บทความและข่าวสาร | Seven Peaks Insights

แนวทางการออกแบบโดยยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง

SP_Figma_Erik-01 (Hero Banner)_Feat

คุณ Erik Ingvoldstad เคยดูแลโปรเจกต์ให้กับบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สแกนดิเนเวีย และอีกหลายแห่งทั่วโลก จึงมีประสบการณ์การทำงานเป็น creative director ให้กับแบรนด์ชั้นนำมาอย่างโชกโชน ทั้งยังได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการผู้ตัดสินของ Cannes Lions และ Ad Stars,รวมถึงเป็นวิทยากรในหัวข้อเกี่ยวกับ การออกแบบและการทำ digital transformation และยังเป็นอาจารย์สอนด้านการสร้างนวัตกรรมที่ Singapore Institute of Technology อีกด้วย เราได้มีโอกาสพูดคุยกับเขา เพื่อแบ่งปันความรู้ต่างๆ ก่อนการบรรยายในงาน BKK Design and Dev Leaders Meetup ที่ Seven Peaks เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา อ่านเรื่องราวของเขาได้ในบทความนี้

หลังจากที่เปลี่ยนสายงานจากการเป็น creative director ในกลุ่มธุรกิจโฆษณาออนไลน์ มาเป็นผู้บริหาร เป็นผู้นำทางความคิด และเป็นอาจารย์ สิ่งที่ผมทำมาตลอดการทำงานคือการทุ่มเทเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม ยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง เพราะผมอยากค้นหาทางแก้ไขเพื่อฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ และนำเสนอโอกาสใหม่ๆ ด้วยเฟรมเวิร์ก design thinking ในโลกดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญและยินดีที่จะแบ่งปันให้คนอื่นๆ รู้มาโดยตลอด

Join us for the premier Figma event in Thailand

Learn more about how Figma and Seven Peaks can help your organization get your digital products to market faster by utilizing new project management tools and collaborative features in Figma Enterprise.

Click here to reserve your spot at this landmark event!

 

จากการได้ใช้ชีวิตและทำงานที่นอร์เวย์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และจีน รวมถึงได้ดูแลอีกหลายโปรเจกต์ในเอเชียแปซิฟิก สแกนดิเนเวีย และอีกหลายแห่ง ทำให้ผมมี insights มากมายเกี่ยวกับการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้ทั่วโลก วัฒนธรรมที่หลากหลายในแต่ละภูมิภาคนั้นไม่เพียงแต่หล่อหลอมแนวทางการออกแบบของผม แต่ยังทำให้ผมรู้ข้อมูลสำคัญในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการของผู้ใช้เหล่านั้น ทั้งในส่วนที่แตกต่างและคล้ายคลึงกัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าดีไซน์จะออกมาตรงใจแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

เมื่อเราลองสำรวจแพลตฟอร์มดิจิทัลทั่วโลก ก็จะมองเห็นความท้าทายในการสร้างโปรดักต์ที่ก้าวข้ามความแตกต่างทางวัฒนธรรมและถิ่นที่อยู่ของผู้คน ภารกิจในการยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลางนั้นถือว่าเป็นมิติใหม่ที่ต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง ซึ่งไม่ใช่แค่การปรับดีไซน์ให้เข้ากับตลาดที่แตกต่างกัน แต่ต้องสร้างความเชื่อมโยงกับผู้ใช้ที่อยู่คนละพรมแดนได้ 

การเป็นผู้นำทางความคิดและอาจารย์

ถึงแม้ว่าผมจะรู้สึกเติมเต็มที่ได้เป็นทั้งผู้นำความคิดและอาจารย์สอนหนังสือ แต่ผมก็ยังคงทำงานออกแบบที่ใช้งานได้จริงอย่างต่อเนื่อง ผมเผยแพร่บทความและเข้าร่วมบรรยายในงานที่เกี่ยวกับดีไซน์และการทำ digital transformation มาแล้วมากมาย ซึ่งตำแหน่งอาจารย์สอนด้านนวัตกรรมการออกแบบที่ Singapore Institute of Technology คือตัวอย่างที่แสดงถึงความเชื่อมั่นและทุ่มเทของผมเกี่ยวกับความสำคัญของการแบ่งปันความรู้และสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ๆ ออกมา

การศึกษาเกี่ยวกับการดีไซน์นั้นไม่ใช่แค่การนำทักษะด้านเทคนิคมาใช้ แต่ยังรวมถึงการปลูกฝัง mindset ที่ยอมรับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การปรับตัว และความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย 

ความท้าทายอยู่ตรงที่เราต้องเตรียมความพร้อมให้กับนักออกแบบเหล่านี้ ซึ่งไม่ใช่แค่การตามเทคโนโลยีให้ทัน แต่ต้องก้าวทันนวัตกรรมในอนาคตด้วย โดยเราต้องเตรียมพวกเขาให้พร้อมสำหรับเทรนด์ใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อน เช่น AI และการนำมันไปใช้กับกระบวนการออกแบบที่ยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลางในอนาคตอย่างราบรื่น

วิสัยทัศน์แห่งการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง

ตอนที่ผมเปลี่ยนสายงานจากงานโฆษณามาเป็นช่วงที่ตรงกับแนวคิดในการออกแบบที่เปลี่ยนไป โดยเน้นการออกแบบและแก้ปัญหาให้กับลูกค้าตัวจริงด้วยการยึดพวกเขาเป็นศูนย์กลาง บริษัทที่ปรึกษาที่ผมก่อตั้งขึ้นและบริษัทสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีที่ผมร่วมก่อตั้งนั้นคือสิ่งที่พิสูจน์ถึงภารกิจในการลดช่องว่างระหว่างความต้องการทางธุรกิจกับความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

การยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลางที่แท้จริงนั้นจำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับ user journey, pain point, และความต้องการของพวกเขาอย่างลึกซึ้ง ความเข้าใจเหล่านี้ลึกกว่าแค่การวิเคราะห์ในระดับผิวเผิน แต่ต้องมีการเชื่อมโยงกับผู้ใช้อย่างแท้จริง, เห็นอกเห็นใจพวกเขาเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับ, และสร้างโซลูชันที่ทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้นได้

ความท้าทายในการยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลางนั้นมีหลายด้าน ปัญหาหลักๆ อย่างหนึ่งก็คือการวางกลยุทธ์ยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลางของบริษัททั้งหลายที่มักจะทำไปโดยใช้ความเชื่อแบบผิดๆ พวกเขามักจะอ้างว่าออกแบบโดยที่ยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลางแล้ว ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ลงทุนลงแรงทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเพื่อทำความเข้าใจ user journey เลย ทำให้เจตนาและการลงมือปฏิบัติจริงมันไม่สอดคล้องกัน 

ยิ่งไปกว่านั้น ความกดดันจากฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายที่ต้องการให้ได้กำไรในระยะสั้นทำให้กลายเป็นอุปสรรคต่อแผนงานระยะยาวในเรื่องนี้ องค์กรจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานโดยทำให้ ecosystem ของธุรกิจทั้งหมดมีความสอดคล้องกันเพื่อให้ความสำคัญกับประสบการณ์ผู้ใช้มากกว่าการรีบทำกำไร

เฟรมเวิร์กใหม่ในการทำ Design Thinking 

เมื่อรู้ข้อจำกัดต่างๆ ของโมเดลการทำ design thinking แบบดั้งเดิมแล้ว คุณก็อาจจะตื่นเต้นที่ได้นำแนวคิดใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งเฟรมเวิร์กใหม่นั้นไม่ใช่แค่เป็นการแสดงถึงวิวัฒนาการของ design thinking เท่านั้น แต่ยังเป็นการเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับการยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลางที่ใครๆ ก็สามารถนำไปใช้ได้ แต่ก่อนที่เราจะไปพูดถึงรายละเอียดของเฟรมเวิร์กดังกล่าว คุณจะต้องทำความเข้าใจความท้าทายที่ช่วยผลักดันสิ่งนี้ขึ้นมาก่อน

โลกดิจิทัลนั้นเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว่าเดิม และโมเดลการทำ design thinking แบบเก่านั้นก้าวตามไม่ทัน กระบวนการทำงานแบบเส้นตรงแม้ว่าจะมีประสิทธิภาพดีในบางบริบท อาจต้องพบกับอุปสรรคเมื่อต้องเจอกับรูปแบบการปรับแก้ดีไซน์ที่ต้องการความรวดเร็วอย่างในทุกวันนี้ ความซับซ้อนของปัญหาเหล่านี้ทำให้เราต้องใช้แนวทางการทำงานที่ยืดหยุ่นและสามารถทำซ้ำได้บ่อยขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้ฟีดแบ็กอย่างต่อเนื่อง, การสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว, และความเข้าใจความต้องการของผู้ใช้อย่างลึกซึ้ง

เมื่อเราเห็นความแตกต่างของเฟรมเวิร์กของ design thinking แบบใหม่แล้ว ส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือผลกระทบต่อธุรกิจในระดับผู้บริหารหรือ C-level เรามักจะเห็นบ่อยๆ ว่า มักมีความแตกต่างด้านวิสัยทัศน์ระหว่างมุมมองของทีมดีไซน์กับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร ซึ่งเฟรมเวิร์กนี้จะมาช่วยแก้ไขเรื่องดังกล่าวด้วยการเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง โดยเน้นไปที่ความเกี่ยวข้องและประโยชน์ทางธุรกิจเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรนำไปพิจารณาได้อย่างเหมาะสม

“ผมต้องการนำเสนอสิ่งที่ทุกคนและทุกธุรกิจสามารถนำไปใช้ได้ โดยโฟกัสกับความต้องการของผู้คนและยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลางอย่างเต็มที่”

ความท้าทายของโลกดิจิทัล

ประสบการณ์ของผมในการทำ digital transformation นั้นทำให้ผมเข้าใจสิ่งที่หลายๆ บริษัทมักมองข้าม ซึ่งแสดงถึงประสบการณ์ด้านดิจิทัลโปรดักต์และเว็บไซต์ของพวกเขา การไปโฟกัสกับการตลาดหรือการขายมากเกินไปทำให้เป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายในการสร้างเสริมประสบการณ์ผู้ใช้ให้ดีขึ้น การจะทำความเข้าใจความสำคัญของปัญหานี้ได้นั้น เราจำเป็นต้องดูว่าหลายๆ สิ่งที่สร้างความเข้าใจผิดอย่างแพร่หลายนี้เกิดขึ้นจากอะไร

หนึ่งในปัญหาหลักก็คือการมองปฏิกิริยาของลูกค้าไม่ออก หลายๆ ธุรกิจมองว่าตัวตนบนโลกออนไลน์ของพวกเขาคือแพลตฟอร์มที่เอาไว้ขายโปรดักต์หรือบริการเท่านั้น มุมมองอันคับแคบแบบนี้ได้ดึงความสนใจของพวกเขาออกจากเป้าหมายในการสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ที่ราบรื่นและน่าดึงดูดใจ โลกดิจิทัลไม่ใช่แค่ตลาดซื้อขาย แต่เป็นสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และเป็นที่ที่ผู้ใช้ไม่ได้แค่เข้ามามองหาสินค้าดีๆ แต่ยังต้องการความรู้สึกเชื่อมโยงกัน ความสนุก และประโยชน์ใช้สอยด้วย

“ถ้าคุณทำในสิ่งที่เหมาะสมกับทีมงาน ก็จะทำเงินได้ง่ายกว่า”

ยิ่งไปกว่านั้น การทำงานที่ไม่เชื่อมโยงกันระหว่างทีมดีไซน์และแผนกอื่นๆ ในบริษัทอาจทำให้อะไรๆ แย่ลงไปกว่าเดิม แนวทางการทำงานแบบที่เป็น silo ทำให้การตัดสินใจเกี่ยวกับดีไซน์ถูกแยกออกมาจากทีมฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนสำคัญอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้ประสบการณ์ดิจิทัลที่ได้รับนั้นไม่ราบรื่น การอุดช่องโหว่ตรงนี้จึงจำเป็นต้องแก้ไขที่ mindset ของคนในองค์กร เราต้องเสริมสร้างการทำงานร่วมกันและความเข้าใจการทำงานข้ามฝ่าย เพื่อให้แน่ใจว่าทุกๆ การตัดสินใจนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายสูงสุดในการยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้นั่นเอง

สิ่งที่ยิ่งกว่าประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า

SP_Figma_Erik-03เมื่อเราค้นลึกลงไปในความท้าทายของโลกดิจิทัลก็เป็นไปได้ที่จะขยายขอบเขตของความคิด จากเดิมที่เกี่ยวกับลูกค้าที่อยู่ภายนอกมาสู่บรรดาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อยู่ภายในองค์กรอย่างพนักงานแทน เพราะประสบการณ์ของผู้คนในบริบทของ digital transformation นั้นไปไกลกว่าแค่เรื่องของยูสเซอร์อินเทอร์เฟซและการโต้ตอบกับลูกค้า แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับองค์กรทั้งหมด ซึ่งรวมถึงทีมงานทุกคนด้วย

การปรับปรุงประสบการณ์ให้กับพนักงานนั้นไม่ใช่แค่เรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกในออฟฟิศหรือสวัสดิการเพียงผิวเผิน แต่เป็นการสร้างวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับความทุ่มเทของแต่ละคน การสร้างนวัตกรรม และความรู้สึกที่ดีของพนักงานเหล่านั้น โลกดิจิทัลนั้นมีศักยภาพในการทำให้เวิร์กโฟลว์มีความซับซ้อนน้อยลง ทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น และสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่ใช่แค่ช่วยให้พวกเขาทำงานได้อย่างเต็มที่ แต่ยังสามารถลองเสี่ยงและออกจาก comfort zone ของพวกเขาเพื่อที่จะเติบโตอย่างแท้จริงได้ 

อาจกล่าวได้ว่าแนวทางที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์แบบนี้จึงไม่ใช่แค่สร้างขวัญกำลังใจที่ดี แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน รักษาบุคลากรไว้กับองค์กร และเพิ่มความสำเร็จในภาพรวมให้กับองค์กรได้

ความท้าทายในการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการออกแบบ

แม้ว่าจะมีการเล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้ความรู้ด้านการออกแบบ แต่ความท้าทายในเรื่องนี้จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เจาะลึกลงไปในรายละเอียด การศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการออกแบบนั้นไม่ใช่แค่การถ่ายทอดทักษะทางเทคนิค แต่เป็นการปลูกฝัง mindset ที่ยอมรับเรื่องการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การปรับตัวได้อย่างยืดหยุ่น และการแก้ไขปัญหา ที่เข้าใจถึงความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในโลกดิจิทัล

หนึ่งในความท้าทายหลักๆ ก็คือการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ซึ่งนักออกแบบจำเป็นต้องก้าวตามเทรนด์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นให้ทัน ตั้งแต่เรื่อง AI, machine learning, ไปจนถึง augmented และ virtual reality การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาหลอมรวมอย่างแนบเนียนเข้ากับกระบวนการออกแบบนั้นจำเป็นต้องใช้แนวทางการศึกษาแบบองค์รวม ซึ่งนักศึกษาไม่ได้แค่เรียนรู้วิธีการใช้เครื่องมือ แต่ได้เรียนรู้ทักษะที่พร้อมปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดด้วย

ความท้าทายอีกอย่างก็คือ การรักษาสมดุลระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับการใช้งานได้จริง แม้ว่าการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์จะเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่นักออกแบบก็ต้องเรียนรู้วิธีการทำงานบนโลกความเป็นจริงว่าไทม์ไลน์ของโปรเจกต์, ความคาดหวังของลูกค้า, และข้อจำกัดด้านงบประมาณ นั้นเป็นอย่างไร การรักษาสมดุลเรื่องเหล่านี้จำเป็นต้องมีระบบการศึกษาที่ผสมผสานทั้งความรู้ทางทฤษฎี, ทักษะการปฏิบัติงาน, และประสบการณ์จากโปรเจกต์ของจริง เอาไว้ด้วยกัน

อนาคตของ UX ในโลกยุค AI 

เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าไป UX designer ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ โดยเฉพาะเรื่องของความนิยมเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) แม้ว่าหลายคนจะคาดการณ์ว่า AI อาจทำให้ UX designer หมดความสำคัญลง แต่ผมไม่คิดอย่างนั้น แน่นอนว่า AI มีศักยภาพในการทำงานบางอย่างเกี่ยวกับดีไซน์ แต่หัวใจของการออกแบบโดยยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางนั้นคือการเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เข้าใจกัน และสามารถเชื่อมโยงความรู้สึกกับผู้ใช้ได้อย่างลึกซึ้ง

แนวคิดที่ว่า AI จะมาแทนที่นักออกแบบในอีกไม่กี่ปีนั้นเป็นการมองข้ามเรื่องของความซับซ้อนเกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์ แม้ว่า AI อาจจะทำงานบางอย่างได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ความสามารถในการทำความเข้าใจความต้องการ อารมณ์ และความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้ใช้ได้อย่างแท้จริงเป็นคุณสมบัติของมนุษย์เท่านั้น 

อนาคตของ UX ในยุค AI นั้นไม่ได้อยู่ที่ว่าใครจะทำได้ดีกว่ากัน แต่เป็นการทำงานร่วมกันมากกว่า นักออกแบบสามารถใช้ AI เป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทำในสิ่งที่ต้องทำซ้ำซาก หรือหา insight จากข้อมูลปริมาณมหาศาลได้ ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถโฟกัสกับความคิดสร้างสรรค์หรือการออกแบบให้สวยงามได้มากขึ้น

“ผมหลงใหลในเรื่องเทคโนโลยีมาตลอดและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตาม มีเครื่องมือมากมายที่ช่วยให้เรามีชิวิตที่ดีขึ้น ช่วยให้เราทำสิ่งต่างๆ ได้ และในหลายครั้งก็ทำให้ทุกคนเสมอภาคกัน”

ในบทความนี้ที่เราพูดถึงเส้นทางการทำงาน มุมมอง และผลงานของผมเกี่ยวกับดีไซน์และเทคโนโลยี ซึ่งเราได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ที่ทั้งหลากหลายและซับซ้อน ความสำคัญของการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ ความท้าทายในการออกแบบโดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง รวมถึงวิวัฒนาการของเฟรมเวิร์กในการออกแบบและการนำไปใช้ จะเห็นได้ว่าโลกดิจิทัลนั้นเปรียบเสมือนผืนผ้าใบที่เปลี่ยนสีไปเรื่อยๆ ด้วยการออกแบบของนักออกแบบ ผู้บริหาร ซึ่งธุรกิจทั้งหลายต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างโซลูชันที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

เมื่อมองไปยังอนาคต การแสวงหาโอกาสและฝ่าฟันความท้าทายในโลกดิจิทัลนั้นจำเป็นต้องใช้แนวทางแบบองค์รวมและให้ความสำคัญกับผู้คน โดยเริ่มจากการปลูกฝังวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญในเรื่องความรู้สึกของพนักงานเพื่อให้พวกเขาสามารถทำความเข้าใจในเรื่องที่ซับซ้อนอย่าง AI ในงานออกแบบ UX มีความยืดหยุ่นในการปรับตัว ทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ และเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์อย่างลึกซึ้ง การเริ่มใช้เฟรมเวิร์กใหม่เพื่อทำ design thinking ช่วยให้อนาคตของการออกแบบมีความคล่องตัว, ทำซ้ำได้ง่ายขึ้น, และยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลางมากขึ้น 

การยอมรับความท้าทายเหล่านี้ด้วยความมุ่งมั่นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีความเห็นอกเห็นใจ จะช่วยให้เราสามารถออกแบบโลกดิจิทัลที่ไม่ใช่แค่ทำได้เกินความคาดหวังของผู้ใช้ แต่ยังช่วยผลักดันให้เราเข้าสู่ยุคใหม่แห่งนวัตกรรมที่ยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง

“ทุกอย่างเริ่มต้นและจบลงที่เรื่องของมนุษย์”

ชมการบรรยายของคุณ Erik Ingvoldstad ได้ในงาน BKK Design and Development Leaders Meetup ที่ Seven Peaks ร่วมจัดกับ Figma ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ลงทะเบียนได้ที่นี่

Erik New Portrait

Erik Ingvoldstad
Principal Customer Experience (CX) Designer ที่ Seven Peaks

คุณ Erik เป็น UX/UI designer นักวงกลยุทธ์ นักสร้างนวัตกรรม และผู้บริหารที่มีประสบการณ์ทำงานในด้านดิจิทัลมายาวนานกว่า 20 ปี โดยเขาร่วมก่อตั้งบริษัทสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยี และปัจจุบันทำงานเกี่ยวกับเรื่อง design thinking, digital transformation, ประสบการณ์ลูกค้า และการสร้างนวัตกรรม ให้กับ Seven Peaks โดยอาศัยอยู่ที่สิงคโปร์และร่วมมือกับ Seven Peaks ในโปรเจกต์ลูกค้าที่นั่น

 

Got a project in mind?
Let us help build the technologies around your needs.
Contact us