บทความและข่าวสาร | Seven Peaks Insights

Designer กับ Developer ทำงานร่วมกันแบบ Agile ได้ด้วยการใช้ Figma

SP_Design Tokens-01 (Hero Banner)คุณอภิรักษ์ ปนาทกูล คือผู้เชี่ยวชาญด้าน UX design และการสอนในด้านนี้ ปัจจุบันเขาทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ ในฐานะ UX Coach ที่ ODDS คุณอภิรักษ์จึงช่วยให้บริษัทหลายแห่งสามารถสร้างประสบการณ์ในการใช้งานโปรดักต์ที่ราบรื่นและเป็นมิตรได้ โดยก่อนหน้านี้เขาเคยทำงานเป็น UX Evangelist ที่ Omise Payment Gateway และ UX Coach ที่ Ascend Group ซึ่งเป็นยูนิคอร์นสาย FinTech รายแรกของไทยมาก่อน

เขาเคยเป็น Google Developer Expert ในด้าน Design และตอนนี้เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ Skooldio นอกจากนี้ยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก UXThailand ที่มีสมาชิกมากกว่า 42,000 คน และเป็นผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ UXAcademy ที่มีคอร์สเรียนมากมาย รวมถึงสาระน่ารู้เกี่ยวกับ UX/UI, Information Architecture, และ Figma เราพบกับเขาเพื่อขอให้เขาแชร์ข้อมูลน่ารู้ก่อนจะไปบรรยายในงาน BKK Design and Dev Leaders Meetup ที่ออฟฟิศของ Seven Peaks ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2024 นี้

ในวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การร่วมงานระหว่าง designer กับ developer นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลสำเร็จ เครื่องมือออกแบบและสร้าง prototype ที่มีประสิทธิภาพสูงอย่าง Figma จึงเกิดขึ้นเพื่อทำให้การร่วมงานระหว่างทั้งสองฝ่ายราบรื่นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อทำงานภายใต้เฟรมเวิร์กในการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่าง Agile บทความนี้จะพูดถึงบทบาทสำคัญของ Figma ที่ทำให้ information architecture, user experience (UX), และดีไซน์มีความสอดคล้องกันภายใต้การทำงานแบบ Agile โดยเน้นไปที่ความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนและให้ความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง

วิวัฒนาการของคอมมิวนิตี UX 

การศึกษาเกี่ยวกับ information architecture นั้นเป็นหลักการที่เกิดขึ้นก่อนการออกแบบ user experience (UX) โดย information architecture นั้นจะศึกษาในเรื่องของการส่งมอบคอนเทนต์ ซึ่งก็คือการตรวจสอบว่าผู้ใช้ได้คอนเทนต์ที่ต้องการหรือไม่ และควรออกแบบอินเทอร์เฟซหรือเว็บไซต์อย่างไรเพื่อเติมเต็มความต้องการนี้ อย่างไรก็ตาม บริบทต่างๆ ก็วิวัฒนาการไป ในสมัยนี้ designer ต้องหาแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าผู้ใช้นั้นไม่ใช่แค่ได้รับคอนเทนต์ที่ต้องการแต่ยังได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่นและสามารถแก้ไขปัญหาของพวกเขาได้

ในประเทศไทย แนวคิดของ UX เพิ่งจะเริ่มเป็นที่รู้จักได้ไม่นานนัก แตกต่างจากภูมิภาคอื่นของโลก จึงเป็นโอกาสที่ดีในการให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการด้าน UX และทำให้เรื่องนี้แพร่หลายยิ่งขึ้น

UXThailand คือแนวหน้าของการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยมีคอมมิวนิตีที่ทุกคนเข้ามาแชร์งานวิจัย, พอร์ตโฟลิโองาน, และความสำเร็จของลูกค้ากัน แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการในการทำงานด้าน UX ได้เป็นอย่างดี คอมมิวนิตี UX นั้นมีการพัฒนาและให้ความร่วมมือกันอยู่เสมอ แต่ละคนจะมองหาเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานร่วมกันและปรับเปลี่ยนนั้นมีประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งเร็วๆ นี้ UXThailand จะจัดอีเวนต์ ซึ่งจะมีเซสชันประชุมรวมแบบออนไลน์ 2 วัน ตามด้วยการร่วมงานในสถานที่จริง แบ่งเป็นวันประชุมและวันทำเวิร์กช็อปอย่างละวัน รวมแล้วเป็นเวลา 4 วัน

วิธีออกแบบด้วยการคำนึงถึงแนวทางการพัฒนาแบบ Agile

แม้ว่า Adobe Illustrator และ Adobe Photoshop จะไร้เทียมทานในด้านการวาดภาพและตกแต่งรูป แต่ Figma ก็สามารถเจาะตลาดเฉพาะของ designer และ developer ที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อออกแบบ user interface (UI) ด้วยหลักการ Agile ได้ การพัฒนาซอฟต์แวร์นั้น โดยเนื้อแท้แล้วจำเป็นต้องมีการร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องและสามารถปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงได้ ฟีเจอร์ที่เป็นเอกลักษณ์ของ Figma นั้นเหมาะมากสำหรับธรรมชาติของการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

การออกแบบที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์หรือ digital product นั้นมักจะมีจุดหนึ่งที่พอจะสรุปได้ว่าขั้นตอนนั้น “เสร็จสิ้น” แล้ว แต่การออกแบบซอฟต์แวร์ไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะไม่มี “โปรดักต์ที่เสร็จสมบูรณ์” จริงๆ ซึ่งอันที่จริงแล้ววันที่คุณเปิดตัวดีไซน์ที่เสร็จแล้วของซอฟต์แวร์คือวันที่กระบวนการพัฒนาเริ่มขึ้นจริงๆ เพราะเป็นวันที่คุณสามารถทดสอบและ validate ดีไซน์ของคุณได้จากฟีดแบ็กของผู้ใช้จริงและการวิเคราะห์ข้อมูล

การทำ UX design นั้น มีองค์ประกอบหลักอยู่สองส่วน ได้แก่ continuous delivery และ continuous discovery ซึ่ง continuous delivery สามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วน ได้แก่ การเตรียมคอนเทนต์, การ validate คอนเทนต์, และ การร่วมมือกับทีมส่งมอบโปรดักต์ ในภาพประกอบข้างล่างนี้ ลองสังเกตว่ามีวงจรที่ Seven Peaks  ทำขึ้นมา ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรานำไปใช้เป็นแบบอย่างในการออกแบบและพัฒนา digital product


SP_Figma_Apirak-02

ในโลกของการพัฒนาซอฟต์แวร์ โปรเจกต์ต่างๆ มักจะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว continuous discovery จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์, โหมดที่ยืดหยุ่นสำหรับ designer และ developer, และฟีเจอร์อย่างการตั้งค่า auto-layout ของ Figma ตอกย้ำถึงคุณค่าที่เครื่องมือชิ้นนี้มีต่อ กระบวนการออกแบบ UX/UI

ในฐานะที่เราเป็นที่ปรึกษา เรามักจะต้องช่วยลูกค้าทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง การออกแบบ digital product กับการออกแบบอาร์ตเวิร์ก, โฆษณา, หรือสื่อดั้งเดิมแบบอื่นๆ ในสายงาน creative design สัญญาการจ้างงานแบบ Waterfall เกิดขึ้นเพราะความเชื่อที่ว่าซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเสร็จแล้วคือโปรเจกต์ที่เสร็จสมบูรณ์ ลูกค้าหลายรายได้เรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต ซึ่งเป็นผลจากโมเดลการทำงานแบบ Waterfall หรือการกำหนดกรอบการทำงานที่ไม่เหมาะสมกับการพัฒนาซอฟต์แวร์

คำถามจากลูกค้าที่เราพบบ่อยก็คือ “โปรเจกต์พัฒนาซอฟต์แวร์อื่นๆ เขากำหนดกรอบการทำงานกันอย่างไร” คำตอบก็คือมีหลายโปรเจกต์ที่ทำซ้ำในสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้นเช่นกัน ซึ่งตรงข้ามกับ การพัฒนา digital product ที่เป็นการสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา แนวทางแก้ไขก็คือ แนะนำให้ใช้กระบวนการทำงานแบบ Agile ทับลงไปในการทำงานแบบดั้งเดิม เช่น การยอมรับแนวคิดในการคำนวณชั่วโมงทำงานต่อคนแทนที่จะกำหนดกรอบการทำงานไว้ตายตัว

Join us for the premier Figma event in Thailand

Learn more about how Figma and Seven Peaks can help your organization get your digital products to market faster by utilizing new project management tools and collaborative features in Figma Enterprise.

Click here to reserve your spot at this landmark event!

 

การเปลี่ยนแปลงมุมมองในการทำงานร่วมกัน

Figma สร้างขึ้นมาเพื่อ designer ที่ต้องการออกแบบ UI และทำงานร่วมกับ developer งานสายซอฟต์แวร์นั้นจำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกัน และคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์คือการไม่มีโปรดักต์ไหนที่เสร็จสมบูรณ์อย่างแท้จริง นั่นหมายความว่าเมื่อไรที่มีการแก้ไข ก็จำเป็นต้องแก้ไขตลอดทั้ง design system นักออกแบบซอฟต์แวร์นั้นไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง เพราะ digital product จำเป็นต้องมีความยืดหยุ่น ปรับตัวได้ และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้น หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือเราจะแก้ไขดีไซน์และเจอปัญหาให้น้อยที่สุดได้อย่างไร

ใน Figma คุณสามารถทำทุกอย่างได้ในไฟล์เดียว ถ้าหากโปรเจกต์นั้นไม่ได้มีขนาดใหญ่มากก็สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ dev-mode

SP_Figma_Apirak-03

เมื่อคุณมีโปรเจกต์ที่ขนาดใหญ่ขึ้น ก็ควรจะแยกออกเป็นหลายๆ ไฟล์ตามจุดประสงค์และประโยชน์ที่แตกต่างกัน เพื่อให้มีไฟล์หนึ่งสำหรับ design system, อีกไฟล์สำหรับการชำระเงิน, หรือไม่ก็สร้างไฟล์ที่มีโมดูลแตกต่างกันในหนึ่งแอปพลิเคชัน อาจจำเป็นต้องใช้ Figma รุ่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่อย่าง Figma Organization เพื่อให้สามารถ synchronize หลายๆ ไฟล์ในโปรเจกต์เดียวกันได้ 

“Figma ไม่ใช่แค่แก้ไขปัญหาเรื่องดีไซน์ แต่แก้ปัญหาในการทำงานร่วมกันด้วย”

Figma Enterprise เพิ่มขีดความสามารถสำหรับโปรเจกต์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยมีความยืดหยุ่นในการจัดระเบียบไฟล์ตามโมดูลที่แตกต่างกันของแอปพลิเคชันได้ ฟีเจอร์อย่าง local variables (เช่น light mode, dark mode, หรือเวอร์ชันในภาษาอื่นๆ ของแอปพลิเคชันเดียวกัน) และการทำ version control คล้ายกับใน GitHub ทำให้ Figma ลดความซับซ้อนของกระบวนการออกแบบได้ ที่น่าสังเกตก็คือ ความสามารถของเครื่องมือชิ้นนี้ในการแก้ไขปัญหาเรื่องของการออกแบบและการทำงานร่วมกันทำให้มันกลายเป็นสินทรัพย์ที่ทรงคุณค่าในการบริหารจัดการโปรเจกต์เลยทีเดียว

การตั้งค่า auto-layout คืออีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีของฟีเจอร์ที่มีประโยชน์มากใน Figma ที่แก้ไขปัญหาการทำงานร่วมกันระหว่างแผนก มันมีคุณสมบัติแบบเดียวกับ “Flex” ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ทั้ง designer และ developer เข้าใจซึ่งกันและกันได้ และยังร่วมกันรับผิดชอบในการแก้ไขอีกด้วย นี่คือส่วนที่ผมชอบที่สุดเกี่ยวกับ Figma

นอกจากนั้น Figma ยังช่วยให้การสร้าง design system ง่ายขึ้น Figma ทำให้การสร้าง, ออกแบบ, หรือปรับเปลี่ยน component นั้นเป็นเรื่องง่ายด้วยการเปลี่ยนแปลงดีไซน์ทั้งหมดพร้อมๆ กันได้ การสร้าง design system นั้นไม่ใช่แค่การสร้าง component แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นก็คือ การทำความเข้าใจเหตุผลและแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังแต่ละ element ของดีไซน์ ซึ่งอ้างอิงถึงเหตุผลทางธุรกิจและหลอมรวมอยู่ในประสบการณ์ของผู้ใช้

Figma นั้นทำงานสอดคล้องกับหลักการ Agile ที่ทำให้ทีมงานหลายๆ ทีมสามารถแก้ไขปัญหาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ด้วยการยอมรับความเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่การหลีกเลี่ยงมัน

การเปลี่ยนแปลงกรอบความคิด

นอกเหนือจากประสิทธิภาพทางเทคนิคแล้ว Figma คือสิ่งที่เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อในเรื่องของวัฒนธรรมการทำงานและ career path ทั้งกับ designer และ developer ในฐานะที่คุณเป็นผู้นำในองค์กร คุณจะสร้างแรงบันดาลใจและบริหารจัดการคนอย่างไรให้พวกเขาได้ลองทำงานในบทบาทที่แตกต่างออกไป เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ให้กับทั้ง  designer และ developer เพราะเราไม่จำเป็นต้องจำกัดตัวเองไว้แค่บทบาทเดียวเท่านั้น

เมื่อคุณมีโปรเจกต์ที่ขนาดใหญ่ขึ้น ก็ควรจะแยกออกเป็นหลายๆ ไฟล์ตามจุดประสงค์และประโยชน์ที่แตกต่างกัน เพื่อให้มีไฟล์หนึ่งสำหรับ design system, อีกไฟล์สำหรับการชำระเงิน, หรือไม่ก็สร้างไฟล์ที่มีโมดูลแตกต่างกันในหนึ่งแอปพลิเคชัน อาจจำเป็นต้องใช้ Figma รุ่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่อย่าง Figma Organization เพื่อให้สามารถ synchronize หลายๆ ไฟล์ในโปรเจกต์เดียวกันได้ 

“Figma ไม่ใช่แค่แก้ไขปัญหาเรื่องดีไซน์ แต่แก้ปัญหาในการทำงานร่วมกันด้วย”

Figma Enterprise เพิ่มขีดความสามารถสำหรับโปรเจกต์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยมีความยืดหยุ่นในการจัดระเบียบไฟล์ตามโมดูลที่แตกต่างกันของแอปพลิเคชันได้ ฟีเจอร์อย่าง local variables (เช่น light mode, dark mode, หรือเวอร์ชันในภาษาอื่นๆ ของแอปพลิเคชันเดียวกัน) และการทำ version control คล้ายกับใน GitHub ทำให้ Figma ลดความซับซ้อนของกระบวนการออกแบบได้ ที่น่าสังเกตก็คือ ความสามารถของเครื่องมือชิ้นนี้ในการแก้ไขปัญหาเรื่องของการออกแบบและการทำงานร่วมกันทำให้มันกลายเป็นสินทรัพย์ที่ทรงคุณค่าในการบริหารจัดการโปรเจกต์เลยทีเดียว

การตั้งค่า auto-layout คืออีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีของฟีเจอร์ที่มีประโยชน์มากใน Figma ที่แก้ไขปัญหาการทำงานร่วมกันระหว่างแผนก มันมีคุณสมบัติแบบเดียวกับ “Flex” ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ทั้ง designer และ developer เข้าใจซึ่งกันและกันได้ และยังร่วมกันรับผิดชอบในการแก้ไขอีกด้วย นี่คือส่วนที่ผมชอบที่สุดเกี่ยวกับ Figma

นอกจากนั้น Figma ยังช่วยให้การสร้าง design system ง่ายขึ้น Figma ทำให้การสร้าง, ออกแบบ, หรือปรับเปลี่ยน component นั้นเป็นเรื่องง่ายด้วยการเปลี่ยนแปลงดีไซน์ทั้งหมดพร้อมๆ กันได้ การสร้าง design system นั้นไม่ใช่แค่การสร้าง component แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นก็คือ การทำความเข้าใจเหตุผลและแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังแต่ละ element ของดีไซน์ ซึ่งอ้างอิงถึงเหตุผลทางธุรกิจและหลอมรวมอยู่ในประสบการณ์ของผู้ใช้

Figma นั้นทำงานสอดคล้องกับหลักการ Agile ที่ทำให้ทีมงานหลายๆ ทีมสามารถแก้ไขปัญหาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ด้วยการยอมรับความเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่การหลีกเลี่ยงมัน

การเปลี่ยนแปลงกรอบความคิด

นอกเหนือจากประสิทธิภาพทางเทคนิคแล้ว Figma คือสิ่งที่เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อในเรื่องของวัฒนธรรมการทำงานและ career path ทั้งกับ designer และ developer ในฐานะที่คุณเป็นผู้นำในองค์กร คุณจะสร้างแรงบันดาลใจและบริหารจัดการคนอย่างไรให้พวกเขาได้ลองทำงานในบทบาทที่แตกต่างออกไป เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ให้กับทั้ง  designer และ developer เพราะเราไม่จำเป็นต้องจำกัดตัวเองไว้แค่บทบาทเดียวเท่านั้น

“การทำความเข้าใจการพัฒนาซอฟต์แวร์ทำให้คุณเป็น designer ที่ดีขึ้นได้ ในขณะเดียวกัน การเป็น developer ที่เข้าใจเรื่องดีไซน์ก็ทำให้คุณเป็น developer ที่เก่งขึ้นได้เช่นกัน”

เราต้องการกระตุ้นให้บรรดาผู้นำองค์กรทั้งหลายเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดในการบริหารจัดการคน พวกเขาควรเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ จากการมองแต่ละคนเป็นทรัพยากรที่มีความสามารถบางอย่างตายตัว มาเป็นการตระหนักถึงศักยภาพในการเรียนรู้และเติบโตของคนเหล่านั้น

“อย่ามองผู้คนเป็นแค่ทรัพยากร เพราะเราจะกำหนดว่าทรัพยากรนั้นๆ สามารถทำอะไรได้บ้าง แต่มนุษย์ไม่ใช่ทรัพยากร เพราะเราสามารถเรียนรู้และเติบโตได้แบบไร้ขีดจำกัด”

การเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดนั้นสำคัญมากในการกระตุ้นให้คนทำงานร่วมกัน, ก่อให้เกิดนวัตกรรม, และสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ในทางธุรกิจได้ การเปลี่ยนแปลงวิธีมององค์กรของผู้นำทำให้พวกเขาสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมงานในการยอมรับบทบาทที่หลากหลายและสร้างวัฒนธรรมของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง, สร้างนวัตกรรมและความสำเร็จในธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีการแข่งขันสูงและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องได้

ติดตามเซสชันการบรรยายของ คุณอภิรักษ์ ปนาทกูล ในงานอีเวนต์ BKK Design and Development Leaders Meetup ที่ออฟฟิศของ Seven Peaks ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2024 นี้ โดยได้รับความร่วมมือจาก Figma ลงทะเบียนได้ที่นี่

เราต้องการกระตุ้นให้บรรดาผู้นำองค์กรทั้งหลายเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดในการบริหารจัดการคน พวกเขาควรเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ จากการมองแต่ละคนเป็นทรัพยากรที่มีความสามารถบางอย่างตายตัว มาเป็นการตระหนักถึงศักยภาพในการเรียนรู้และเติบโตของคนเหล่านั้น

“อย่ามองผู้คนเป็นแค่ทรัพยากร เพราะเราจะกำหนดว่าทรัพยากรนั้นๆ สามารถทำอะไรได้บ้าง แต่มนุษย์ไม่ใช่ทรัพยากร เพราะเราสามารถเรียนรู้และเติบโตได้แบบไร้ขีดจำกัด”

การเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดนั้นสำคัญมากในการกระตุ้นให้คนทำงานร่วมกัน, ก่อให้เกิดนวัตกรรม, และสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ในทางธุรกิจได้ การเปลี่ยนแปลงวิธีมององค์กรของผู้นำทำให้พวกเขาสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมงานในการยอมรับบทบาทที่หลากหลายและสร้างวัฒนธรรมของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง, สร้างนวัตกรรมและความสำเร็จในธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีการแข่งขันสูงและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องได้

ติดตามเซสชันการบรรยายของ คุณอภิรักษ์ ปนาทกูล ในงานอีเวนต์ BKK Design and Development Leaders Meetup ที่ออฟฟิศของ Seven Peaks ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2024 นี้ โดยได้รับความร่วมมือจาก Figma ลงทะเบียนได้ที่นี่

Apirak_Panatkool_Profile

อภิรักษ์ ปนาทกูล
UX Evangelist

คุณอภิรักษ์เป็น UX designer และอาจารย์ที่อยู่ในกรุงเทพฯ ปัจจุบันทำงานเป็น UX Coach ที่ ODDS เพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถสร้างประสบการณ์ในการใช้งานที่ราบรื่นและเป็นมิตร ก่อนหน้านี้เขาทำงานเป็น UX Evangelist ให้กับ payment gateway อย่าง Omise และ UX Coach ที่ Ascend Group มาติดตามเทรนด์ล่าสุดเกี่ยวกับ UX และเพิ่มคอนเน็กชันกับคนทำงานสายดีไซน์อย่างคุณอภิรักษ์และคนอื่นๆ ได้ในงาน Figma Event

 

คุณมีโปรเจกต์ที่อยากทำใช่ไหม?
ให้เราช่วยสร้างเทคโนโลยีที่คุณจำเป็นต้องใช้ดีกว่า
ติดต่อเรา