แชร์เรื่องนี้
cross-border payment คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อธุรกิจในยุคดิจิทัล
โดย Seven Peaks เมื่อ 5 ม.ค. 2024, 16:22:23
หลังจากที่ร้านค้าต่างๆ ทั่วประเทศหันมาใช้คิวอาร์โค้ดในการรับชำระเงินกันอย่างแพร่หลาย บวกกับผลกระทบของโควิด-19 ที่ผลักดันให้ทุกภาคส่วนหันมาทำธุรกรรมแบบไร้สัมผัสมากขึ้น ไลฟ์สไตล์การจับจ่ายใช้สอยของคนไทยก็เปลี่ยนไปตามเทรนด์ของ “สังคมไร้เงินสด” อย่างเห็นได้ชัด จนเกิดเป็นการต่อยอดมาถึง cross-border payment ในปัจจุบัน
ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกว่า cross-border payment คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจ FinTech และ InsurTech เพื่อให้คุณมองเห็นโอกาสและวางแนวทางพัฒนาธุรกิจของคุณในยุคดิจิทัลอย่างเหมาะสม
cross-border payment คืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร
ปกติแล้ว cross-border payment นั้นหมายถึงการชำระเงินในรูปแบบใดๆ ก็ตามที่สามารถทำรายการข้ามประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายด้วยบัตรเครดิต เดบิต โอนเงินผ่านธนาคาร หรือแม้แต่คริปโทเคอร์เรนซี และสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหลาย ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนจะหมายถึง cross-border QR payment ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นหลัก ที่มักเรียกย่อๆ ว่า cross-border payment
cross-border QR payment คือระบบชำระเงินระหว่างประเทศผ่านคิวอาร์โค้ดที่ ธปท. พัฒนาขึ้นมา โดยได้รับความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ให้ทั้งประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติสามารถสแกนจ่ายได้ในประเทศที่รองรับ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ใช้งานง่าย และปลอดภัยยิ่งขึ้น
ระบบนี้ได้เข้ามาช่วยแก้ pain point เดิมๆ ที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกเคยมี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความไม่สะดวกที่ต้องพกเงินสดทีละมากๆ กังวลเรื่องเงินหาย แบงก์ปลอม หรือ ค่าธรรมเนียมที่สูง ตั้งแต่ 1.5% ไปจนถึง 4% และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
ซึ่งในประเทศไทยก็จะใช้ระบบ Thai QR Payment ที่คนไทยคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เป็นพื้นฐานในการรับชำระเงินนั่นเอง
ระบบ cross-border QR payment นี้เริ่มมาจากโครงการ ASEAN Payment Connectivity เมื่อปี พ.ศ. 2562 ที่ ธปท. ต้องการสร้างระบบให้ประชาชนในกลุ่มอาเซียนสามารถชำระเงินระหว่างกันได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น แล้วต่อยอดมาเรื่อยๆ จนในปัจจุบันรองรับทั้งหมด 7 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ รวมถึงประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอย่างญี่ปุ่น และล่าสุดคือฮ่องกง โดยมีแนวโน้มว่าจะรองรับประเทศอื่นๆ ในเอเชียเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต เช่น อินเดีย ในเร็วๆ นี้
ธนาคารที่รองรับ cross-border QR payment
ข้อมูลจากเว็บไซต์ ธปท.
จากรูปจะเห็นได้ว่าธนาคารไทยที่รองรับระบบดังกล่าวนั้นยังไม่ครอบคลุมธนาคารครบทุกแห่งในไทย ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าข้อจำกัดหรืออุปสรรคที่ทำให้ธนาคารไทยบางแห่งยังไม่เข้าร่วมโปรเจกต์นี้คืออะไร เพราะหากพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะได้รับนั้นถือว่าน่าสนใจและคุ้มค่าที่จะลงทุนเป็นอย่างยิ่ง โดยเราจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป
ข้อดีของการใช้ cross-border QR payment
ในด้านของผู้ใช้
- เป็นอีกช่องทางที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายขึ้น
- รวดเร็ว รู้ผลลัพธ์การชำระเงินได้ทันที
- สะดวก ไม่ต้องพกเงินสดเองทีละมากๆ ไม่ต้องกลัวแบงก์ปลอม เงินหาย ไม่ต้องรอเงินทอนหรือเงินทอนไม่ครบอีกต่อไป
- สามารถชำระเป็นเงินบาทได้เลย ไม่ต้องคำนวณหรือกังวลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
- ไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ทุกคนสามารถใช้บริการได้อย่างสบายใจโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าธรรมเนียมอีกต่อไป
- ปลอดภัย ด้วยการเชื่อมต่อที่มีมาตรฐานสูง และมีการจำกัดวงเงินเอาไว้
ในด้านของธุรกิจ
- ร้านค้า ผู้ให้บริการชำระเงิน และสถาบันการเงินมีลูกค้าและรายได้เพิ่มขึ้น
- ธนาคารที่รองรับได้แสดงออกถึงความเป็นผู้นำด้านการให้บริการที่สะดวกสบาย เข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า และต้องการมอบ CX หรือ ประสบการณ์ของลูกค้า อันยอดเยี่ยมอย่างแท้จริง
- เงินหมุนเวียนดี เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม
ในด้านของเทคโนโลยี
- ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางการเงินในภูมิภาคอาเซียนและประเทศใกล้เคียงมากขึ้น
- กระตุ้นการเติบโตของธุรกิจด้าน FinTech
ตัวอย่างผลลัพธ์ที่น่าสนใจจากการใช้ cross-border QR payment
- นอกจากประเทศที่รองรับ 7 ประเทศข้างต้นแล้ว ล่าสุด ธนาคารไทยอย่าง SCB ยังมีการร่วมมือกับ KB Kookmin Bank และ GLN International ในการพัฒนาระบบ cross-border QR payment ขึ้นมาให้นักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้ที่มาเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยในประเทศไทยผ่านแอปของ SCB ได้อีกด้วย
- นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวในไทยมีการใช้จ่ายผ่านระบบ cross-border QR payment ในไทยแล้วมากกว่า 3 แสนรายการ รวมเป็นเงินมากกว่า 400 ล้านบาท
- ประเทศเวียดนามมีการใช้บริการเพิ่มขึ้นจาก 8 แสนบาทในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2565 เป็น 4.8 ล้านบาทภายในเดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน
- เหล่าพ่อค้า แม่ค้า นิยมซื้อสินค้ายอดนิยมในประเทศญี่ปุ่น บ่อยขึ้น ในคราวละมากๆ ไปขายต่อแบบปลีกให้คนไทยผ่านแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ หรือหิ้วกลับมาขายที่ไทย เนื่องจากต้นทุนต่ำมากเมื่อเทียบกับช่องทางอื่น
- นอกเหนือจากร้านค้าที่เราจ่ายเงินผ่านคิวอาร์โค้ดตรงเคาน์เตอร์กันประจำก็ยังมีอีกหลายรูปแบบที่เราสามารถนำคิวอาร์โค้ดมาใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นอีคอมเมิร์ซ ระบบชำระค่าสมาชิกรายเดือน ระบบเช็กคนถือตั๋วชมคอนเสิร์ต ระบบรับบริจาค เป็นต้น ซึ่งธุรกิจสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ไม่รู้จบ โดยหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยี cross-border payment อย่าง Stripe นั้นมี API รองรับทุกรูปแบบการชำระเงิน ซึ่งแน่นอนว่าคิวอาร์โค้ดก็เป็นสิ่งหนึ่งที่หลอมรวมอยู่ในเทคโนโลยีการชำระเงินต่างๆ ประสิทธิภาพสูงที่พวกเขารองรับด้วย
ปรึกษาเรา เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันและวางระบบการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพสูง
เรื่องของ cross-border payment นั้นเรียกได้ว่าเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจ FinTech ในไทยสามารถเพิ่มรายได้แบบก้าวกระโดดได้ แต่การจะเข้าร่วมในระบบนิเวศดังกล่าวอย่างราบรื่นนั้นต้องมีระบบที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพื่อให้ปรับขนาดสำหรับการรองรับผู้ใช้จำนวนมหาศาลได้ ซึ่งหากคุณต้องการความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถปรึกษา Seven Peaks ได้ เพราะเรามีประสบการณ์ในการให้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์ และรับทำ digital transformation ให้กับลูกค้าชั้นนำมาแล้วมากมาย ติดต่อเราได้แล้ววันนี้
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Product Growth (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- พฤศจิกายน 2024 (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)