ตรวจสอบ UX writing ให้กับแอปฯ ธนาคารเพื่อประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดีขึ้น
ภาพรวม
เราเคยช่วย ttb ออกแบบ UX/UI และทำ UX research ให้กับแอปฯ ttb touch ที่จัดเป็นหนึ่งใน fintech จนเสร็จสมบูรณ์ แต่ด้วยความที่พวกเขามีการอัปเดตฟีเจอร์, ปรับปรุง user flow และเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เข้ามาในแอปฯ อยู่เสมอ พวกเขาจึงขอให้เราส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยตรวจสอบและทำ UX writing รวมถึง copywriting ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยทั้ง 8 ทีมโปรดักต์ของ ttb ได้รับฟังคำแนะนำและปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นและสอดคล้องกันตลอดทั้งแอปฯ
โซลูชันของเรา
ทีม digital marketing ของเราได้ทำตรวจสอบ UX writing และ copywriting ในแต่ละฟีเจอร์ของผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีอยู่ในแอปฯ ttb touch เพื่อทำให้แน่ใจว่าทุก flow จะสามารถสื่อสารกับผู้ใช้ได้อย่างกระชับ ชัดเจน เต็มไปด้วยความหมาย และมีคำกลางที่ใช้เหมือนกันในทุกฟีเจอร์ของแอปฯ เช่น “กลับหน้าหลัก”, “ถัดไป” ฯลฯ เป็นต้น
ไม่เพียงเท่านี้ เรายังทำหน้าที่เป็นคนกลางที่คอยสื่อสารระหว่างทีม EXD ที่มีหน้าที่ดูแลประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าให้ดีที่สุด กับอีก 8 ทีมโปรดักต์ของ ttb ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของลูกค้า โดยทุกทีมต่างเชื่อมั่นในการตรวจสอบคำต่างๆ ของเรา ว่ามีความถูกต้องสอดคล้องกับทีมอื่นๆ รวมถึงสามารถถ่ายทอดจุดเด่นของแต่ละโปรดักต์ได้อย่างครบถ้วนและเข้าใจความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง
สิ่งที่เราทำไปทั้งหมดนั้นก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ปัจจุบันรวมถึงลูกค้าใหม่ในอนาคตได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในระหว่างการใช้งานใช้แอปฯ ttb touch และตัดสินใจที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินของ ttb มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผลลัพธ์ที่สำคัญ
ทุกฟีเจอร์ในแอปฯ มีการใช้คำต่างๆ เป็นไปในทิศทางเดียวกันbyรีวิวงานทั้งในเรื่อง UX writing และ copywriting พร้อมมอบคำแนะนำกับ ttb เพื่อให้งานเดินหน้าและทุกอย่างสอดคล้องกันตลอดทั้งแอปฯ |
ตรวจคำมากกว่า 21
|
การตรวจ UX writing มีค่าความผิดพลาดแค่เพียง 2% เท่านั้นทุกการตรวจและแก้ไข UX writing มีความผิดพลาดน้อยมาก และนั่นทำให้ ttb ไม่ต้องเสียเวลามาคอยปรับแก้คำต่างๆ ในภายหลัง |
---|
กระบวนการทำงานของเรา
UX writing → Copywriting
การทำ UX writing ให้กับโปรเจกต์ ttb ของเราเริ่มต้นด้วยพูดคุยกับทีม Engagement & Experience Design (EXD) ที่มีหน้าที่คอยดูแลการมีส่วนร่วมตลอดจนออกแบบประสบการณ์ในการใช้งานของผู้ใช้แอปฯ ttb touch ให้เป็นไปตาม brand principle และ UX copywriting principle อย่างสมบูรณ์แบบ โดยพวกเขาได้จัดการประชุมให้เราได้พูดคุยสอบถามเรื่องรูปแบบการทำงานร่วมกับทีมโปรดักต์ทั้ง 8 ทีมของ ttb ที่เราจะต้องตรวจสอบ UX writing และ copywriting ให้กับพวกเขาในอีก 6 เดือนข้างหน้า
เมื่อทุกทีมเข้าใจถึงกระบวนการทำงานเป็นอย่างดีแล้ว เราผู้มีหน้าที่เป็นตัวแทนของทีม EXD ก็ได้ลงมือตรวจสอบ screen flow ของฟีเจอร์ที่แต่ละทีมโปรดักต์ของ ttb ทยอยส่งมาในทุกสัปดาห์ โดยเริ่มจากการตรวจดูคำที่คาดว่าจะเป็นคำกลางที่ใช้ร่วมกันกับฟีเจอร์อื่นๆ ในแอป ttb touch ให้เหมือนกันทั้งหมด จากนั้นก็ตรวจ flow ในแอปฯ ตั้งแต่ onboarding, การสมัครใช้งาน, การใส่ข้อมูล, การแก้ไขข้อมูล, การยืนยันข้อมูล และอื่นๆ
นอกจากนี้ เรายังเช็กว่าคำใน heading, descirption, droplead, warning message, error message, pop-up, CTA, ปุ่ม, และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามหลักการเขียน UX writing ที่ดีและช่วยให้ผู้ใช้ใช้งานแอปฯ ได้ราบรื่นหรือไม่ พร้อมกับปรับ copywriting ในแอปฯ ให้สามารถสื่อสารถึงใจความสำคัญของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ได้อย่างเข้าใจง่ายและกระตุ้นให้ผู้ใช้ convert มาเป็นลูกค้าของ ttb ได้ในท้ายที่สุด
ความท้าทายที่เราเอาชนะมาได้
1. ทั้ง 8 ทีมของ ttb สามารถทำงานได้เสร็จทันตามกำหนด
เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะสามารถช่วยทั้ง 8 ทีมใน ttb ตรวจสอบ UX writing และ copywriting ได้เสร็จตามกำหนดเวลาของแต่ละทีม เราจึงได้สร้างไฟล์ Excel กลางที่มีการระบุถึงรูปแบบการทำงานและช่วงเวลาเพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน ซึ่งทุกทีมสามารถดูได้ตลอดว่าแต่ละสัปดาห์มีใครเตรียมส่งงานมาให้ทางเราตรวจบ้าง และพวกเขาก็สามารถที่จะจองคิวการตรวจงานได้ล่วงหน้าในสล็อตเวลาที่ว่างอยู่ได้หลังจากที่ตรวจงานเสร็จเรียบร้อยแล้วเราก็จะส่งงานให้กับทีมโปรดักต์ของ ttb เพื่อพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่เราแนะนำและแก้ไขไปให้ โดยพวกเขาจะมีเวลา 1 วันในการรีวิวงานที่เราส่งกลับไป จากนั้นในวันศุกร์ก็จะมีการประชุมร่วมกันกับเรา, ตัวแทนจากทีม EXD, และคนจากทีมโปรดักต์ของ ttb เพื่อหารือร่วมกันว่าสิ่งที่เราตรวจไปนั้นโอเคและเป็นไปตามที่พวกเขาต้องการหรือไม่ โดยถ้าทุกฝ่ายเห็นมีความเห็นพ้องต้องกันว่าคำต่างๆ พร้อมที่จะนำไปใช้งานจริงแล้ว ทางทีมที่เป็นเจ้าของงานนั้นก็จะนำ flow ต่างๆ ที่เราได้ตรวจให้เตรียมนำขึ้นแอปฯ ในการอัปเดตครั้งต่อไป
2. อัปเดตฐานข้อมูลกลางสำหรับการทำ UX writing ที่ทุกทีมใน ttb ใช้อ้างอิงได้
ด้วยความที่เป้าหมายของทีม EXD คือการทำให้ทุกฟีเจอร์ในแอปฯ ttb touch มีความสอดคล้องกันในทุกส่วน เราจึงได้รวบรวม screen flow ทั้งหมดที่ได้ตรวจและผ่านการรีวิวร่วมกันกับทั้ง 8 ทีมของ ttb ไว้ในไฟล์กลางที่มีการอัปเดตข้อมูลทุกสิ้นเดือน เพื่อให้แต่ละทีมสามารถเข้ามาดูการใช้คำตามส่วนต่างๆ ของแอปฯ ให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงยังช่วยลดเวลาการตรวจ UX writing และ copywriting สำหรับฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย
3. เพิ่มพูนทักษะการทำ UX writing และ copywriting ให้กับทีมโปรดักต์ของ ttb
นอกจากความเข้าใจที่ทีมโปรดักต์แต่ละทีมมีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างลึกซึ้งแล้ว พวกเขาก็ยังจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถด้านอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย ซึ่งการตรวจฟีเจอร์ต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่หรือปรับปรุงจากของปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น ถือเป็นโอกาสสำคัญที่พวกเขาจะได้ขัดเกลาทักษะการทำ UX writing และ copywriting ไปพร้อมกัน
โดยในระหว่างการรีวิวงานเวอร์ชันพร้อมใช้งานร่วมกันทุกครั้ง เราจะอธิบายเหตุผลว่าเพราะอะไรถึงทำการปรับแก้คำรวมถึงประโยคต่างๆ ที่อยู่ในแต่ละ flow พร้อมกับแนะนำว่าหากต้องการให้คำเหล่านั้นสื่อความหมายได้ครบถ้วน และมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีไปพร้อมกันจะต้องเขียนในรูปแบบไหน
ซึ่งทีมโปรดักต์ทั้ง 8 ทีมที่เราได้ร่วมงานด้วยต่างก็แสดงความคิดเห็นและแบ่งปัน insight ที่เป็นประโยชน์ พร้อมทั้งนำหลักการเขียน UX writing และ copywriting ไปใช้กับ flow ใหม่ๆ ที่จะมีมาอีกในอนาคตได้อย่างถูกต้อง ไม่เพียงเท่านี้ ยังเป็นการประหยัดเวลาในการตรวจงานให้น้อยลงกว่าช่วงแรกๆ ที่เราเข้ามารีวิว flow ต่างๆ ให้กับพวกเขาได้อย่างมากอีกด้วย