แชร์เรื่องนี้
ภาพรวมของธุรกิจ FinTech ในไทยและโอกาสเติบโต
โดย Seven Peaks เมื่อ 27 ต.ค. 2023, 9:15:06
ณ วันนี้ “FinTech” ในไทยไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไปแล้ว เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเงินทั้งสำหรับคนทั่วไปและธุรกิจทุกระดับ ซึ่งการที่ FinTech คืออนาคตของการเงินของทุกคน ทำให้บริการทางการเงินมีความหลากหลาย สะดวกสบาย และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับความต้องการของคนไทยในยุคดิจิทัล มาดูกันว่าสถานการณ์ของอุตสาหกรรม FinTech ในไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร
ระบบนิเวศของ FinTech ในไทย
ภาพระบบนิเวศของ FinTech ไทยของ สมาคมฟินเทคประเทศไทย
มาเริ่มกันที่ ตัวอย่างหน่วยงาน/องค์กรที่อยู่ในแต่ละส่วนของระบบนิเวศ FinTech ในไทย ได้แก่
- หน่วยงานกำกับดูแลของรัฐ
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
- กลต.
- สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)
- หน่วยงานส่งเสริมจากภาครัฐ
- Software Park
- DEPA
- SIPA
- SFIF
- Ricult
- Refinn
- Moneytable
- ธุรกิจ InsurTech
- รู้ใจสมาคม
- สมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
- สมาคมประกันวินาศภัยไทย
- สมาคมฟินเทคประเทศไทย
- ธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุน
- Jitta
- Odini
- StockRadars
- Deepscope
- ธุรกิจเงินร่วมลงทุน
- Ascend
- Siriventures
- TrueIncube
- Bualuang Ventures
- ธุรกิจ Mobile banking
- KBank
- SCB
- BBL
- Krungsri
- ttb
- ธุรกิจระบบชำระเงิน/e-wallet
- Ascend Money
- CenPay
- TrueMoney
- Rabbit LINE Pay
- Omise
- บุญเติม
- ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
- Bitkub
- Satang Pro
- Bitazza
- ธุรกิจสินเชื่อ/เงินกู้
- เมืองไทยประกันชีวิต
- Sunday
- ClaimDi
- รู้ใจสมาคม
- ธุรกิจ P2P leding/crowdfunding
- PeerPower
- DeepSparks
- Sinwattana
- Innovation lab
- Bangkok Bank Innohub
- KBTG
- SCB10X
- Krungsri Finnovate
- Finlab
- Venture builder
- Hubba
- Knowledge Exchange
- สื่อประชาสัมพันธ์
- Blognone
- Beartai
- Techsauce
- ผู้ให้บริการเครื่องมือสำหรับทำธุรกิจ
- Flow Account
- AccRevo
- Easy Company
- อีเวนต์
- Thailand Fintech Festival
- Thailand Insurance Expo
- Thailand InsurTech Fair
จะเห็นได้ว่าตัวอย่างหน่วยงานและธุรกิจในระบบนิเวศ FinTech มีความหลากหลายและแต่ละภาคส่วนมีผู้เล่นอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งจากภาครัฐและเอกชน แสดงถึงความตื่นตัวของตลาดการเงินได้เป็นอย่างดี โดยกลุ่มธุรกิจที่ได้รับความสนใจมากอย่างเห็นได้ชัดคือ mobile banking, การชำระเงิน, และ e-wallet นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มให้ความสนใจสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Y และ Gen Z
โอกาสเติบโตของ FinTech ไทย
- การเข้าถึงบริการทางการเงินในประเทศไทยจัดอยู่ที่ในเกณฑ์สูง
- โครงการอินทนนท์ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนา CBDC ของธนาคารแห่งประเทศไทย จะทำให้การใช้เงินดิจิทัลมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
- สถาบันการเงินให้การสนับสนุนและต่างพากันคิดค้นโซลูชัน FinTech ของตัวเองเพื่อชิงความโดดเด่นในตลาด
- กฎหมายใหม่ที่เอื้อให้ธุรกิจ non-bank สามารถให้บริการทางการเงินได้หลากหลายขึ้น เช่น virtual bank
- คนรุ่นใหม่อยากสร้างสตาร์ตอัป FinTech เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม, แก้ pain point, และเป็นนายตัวเองกันมากขึ้น
- ผู้ประกอบการในหลายองค์กรมีทัศนคติที่ดีในการสร้างความร่วมมือกัน
- มีบริษัทร่วมลงทุนและ angel investor จำนวนมากให้ความสนใจ
ข้อจำกัดของ FinTech ไทย
- โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยียังไม่เอื้ออำนวย เช่น สัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ยังไม่ทั่วถึงและเสถียรมากพอ
- หนี้สินภาคครัวเรือนในประเทศไทยสูง
- ผู้บริโภคยังขาดความรู้ความเข้าใจด้านการเงินและเทคโนโลยีดิจิทัล
- ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมซอฟต์แวร์
- การสนับสนุนจากภาครัฐที่ยังกระจัดกระจายและไม่เป็นรูปธรรม
- กฎเกณฑ์การกำกับดูแลที่บางครั้งมีความเข้มงวดมากเกินไป เช่น ข้อกำหนดด้านการระดมทุนและด้านเงื่อนไขการพัฒนาบริการทางการเงินที่เคร่งครัด
- การควบคุมดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ของแต่ละองค์กร
เปรียบเทียบ FinTech ไทยกับ FinTech ในต่างประเทศ
หากพิจารณากันในรายละเอียดจะเห็นว่าเทคโนโลยีทางการเงินหลายๆ อย่างในประเทศไทยนั้นมีความทันสมัยอยู่พอสมควร เช่น mobile banking กับการชำระเงินด้วย QR code ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่คนไทยคุ้นเคยกัน ใช้ได้ครอบคลุมทั่วประเทศและสามารถใช้งานได้อย่างราบรื่นเป็นส่วนใหญ่
ทั้งยังมีการรองรับ QR code ของธนาคารไทยในประเทศเพื่อนบ้านจากโครงการ ASEAN Payment Connectivity อีกด้วย และหากดูจำนวนผู้ใช้บริการทางการเงินแบบออนไลน์ ประเทศไทยก็ถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
สถิติผู้ใช้บริการทางการเงินออนไลน์ทั่วโลกปี 2023 จาก Datareportal
แต่ประเทศไทยยังขาดการรองรับบริการชำระเงินแบบ contactless ที่ได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วโลกจาก Apple Pay อยู่ รวมถึงการรองรับ Google Pay/Google Wallet ก็ยังไม่ทั่วถึงนักเนื่องจากเพิ่งเริ่มมีให้ใช้กันเมื่อปลายปีที่แล้ว ในขณะที่บัตรเครดิตจากสถาบันการเงินหลายเจ้าก็เริ่มมีให้บริการ contactless แล้วเช่นกัน แต่ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด และมีข้อจำกัดของร้านค้าขนาดเล็กที่ยังไม่รองรับเทคโนโลยีดังกล่าว
จากข้อมูลของ Exim Bank ปี 2022 ระบุว่าจำนวนบริษัท FinTech ในไทยมี 268 บริษัท ซึ่งหากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียนนั้น ไทยมีน้อยกว่าเพื่อนบ้านแทบทั้งหมด ยกเว้นฟิลิปปินส์ที่มี 268 บริษัทเท่ากัน และเวียดนามที่มี 188 บริษัท ในขณะที่สิงคโปร์มี 1,350 บริษัท อินโดนีเซีย 785 บริษัท และมาเลเซีย 549 บริษัท แต่หากดูที่ปัจจัยหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นตลาดที่ยังเปิดกว้าง แนวโน้มการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ และแรงสนับสนุนจากภาครัฐของเวียดนาม จำนวนบริษัท FinTech ของเวียดนามน่าจะแซงไทยได้ไม่ยากนัก แต่หากเทียบกับอเมริกาที่มีบริษัท FinTech 11,651 บริษัทในปี 2023 ก็ยังถือว่าห่างไกลมาก
ภาพรวมสตาร์ตอัป Fintech ในไทย จาก Fintechnews
เมื่อ FinTech กลายเป็นอดีต และ TechFin พยายามเข้ามาแทนที่
หลายคนอาจสงสัยว่า TechFin คืออะไร ผู้เขียนขอยกคำพูดของ Jack Ma ผู้คิดค้นคำนี้ขึ้นมาเป็นตัวช่วยในการอธิบาย ซึ่งเขาได้พูดถึงเป้าหมายของ AliPay ว่าต้องการเป็น TechFin ในงาน China Conference เมื่อปี 2016 ไว้ดังนี้
“Fintech takes the original financial system and improves its technology, TechFin is to rebuild the system with technology. What we want to do is to solve the problem of a lack of inclusiveness.”
พูดง่ายๆ คือ FinTech เป็นความพยายามในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินของระบบการเงินแบบเก่า ในขณะที่ TechFin คือการระบบการเงินขึ้นมาใหม่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์, บล็อกเชน, API, contactless, digital wallet เป็นต้น เพื่อมุ่งแก้ปัญหาให้ผู้คนและพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังแสดงถึงที่มาอันแตกต่างกันระหว่าง FinTech กับ TechFin เพราะ FinTech เริ่มจากการทำธุรกิจการเงินก่อนแล้วค่อยนำเทคโนโลยีมาใช้ ในขณะที่ TechFin เริ่มจากธุรกิจอื่นก่อนแล้วจึงนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับบริการทางการเงินทีหลัง
ซึ่งผู้ให้บริการ TechFin มักเป็นบริษัทเทคโนโลยีเจ้าใหญ่ๆ ที่นำเทคโนโลยีของตัวเองมาสร้างเป็นโซลูชันทันสมัยที่กลายเป็นตัวเลือกใหม่ๆ ด้านบริการทางการเงินให้กับตลาด เช่น Google สร้าง Google Pay, Apple มี Apple Pay, และ LINE ที่มี LINE Pay นั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ ทำให้ TechFin เป็นสิ่งที่เข้ามา disrupt FinTech และส่งผลให้ FinTech เองต้องปรับตัวเพื่อให้แบรนด์ยังคงมีความโดดเด่นด้วยการนำเสนอบริการทางการเงินที่หลากหลายและทันสมัย ตามความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากการเข้ามาในตลาดของ TechFin
อย่างไรก็ตาม ทั้งธุรกิจ FinTech และ TechFin นั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้ เพราะไม่ว่าเทคโนโลยีของ TechFin จะล้ำสมัยแค่ไหน โครงสร้างพื้นฐานของสถาบันการเงินที่หันมาสร้าง FinTech ก็ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เทคโนโลยีทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกัน โปรดักต์และบริการ FinTech ก็อาจต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากธุรกิจ TechFin เพื่อให้ใช้งานง่ายและรวดเร็วขึ้นเช่นเดียวกัน ดังนั้น หาก FinTech และ TechFin ร่วมมือกันย่อมทำให้บริการด้านการเงินในไทยเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว
ปรึกษา Seven Peaks เพื่อสร้างโซลูชัน FinTech ของคุณให้ประสบความสำเร็จในไทย
สรุปว่า การเงินเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเราทุกคน หากธุรกิจไหนสามารถพัฒนาโปรดักต์ที่ตอบสนองความต้องการด้านการเงินของคนหมู่มากได้ย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะทำให้ธุรกิจ FinTech ประสบความสำเร็จได้ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่หลายอย่าง หน่วยงานใดที่สนใจอยากสร้างโปรดักต์หรือบริการเกี่ยวกับ FinTech สามารถปรึกษาเราได้ เนื่องจากเรามีประสบการณ์ในการพัฒนาโปรดักต์ด้าน FinTech ให้กับองค์กรชั้นนำมามากมาย และเข้าใจเทคโนโลยีนี้เป็นอย่างดี
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)