แชร์เรื่องนี้
Open Banking คืออนาคตของวงการธนาคารในไทยหรือไม่?
โดย Seven Peaks เมื่อ 21 ก.พ. 2025, 16:14:45
open banking เป็นคำหนึ่งที่ผุดขึ้นมาในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าและความคาดหวังของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำเอาธนาคารและผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงการเงินต้องติดตามแบบใกล้ชิด เพราะหากพลาดโอกาสที่จะปฏิวัติไปสู่ระบบการเงินและการธนาคารแบบใหม่นี้ ก็มีสิทธิ์ที่ความสามารถการแข่งขันในตลาดจะลดน้อยถอยลงจนยากที่จะกลับมาเป็นผู้นำได้อีก
ข้อมูลที่น่าสนใจจาก Statista เปิดเผยว่ามีแนวโน้มสูงมากที่ภายในปี 2024 จะมีผู้ใช้งาน open banking ที่ยุโรปมากถึง 63.8 ล้านราย นั่นคือเหตุผลว่าทำไมบทความนี้จึงจะพาคุณไปทำความเข้าใจถึงเรื่องราวของ open banking ที่หลายคนบอกว่ามันคืออนาคตของวงการธนาคารนับต่อจากนี้
Open Banking คืออะไร?
open banking เป็นระบบที่ช่วยให้ธนาคารหรือผู้ให้บริการทางการเงินสามารถแบ่งปันข้อมูลทางการเงินของตนได้อย่างปลอดภัยระหว่างแอปพลิเคชันและบริการของบุคคลที่สามที่ได้รับอนุญาต ซึ่งสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการใช้ Application Programming Interfaces (API) แบบเปิด หรือที่เรียกว่า “Open API” ที่ช่วยให้สถาบันการเงินต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ตลอดเวลาและมีความคล่องตัวสูงสุด
จุดกำเนิดของ open banking ได้เริ่มต้นในปี 1980 เมื่อ Deutsche Bundespost (สำนักงานไปรษณีย์กลางของเยอรมนี) ได้ลองทำการเชื่อมต่อระบบของพวกเขาเข้ากับคอมพิวเตอร์ภายนอกห้าเครื่องและเชิญผู้ใช้กลุ่มพิเศษประมาณ 2,000 รายให้เข้าร่วมเพื่อทดลองใช้งาน
การทดลองนี้ถูกนำมาใช้เพื่อทดสอบบริการธนาคารออนไลน์รูปแบบใหม่ ซึ่งทำตลาดภายใต้สโลแกน "ธนาคารในห้องนั่งเล่นของฉัน" ที่ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากสำหรับยุคนั้น เนื่องจากระบบนี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถโอนเงินทางออนไลน์ได้โดยการใช้รหัส “300#”
หลังจากการทดลองเสร็จสิ้นผู้ที่ได้เข้าร่วมการทดลองต่างพากันบอกถึงความประทับใจอย่างมาก และนั่นถือเป็นการปรากฏตัวครั้งแรกของเครื่องธนาคารแบบบริการตนเอง นวัตกรรมดังกล่าวเป็นต้นแบบที่นำไปสู่การพัฒนา Home Banking Computer Interface (HBCI) ในปี 1998 และ Financial Transaction Services (FinTS) ในปี 2002
Open Banking ทำงานอย่างไร?
สิ่งสำคัญที่เป็นพลังหลักที่ช่วยขับเคลื่อนธนาคารแนวคิดใหม่อย่าง open banking ให้โดดเด่นและตอบโจทย์การใช้งานยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างเชื่อมโยงถึงกัน ก็คือหลักการทำงานโดยทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับ API ในระบบธนาคาร โดยจะแบ่งออกเป็นสามประเภทหลักดังนี้
1. API ข้อมูล
API ในกลุ่มนี้จะเป็นเหมือนกับตัวกลางที่เปิดโอกาสให้บุคคลที่สามสามารถใช้ API ของ open banking เชื่อมต่อเพื่อเข้าถึงข้อมูลบัญชี, ยอดเงินคงเหลือ, และประวัติการทำธุรกรรมต่างๆ ในลักษณะอ่านได้อย่างเดียวเท่านั้น
2. API ธุรกรรม
API ในกลุ่มนี้เปรียบเหมือนกับตัวกลางที่ช่วยให้บุคคลที่สามเชื่อมต่อกับ open banking โดยสามารถโอนเงิน, ตั้งค่าการหักบัญชีธนาคาร, และเริ่มต้นการชำระเงินให้กับร้านค้าต่างๆ ได้จากทุกที่ทุกเวลาได้เหมือนกับการใช้ mobile banking ปกติที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3. API ผลิตภัณฑ์
API ในกลุ่มนี้ช่วยบุคคลที่สามที่อาจเป็นเว็บไซต์เปรียบเทียบข้อมูลหรืออื่นๆ สามารถดึงข้อมูลจากธนาคาร เช่น รายการผลิตภัณฑ์ทางการเงิน, อัตราดอกเบี้ย, และข้อกำหนดต่างๆ เพื่อนำไปแสดงผ่านทางแพลตฟอร์มของพวกเขาได้
open banking สามารถทำประโยชน์อะไรได้บ้าง?
เพื่อให้เห็นว่าการที่แวดวงการเงินและการธนาคารสามารถประยุกต์ใช้เฟรมเวิร์ก open banking กับระบบธนาคารที่มีอยู่เดิมได้อย่างไรบ้างนั้น เหล่านี้คือตัวอย่างที่น่าสนใจที่คุณควรรู้เอาไว้เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมกับอนาคตของธนาคารที่กำลังมาถึง
-
Payment Initiation Service
บริการชำระเงินโดยไม่ผ่านตัวกลาง (payment initiation service) คือบริการที่เกิดขึ้นจากการประยุกต์ใช้ open banking ด้วยการที่ผู้ใช้สามารถชำระเงินได้โดยตรงจากบัญชีธนาคารของตนโดยการใช้แอปของบุคคลที่สาม ซึ่งทำให้การทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ สะดวกสบายยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องเปิดแอปฯ ธนาคารสลับไปมากับหน้าการชำระเงินของแพลตฟอร์มอื่นๆ อีกต่อไป -
Account Information Services
บริการข้อมูลบัญชีส่วนบุคคล (account information services) มาในรูปแบบของแอปฯ ที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีของตนเอง ตั้งแต่ยอดเงินคงเหลือในบัญชี, ประวัติการทำธุรกรรมทั้งหมด, และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีโดยรวม ทั้งหมดนี้ช่วยให้ผู้ใช้อัปเดตข้อมูลสถานะทางการเงินได้อย่างครบถ้วน -
Personal Finance Management (PFM)
บริการจัดการการเงินส่วนบุคคล (personal finance management) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีของตนเอง ตั้งแต่ยอดเงินคงเหลือ, ประวัติการทำธุรกรรม, และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีของพวกเขา เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้วางแผนเก็บออมเงิน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรือลงทุนในสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ -
Lending Platform
แพลตฟอร์มการให้กู้ยืม (lending platform) ถือเป็นหนึ่งใน financial inclusion ที่เปิดโอกาสให้ใครก็ตามเข้ามาขอกู้ยืมเงินบนระบบออนไลน์ ด้วยการเข้าถึงข้อมูลทางการเงินของผู้ขอกู้ยืมผ่านทาง API ที่เชื่อมต่อกับธนาคาร เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือทางเครดิตและเสนอข้อเสนอสินเชื่อส่วนบุคคลที่เหมาะสำหรับผู้ขอกู้ยืมแต่ละคน
ยังคำอีกคำที่น่าสนใจก็คือ Social Banking ที่ LINE BK ถือเป็นผู้ให้บริการรายแรกในไทยที่ให้บริการธนาคารออนไลน์บนแอปฯ โซเชียลมีเดีย ด้วยการนำเสนอ 2 บริการหลัก ได้แก่ การโอนหรือจ่ายเงินผ่านแอปฯ ไลน์ รวมถึงโอนให้เพื่อนผ่านแชต ยิ่งช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น และการปล่อยสินเชื่อ ที่ผู้ขอกู้ยืมมีรายได้เพียง 5,000 บาท/เดือน มีอายุตั้งแต่ 20-60 ปี ก็สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่าย และสมัครได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้เอกสารอะไร -
Wealth Management Services
บริการบริหารจัดการความมั่งคั่ง (wealth management services) คือแพลตฟอร์มที่ผสานรวมบัญชีธนาคารของผู้ใช้เข้ากับคำแนะนำด้านการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญหรือ AI เป็นผู้แนะนำการลงทุน พร้อมทั้งคอยเสนอการปรับพอร์ตการลงทุนให้กับเหมาะสมกับความต้องการและเป้าหมายทางการเงินของผู้ใช้ที่แปรผันตามสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที -
Payment Initiation for E-commerce
บริการชำระเงินสำหรับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ (payment initiation for e-commerce) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถชำระเงินออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยโดยตรงจากบัญชีธนาคารของตน โดยไม่ต้องพึ่งพาการใช้บัตรเครดิตผ่านบริการชำระเงินของบุคคลที่สาม -
Cross-Border Payment
บริการชำระเงินข้ามพรมแดน (cross-border payment) คือสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมการเงินในประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลก ด้วยการเชื่อมต่อกับ API ของระบบธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นๆ ในแต่ละประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้โอนเงินหรือสินทรัพย์ต่างๆ ให้กับผู้รับปลายทางได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งกว่าเดิม
ใครบ้างที่สามารถใช้ประโยชน์จาก open banking ได้?
open banking ได้เปิดโอกาสมากมายให้กับบรรดาสถาบันการเงินหรือใครก็ตามที่เล็งเห็นว่าสิ่งนี้จะช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินในยุคดิจิทัลให้ก้าวหน้าไปอีกขั้น และนี่คือกลุ่มคนที่สามารถใช้ประโยชน์จาก open banking ได้ตามที่พวกเขาต้องการ
1. ผู้บริโภค
คนธรรมดาอย่างเราๆ คือกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์จาก open banking มากที่สุด เนื่องจากทุกคนสามารถที่จะควบคุมข้อมูลทางการเงินของตนได้มากขึ้น พร้อมทั้งมีตัวเลือกมากมายในการใช้แอปพลิเคชันต่างๆ สำหรับการจัดทำงบประมาณ, จัดการการเงินส่วนบุคคล, วิธีชำระเงินที่สะดวกกว่าที่เคย และเข้าถึงบริการทางการเงินที่ได้นำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกันของผู้คนในยุคดิจิทัลได้มากขึ้น
2. บริษัทฟินเทค
บริษัทฟินเทคทั้งหลายได้ใช้ประโยชน์จาก open banking เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้กลุ่มต่างๆ เช่น e-wallet, เครื่องมือการจัดการการเงินส่วนบุคคล, แพลตฟอร์มการลงทุน, และโซลูชันการให้กู้ยืมที่ต้องอาศัยการเข้าถึงข้อมูลทางการเงินของผู้ใช้แบบเรียลไทม์
3. ธนาคารและสถาบันการเงิน
ธนาคารและสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมเองถือเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้รับประโยชน์จากการประยุกต์ใช้ open banking เพื่อยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าให้ทันสมัย พร้อมด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรด้านฟินเทคที่นำเสนอโปรดักต์รวมถึงบริการใหม่ๆ อันน่าสนใจ ควบคู่ไปกับการรักษาความสามารถในการแข่งขันในภูมิทัศน์ทางการเงินที่กำลังพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก
4. ผู้ให้บริการบุคคลที่สาม
บรรดาผู้ให้บริการบุคคลที่สาม เช่น บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลและหน่วยงานให้คะแนนเครดิต สามารถใช้ open banking เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางการเงินของบุคคลต่างๆ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันได้อย่างครอบคลุม เช่น การประเมินความเสี่ยงในการให้สินเชื่อ, การให้คะแนนเครดิต, และการให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเพื่อนำไปใช้พัฒนาต่อยอดในอนาคต
5. ภาครัฐที่คอยกำกับดูแลการเงินและการธนาคาร
ภาครัฐรวมถึงหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องการเงินและการธนาคารอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย สนับสนุนแนวคิด open banking เพื่อส่งเสริมการแข่งขัน กระตุ้นให้ผู้ประกอบการคิดค้นนวัตกรรม และการคุ้มครองผู้บริโภคในอุตสาหกรรมการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติเพื่อให้แน่ใจว่าการแบ่งปันข้อมูลผ่านทาง API จะมีความปลอดภัยและเป็นไปตามข้อกำหนดทุกประการ
6. ธุรกิจและร้านค้า
ไม่เพียงคนทั่วไปหรือสถาบันการเงินที่ได้ประโยชน์จากการใช้ open banking เท่านั้น แต่ธุรกิจและร้านค้าต่างๆ ยังมีช่องทางใหม่ๆ ในการพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้าพวกเขาให้ดีขึ้นอีกมากมาย โดยการผสานรวมโซลูชันการชำระเงินเข้ากับระบบที่เกี่ยวข้องได้โดยตรง ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกรรม และเสนอทางเลือกการชำระเงินที่สะดวกสบายยิ่งขึ้นแก่ลูกค้าของพวกเขา
ตัวอย่างของ open banking ที่น่าสนใจจากทั่วโลก
ตอนนี้ถึงเวลาแล้วเราจะพาคุณไปดูตัวอย่างการนำเฟรมเวิร์ก open banking จากทั่วโลกไปประยุกต์ใช้จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคดิจิทัลได้จริง
- ยุโรป - การเริ่มใช้ PSD2 เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน
ในปี 2015 สหภาพยุโรปได้ออกกฎหมาย PSD2 (Second Payment Service Directive) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการให้บริการชำระเงิน ควบคู่กับการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขัน ลดการผูกขาด และสร้างความเท่าเทียมเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในวงการ FinTech ซึ่ง PSD2 ทำให้ธนาคารต่างๆ ในยุโรปต้องเริ่มปรับใช้เฟรมเวิร์ก open banking อย่างเต็มที่ ด้วยการเปิดให้บุคคลภายนอกที่ได้รับอนุญาตสามารถเข้าถึงข้อมูลบัญชีธนาคารของลูกค้า และระบบชำระเงินผ่านทาง Open API ได้นั่นเอง - สหราชอาณาจักร - การใช้งาน Open Banking
Competition and Markets Authority (CMA) ในสหราชอาณาจักรได้ริเริ่มการใช้ open banking ในปี 2017 ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของแพ็กเกจการแก้ไขเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับบรรดาธนาคารเพื่อรายย่อย ด้วยการสั่งให้สถาบันการเงินที่ให้บริการบัญชีกระแสรายวันรายใหญ่ที่สุดเก้ารายในบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (เรียกว่า "CMA9") สร้างและให้เงินทุนแก่ Open Banking Implementation Entity (OBIE) ส่งผลให้ปัจจุบันผู้บริโภคและธุรกิจในสหราชอาณาจักรมากกว่า 2.5 ล้านราย ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจาก open banking เพื่อจัดการด้านการเงิน เข้าถึงสินเชื่อ และชำระเงินในรูปแบบต่างๆ ที่สะดวกและมีตัวเลือกมากกว่าเดิม - สวีเดน - Swish ระบบชำระเงินผ่านมือถือ
Swish คือระบบการชำระเงินผ่านมือถือในสวีเดนที่เปิดตัวในปี 2012 โดยธนาคารขนาดใหญ่ในสวีเดน 6 แห่ง ที่ได้ร่วมมือกับ Bankgirot และธนาคารกลางแห่งสวีเดน อาจกล่าวได้ว่า Swish เป็นเหมือนต้นแบบของระบบพร้อมเพย์ในไทย ที่เพียงแค่ผู้ใช้มีแอปฯ ที่เชื่อมเข้ากับเบอร์มือถือหรือเลขประจำตัวประชาชนของผู้ใช้เข้ากับบัญชีธนาคาร ก็สามารถโอนเงินให้กันได้ภายในไม่กี่วินาที นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการชำระเงินค่าสินค้าและบริการต่างๆ ด้วยการหักผ่านบัญชี Bankgirot ที่ผูกอยู่กับแอปฯ Swish ได้ทันทีอีกด้วย - เอเชีย - API Exchange ของสิงคโปร์ (APIX)
APIX เป็นทั้ง innovation sandbox และ marketplace ที่เชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างธนาคาร ฟินเทค และสถาบันการเงินในการสร้างเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคการเงินและการธนาคาร โดยแพลตฟอร์มนี้ถูกนำเสนอโดย ASEAN Financial Innovation Network (AFIN) ในปี 2018 ด้วยการเปิดตัว API Exchange (APIX) ซึ่งเป็นตลาด API และแพลตฟอร์ม sandbox ที่บรรดา FinTech และสถาบันการเงินต่างๆ สามารถร่วมมือกันเพื่อนำเสนอและทดสอบโซลูชันดิจิทัลในโครงสร้างที่เปิดให้ใช้งานผ่านระบบคลาวด์
คว้าโอกาสพัฒนาโปรดักต์ทางการเงินที่โดนใจผู้ใช้ในอนาคต
open banking ยังคงเป็นประเด็นร้อนที่น่าสนใจ ถึงแม้ว่าเรื่องนี้จะยังเพิ่งเริ่มต้นในประเทศไทยได้ไม่นานนัก แต่ก็เป็นการเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจธนาคารและการเงิน หรือใครก็ตามที่เล็งเห็นถึงโอกาส สามารถเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งไอเดีย แผนธุรกิจ และแนวทางการพัฒนาให้พร้อมสำหรับการนำเสนอโปรดักต์ทางการเงินใหม่ๆ สู่ผู้บริโภค
Seven Peaks ในฐานะผู้นำด้านการ digital transformation ที่เชี่ยวชาญทุกด้านในเรื่องดิจิทัลโปรดักต์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ แอปฯ เว็บไซต์ รวมถึงการออกแบบ UX/UI ที่เข้าใจผู้ใช้ตัวจริงผ่านการทำ UX research เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากบริการครบวงจรของเรา ที่จะช่วยให้คุณสามารถสร้างสรรค์ digital product ต่างๆ ได้ตามเป้าหมายทางธุรกิจที่วางไว้ ปรึกษาเราตอนนี้
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Banking (5)
- Cloud (5)
- Cross-Platform Application (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 2FA (1)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MFA (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Product Growth (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- กุมภาพันธ์ 2025 (3)
- พฤศจิกายน 2024 (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)