แชร์เรื่องนี้
MVP คือกุญแจสำหรับเริ่มต้นธุรกิจ FinTech และพร้อมสำหรับการขยายตัวในยุคดิจิทัล
โดย Seven Peaks เมื่อ 14 ธ.ค. 2023, 16:00:25
การเริ่มต้นธุรกิจ FinTech ในยุคดิจิทัลที่มีคู่แข่งใหม่ๆ เปิดตัวโปรดักต์ด้านเทคโนโลยีการเงินและธนาคารมากมายนั้น จำเป็นต้องใช้แนวคิดการพัฒนาอย่าง MVP ที่คือหนึ่งในกระบวนการที่จะช่วยให้คุณสร้างโปรดักต์ที่ลูกค้าเป้าหมายของคุณต้องการอย่างแท้จริง โดยก่อนที่โปรดักต์ FinTech ของคุณจะประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องอ่านบทความนี้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน
MVP คืออะไร ทำไมใครที่อยากเริ่มธุรกิจ FinTech ต้องรู้และประยุกต์ใช้ได้จริง
MVP หรือ minimum viable product คือ กระบวนการหนึ่งที่มีขึ้นเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการพัฒนาโปรดักต์หรือบริการที่ตลาดไม่ได้ต้องการจริงๆ ด้วยการสร้างโปรดักต์ต้นแบบที่บรรดาสตาร์ตอัปมักเรียกสั้นๆ ว่า MVP เพื่อทดลองให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ลองใช้งานตัวอย่างโปรดักต์นั้น จะได้รู้ฟีดแบ็กจากผู้ใช้งานตัวจริงว่าพวกเขาต้องการอะไร ชอบ หรือไม่ชอบในจุดไหน เพื่อจะได้หาแนวทางพัฒนา FinTech ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงได้ต่อเนื่อง
สำหรับแนวคิด MVP เริ่มเป็นที่รู้จักและถูกพูดถึงกันมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากหนังสือ The Lean Startup ของ Eric Ries ตีพิมพ์ในปี 2011 ซึ่งเขาได้เผยแพร่แนวคิดในการพัฒนาโปรดักต์ขั้นต่ำที่ใช้งานได้ (MVP) ที่เหมาะสำหรับการเปิดตัวสู่ตลาด เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการสร้างและเปิดตัวโปรดักต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมของสตาร์ตอัปที่ทุกอย่างจะต้องทำได้ดีเหมือนกับเข้าไปนั่งในใจของลูกค้าเป้าหมายได้มากที่สุด
แม้ว่าคำว่า "โปรดักต์ขั้นต่ำที่ใช้งานได้" อาจเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในช่วงต้นปี 2010 แต่แนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาซ้ำ, การรับฟังฟีดแบ็กของผู้ใช้, และการมุ่งเน้นไปที่คุณสมบัติที่สำคัญ ได้ถูกนำเสนอในรูปแบบต่างๆ ผ่านทางชุมชนและกลุ่มของนักพัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้นเรื่อยๆ
7 ข้อดีของการใช้ MVP มาพัฒนาโปรดักต์ FinTech
มาถึงตรงนี้หลายคนคงพอจะเห็นภาพแล้วว่า MVP เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ได้มาซึ่งโปรดักต์ที่ผู้บริโภคในตลาดต้องการจริงๆ แต่ก่อนที่ใครก็ตามจะเริ่มต้นพัฒนา FinTech เพื่อนำออกสู่ตลาด คุณควรรู้ถึงข้อดีของการใช้ MVP สำหรับการพัฒนา digital product เสียก่อน โดยเราจะพาคุณไปดูกันทั้งหมด 7 ข้อดังนี้
1. ใช้ต้นทุนได้อย่างคุ้มค่า
การพัฒนา digital product อย่าง FinTech ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนอาจมีราคาแพงและใช้เวลานานมากกว่าจะทำให้สำเร็จได้ตามแนวคิดแรกเริ่ม แต่ถ้าเริ่มต้นการพัฒนาโปรดักต์ด้วยแนวคิด MVP คุณสามารถลดต้นทุนการพัฒนาในช่วงเริ่มต้นและจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหลังจากที่การพัฒนาในแต่ละเฟสออกมาดีตามที่คาดหวังไว้แล้ว ก็สามารถเพิ่มเงินทุนเพื่อพัฒนาต่อในเวอร์ชันถัดไปได้
2. ช่วยให้โปรดักต์ออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว
ด้วยความที่ FinTech เป็นอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว นั่นจึงหมายความว่าระยะเวลาในการพัฒนาโปรดักต์เพื่อส่งออกสู่ตลาดจึงเป็นสิ่งสำคัญมากไม่แพ้ประเด็นอื่นๆ ซึ่งการเปิดตัว Fintech ที่พัฒนาด้วยแนวคิด MVP จะช่วยให้คุณเข้าสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว และเริ่มรับฟีดแบ็กจากผู้ใช้ตัวจริงที่มีหลากหลายทั้งดีและไม่ดี
3. ตรวจสอบมาโปรดักต์มาถูกทางด้วยฟีดแบ็กของผู้ใช้
MVP จะช่วยให้คุณสามารถทดสอบสมมติฐานและตรวจสอบความต้องการสำหรับโซลูชันทางการเงินของคุณ โดยความคิดเห็นของผู้ใช้จริงช่วยปรับปรุงโปรดักต์ของคุณให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ตัวจริงด้วยการนำเอาคำติชมเหล่านั้นมาใช้พัฒนาโปรดักต์เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น และในท้ายที่สุดคุณก็จะนำหน้าไปอยู่เหนือคู่แข่งได้
4. ช่วยลดความเสี่ยงระหว่างการพัฒนา
แนวคิด MVP ช่วยลดความเสี่ยงในการสร้างโปรดักต์ที่อาจไม่ตรงใจผู้ใช้หรือไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ พร้อมทั้งยังช่วยให้คุณสามารถเรียนรู้และปรับตัวได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ตั้งแต่เงินทุน เวลา และบุคลากรอันมีค่ามาพัฒนาในสิ่งที่ไม่มีคนต้องการ
5. พัฒนาซ้ำได้ต่อเนื่อง
FinTech ถือเป็นโปรดักต์ที่ต้องอาศัยการปรับปรุงและพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ, จัดการกับข้อกังวลด้านความปลอดภัย, และปรับให้เข้ากับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่ง MVP จะช่วยให้เกิดการพัฒนาซ้ำตามความคิดเห็นของผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าโปรดักต์ขั้นสุดท้ายจะสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ใช้ได้มากที่สุด
6. มุ่งเน้นไปที่ฟังก์ชันการทำงานหลัก
ด้วยการระบุและจัดลำดับความสำคัญของฟีเจอร์หลักที่จำเป็นสำหรับโปรดักต์ FinTech ของคุณ นั่นช่วยให้คุณสามารถส่งมอบคุณค่าให้กับผู้ใช้ได้ตั้งแต่เริ่มแรก ซึ่งแนวทาง MVP จะช่วยปรับปรุงการพัฒนาและทำให้แน่ใจว่าโปรดักต์ของคุณจะช่วยแก้ไขปัญหาหลักของผู้ใช้ได้อย่างครบถ้วน
7. ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้จริง
ความสำเร็จของ FinTech นั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจและการที่โปรดักต์ของคุณตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะของผู้ใช้ได้หรือไม่ ซึ่งแนวคิด MVP จะผลักดันให้คุณเข้าไปมีส่วนร่วมกับลูกค้าตั้งแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่กระบวนการพัฒนา digital product ในช่วงแรกเริ่ม ด้วยการส่งเสริมแนวทางพัฒนาที่ยึดถือลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และช่วยเพิ่มโอกาสที่โปรดักต์หรือโซลูชันทางการเงินของคุณจะได้รับเสียงตอบรับในทิศทางบวกจากตลาดได้มากที่สุด
ลงมือสร้าง FinTech ด้วยการใช้แนวคิด MVP ภายใน 4 ขั้นตอน
สำหรับใครที่มั่นใจแล้วว่าอยากเริ่มพัฒนา FinTech ด้วยแนวคิด MVP เราจะพาคุณไปรู้จักกับกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการสร้าง digital product ที่ลูกค้าเป้าหมายจะต้องชอบและอยากที่จะใช้งาน เพื่อไม่เสียเวลาเรามาดู 4 ขั้นตอนการพัฒนาโปรดักต์ด้วย MVP ไปพร้อมกัน
ตามหาฟีเจอร์หลักที่จะมีในโปรดักต์ ด้วยการวิจัยตลาดและคู่แข่ง
เรามาเริ่มต้นการพัฒนา FinTech แนวคิด MVP กันด้วยการกำหนดฟีเจอร์สำคัญๆ ที่จะเป็นตัวกำหนดฟังก์ชันการทำงานหลักของโซลูชันทางการเงินของคุณ โดยฟีเจอร์เหล่านี้ควรตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ไขปัญหาของผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางการเงิน เช่น ลูกค้าไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้อย่างธนาคารแบบดั้งเดิมได้ โปรดักต์ของคุณจะมีฟีเจอร์อะไรที่ช่วยพวกเขาในเรื่องนี้ได้บ้าง เป็นต้น
ซึ่งกว่าที่คุณจะรู้ว่า MVP ของ FinTech ที่คุณกำลังจะพัฒนานั้นคืออะไร คุณจะต้องทำการวิจัยตลาด วิเคราะห์คู่แข่งเดิมและบรรดา FinTech คู่แข่ง ว่าพวกเขานำเสนออะไรให้กับลูกค้าบ้าง รวมถึงลูกค้าคิดอย่างไรกับโปรดักต์ของพวกเขา ทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบ เพื่อที่คุณจะได้มองเห็นช่องว่างในการสร้างสรรค์ฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ในที่สุด
เริ่มต้นการพัฒนา MVP ให้ออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว
เมื่อคุณรู้แล้วว่าฟีเจอร์ใดที่สำคัญและจะช่วยให้ FinTech ในฝันของคุณออกมาเป็นโปรดักต์ขั้นต่ำที่พร้อมใช้งานจริง ก็มาถึงขั้นตอนในการสร้างบรรดาฟีเจอร์ขั้นต่ำที่จำเป็นเพื่อมอบคุณค่าให้กับผู้ใช้งาน ด้วยการให้ความสำคัญกับความเรียบง่ายและการใช้งานที่เข้าถึงได้ในทันทีที่เริ่มใช้
โดยเราแนะนำว่าคุณควรใช้วิธีการพัฒนาแบบ Agile เพื่อทำซ้ำอย่างรวดเร็วและทำการปรับปรุงโปรดักต์ของคุณแบบค่อยเป็นค่อยไป สิ่งนี้อาจเกี่ยวข้องกับการสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว, การทำ integration กับส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง และการนำเอาฟีดแบ็กจากผู้ใช้จริงมาพิจารณาเพื่อพัฒนาโปรดักต์ที่ดีขึ้นในอัปเดตครั้งถัดไป
ทดสอบโปรดักต์และรับฟังฟีดแบ็กของผู้ใช้ตัวจริง
หลังจากที่คุณเพิ่งพัฒนา MVP ที่พร้อมใช้งานแล้วมาสดๆ ร้อนๆ คราวนี้ก็ถึงเวลาสำคัญ อย่างการนำโปรดักต์ตัวนี้ไปผู้ใช้เป้าหมายกลุ่มเล็กๆ ได้ลองเล่นดู เพื่อที่คุณจะได้รวบรวมคำติชมเกี่ยวกับประสบการณ์ในการใช้งาน รู้ว่าจุดไหนคือจุดบกพร่องในโปรดักต์ตัวแรกเริ่ม และประเมินว่าฟีเจอร์หลักที่ใส่มานั้นตรงตามความต้องการของพวกเขาหรือไม่
อีกเรื่องที่คุณต้องหลังจากได้ฟีดแบ็กมาแล้วก็คือการใช้เครื่องมือวิเคราะห์และทดสอบผู้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการโต้ตอบของผู้ใช้กับ MVP ตัวแรกนี้ โดยข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาจะมีความสำคัญอย่างมากต่อการปรับปรุงและพัฒนาโปรดักต์ FinTech ของคุณในอนาคต
ทำกระบวนการที่ผ่านมาซ้ำๆ เพื่อปรับปรุงโปรดักต์อย่างต่อเนื่อง
อีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญของการทำ MVP ก็คือการวิเคราะห์ฟีดแบ็กที่ได้รับจากผู้ใช้จริง และเริ่มกระบวนการทำซ้ำใน MVP เพื่อแก้ไขปัญหาที่พบเจอ, ปรับแต่งอินเทอร์เฟซผู้ใช้, และพิจารณาการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้
สำหรับกระบวนการต่างๆ ที่เราอธิบายมาข้างต้นนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของวงจรการพัฒนาที่ทำวนซ้ำอย่างต่อเนื่อง โดยค่อยๆ ขยายขอบเขตของโปรดักต์ FinTech ของคุณให้ก้าวไปไกลกว่าวันแรกที่แนะนำโปรดักต์เข้าสู่ตลาด ซึ่งในที่สุดคุณก็จะสามารถพัฒนา FinTech ที่เป็นโซลูชันทางการเงินที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในตลาดใหม่ๆ ได้มากขึ้น
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญการสร้าง FinTech ด้วยแนวคิด MVP
โดยสรุปแล้ว การใช้แนวทาง MVP ในการเริ่มต้นธุรกิจ FinTech ถือเป็นกลยุทธ์ในการสร้าง, ทดสอบ, และปรับปรุงโปรดักต์ทางการเงินของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งช่วยให้คุณได้สำรวจภูมิทัศน์การแข่งขัน ลดความเสี่ยง และทำให้แน่ใจว่า digital product เวอร์ชันสมบูรณ์แบบของคุณจะสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ใช้และความต้องการของตลาดได้อย่างทันทุกเหตุการณ์
Seven Peaks เรามีทีม product development ที่ประกอบไปด้วย developer ชั้นนำทั้งฝั่ง iOS และ Android รวมถึงบรรดา UX/UI designer มืออาชีพที่เคยออกแบบแอปฯ และแพลตฟอร์มดีๆ ให้กับลูกค้าแบรนด์ระดับโลกมาแล้วหลายโปรเจกต์ เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าจะสามารถสร้าง FinTech ด้วยแนวคิด MVP ให้ประสบความสำเร็จและเพิ่มฟีเจอร์ที่ผู้ใช้ต้องการได้ในอนาคตอย่างแท้จริง ปรึกษาเราตอนนี้
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Product Growth (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- พฤศจิกายน 2024 (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)