้าหมายหลักของโปรดักต์ดิจิทัลคือการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกันและมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้แก่พวกเขา แนวคิดที่เน้นโปรดักต์เป็นศูนย์กลางให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจพฤติกรรม, ความต้องการ, และปัญหาของผู้ใช้ผ่านการวิจัยผู้ใช้, การทดสอบการใช้งาน, และการวิเคราะห์ความคิดเห็น ด้วยการวางผู้ใช้เป็นแกนหลักในการพัฒนาโปรดักต์ ส่งผลให้องค์กรต่างๆ สามารถสร้างโปรดักต์ดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จและตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้ใช้ได้มากยิ่งขึ้นเป้าหมายหลักของโปรดักต์ดิจิทัลคือการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกันและมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้แก่พวกเขา แนวคิดที่เน้นโปรดักต์เป็นศูนย์กลางให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจพฤติกรรม, ความต้องการ, และปัญหาของผู้ใช้ผ่านการวิจัยผู้ใช้, การทดสอบการใช้งาน, และการวิเคราะห์ความคิดเห็น ด้วยการวางผู้ใช้เป็นแกนหลักในการพัฒนาโปรดักต์ ส่งผลให้องค์กรต่างๆ สามารถสร้างโปรดักต์ดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จและตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้ใช้ได้มากยิ่งขึ้น
3. การทำงานร่วมกันข้ามสายงาน
การทำงานร่วมกันข้ามสายงานมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์ digital product ที่ประสบความสำเร็จ แนวทางที่เน้นโปรดักต์เป็นศูนย์กลางนี้ช่วยให้ product manager, designer, developer, นักการตลาด และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่นๆ มีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น โดยสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกันนี้ช่วยเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสื่อสารกันได้เต็มที่ เข้าใจวัตถุประสงค์เดียวกัน และมีความเป็นเจ้าของร่วมกัน เพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาโปรดักต์ดิจิทัลที่นำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างแท้จริง
4. ตัวชี้วัดที่เน้นผลลัพธ์
การจัดการโปรเจกต์แบบดั้งเดิมมุ่งเน้นไปที่การบรรลุ milestone และส่งมอบโปรเจกต์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในทางตรงกันข้าม แนวทางที่เน้นโปรดักต์เป็นศูนย์กลางจะให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ซึ่งวัด ผลกระทบที่แท้จริงต่อเป้าหมายทางธุรกิจและความพึงพอใจของผู้ใช้. ด้วยการกำหนด KPI ให้สอดคล้องกับผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่น การมีส่วนร่วมของผู้ใช้, รายได้ที่เกิดขึ้น, conversion rate, หรือการรักษาลูกค้าเอาไว้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยประเมินประสิทธิภาพของโปรดักต์และขับเคลื่อนการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลเป็นหลัก
5. แนวคิดและวิธีการทำงานแบบ Agile
ความคล่องตัวเป็นหลักการสำคัญในการพัฒนาและจัดการโปรดักต์ดิจิทัลให้ประสบความสำเร็จ การประยุกต์ใช้แนวคิด Agile ที่คล่องตัวจะให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่น, การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง, และความสามารถในการปรับตัว โดยกระบวนการแบบ Agile เช่น Scrum หรือ Kanban ช่วยส่งเสริมการวางแผนที่สามารถปรับเปลี่ยนได้, การพัฒนาซ้ำ, และการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง แนวทางการทำงานแบบ Agile นี้ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดและความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว
บทสรุปทิ้งท้าย
การมองว่า digital product เป็นเพียงโปรเจกต์ที่มีการกำหนดระยะเวลาทำงานและวันส่งมอบที่ชัดเจน จะคือสิ่งที่บั่นทอนศักยภาพของความสำเร็จและโอกาสที่โปรดักต์นั้นๆ จะเติบโตในระยะยาว
เพื่อปลดล็อกศักยภาพที่แท้จริงของโปรดักต์ดิจิทัล องค์กรต่างๆ ควรใช้แนวคิดที่เน้นโปรดักต์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการทำซ้ำอย่างต่อเนื่อง, การจัดลำดับความสำคัญของผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง, ส่งเสริมการทำงานร่วมกันข้ามสายงาน, การมุ่งเน้นไปที่ตัวชี้วัดที่เน้นผลลัพธ์ และนำแนวทาง Agile ที่คล่องตัวมาใช้
การเปลี่ยนจากแนวทางที่เน้นโปรเจกต์เป็นศูนย์กลางไปสู่โปรดักต์เป็นศูนย์กลาง จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถสร้างประสบการณ์พิเศษที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็ขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน
คุณ Tormod Baustad Benonisen, Head of Product ที่ Seven Peaks
นักคิดค้นและผู้นำด้านการพัฒนาโปรดักต์ดิจิทัลที่มีประสบการณ์มากกว่า 8 ปี ผู้ที่ทำงานโดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างธุรกิจ เทคโนโลยี และการออกแบบอยู่เสมอ ซึ่งเคยพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการมามากกว่า 20 โปรเจกต์ และคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 15 ล้านเหรียญสหรัฐ
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)