แชร์เรื่องนี้
บางครั้ง product owner ก็ต้อง ‘Just Get It Done’ เพื่อให้งานไปต่อได้
โดย Seven Peaks เมื่อ 5 ม.ค. 2024, 16:14:59
จุดเริ่มต้นของการเป็น product owner
อุ้ม จบวิศวะจุฬา ภาคอินเตอร์ สาขา Information and Communication Engineering (ICE) แต่ปกติแล้วจะบอกกับคนอื่นว่าจบวิศวะคอมมาเพื่อให้เข้าใจง่ายที่สุด เพราะสิ่งที่เราเรียนมามันเกี่ยวกับการออกแบบซอฟต์แวร์และสามารถโตมาเป็น developer ได้
หลังจากเรียนจบมาสักพักก็ได้ใช้เวลาหาตัวตนอยู่สักพักหนึ่ง เนื่องจากโปรเจกต์ตอนเรียนจบมันเกี่ยวข้องกับ dev โดยตรง ซึ่งส่วนตัวแล้วรู้สึกชอบแค่บางส่วนของการพัฒนาซอฟต์แวร์ เช่น รู้สึกสนุกกับการวางแผนการทำงาน ไม่ได้ชอบตอนที่ต้องเขียนโค้ดอะไรแบบนี้ เพราะสาขาที่เรียนนั้นเปิดโอกาสให้เราได้รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับ dev, การ management ไปจนถึงส่วนของ telecommunication
จริงๆ แล้วเราเองก็ไม่ได้มี mindset ว่าเรียนจบวิศวะมาแล้วจะต้องทำงานในสายวิศวกรรมแต่อย่างใด เพราะการเรียนสาขานี้สอบให้เรามี logic ในการคิดแบบเป็นระบบ มีเหตุมีผล
เราเลยได้ลองสมัครงานเป็นโปรแกรมเมอร์, งานที่ปรึกษา, และเคยเป็น head hunter ด้วย เพื่อดูว่าตัวเองเหมาะกับงานประเภทไหนกันแน่ และในที่สุดก็ได้ทำงานเป็น system change coordinator ที่บริษัทพลังงานข้ามชาติแห่งหนึ่ง ที่นี่เปิดโอกาสให้เราได้พูดคุยกับคนเยอะ ได้รับผิดชอบงานที่มีความสำคัญกับบริษัท และก็สอนให้เราได้พัฒนาตัวเองเรื่อยๆ จากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับตลอดการทำงานนี้
หลังจากได้เปลี่ยนงานมาเรื่อยๆ ก็มาเจอกับ Seven Peaks ที่ตอนแรกคิดไว้ว่าที่นี่คงเป็นบริษัทข้ามชาติที่ทำเรื่อง digital product ตามเทรนด์ยุคใหม่ รวมถึงยังเป็น software house อันดับต้นๆ ของไทยด้วย และตอนนั้นก็ยังไม่แน่ใจว่างาน product owner จะไปมีบทบาทไหนในบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์แห่งนี้
รู้สึกยังไงกับงาน product owner
ตอนที่ได้เข้ามาทำงานที่นี่ เราก็ได้คุยกับ head of product ว่าจริงๆ แล้วหลายคนยังไม่ได้เข้าใจจริงๆ ว่า product นั้นคืออะไร รวมถึง position ของคนที่เป็น product owner ควรอยู่ตรงไหน ไม่เหมือนกับคนทำงานเป็น designer หรือว่า developer ที่พูดไปใครๆ ก็รู้จักงานเหล่านี้ เรียกได้ว่าเป็น challenge อยู่ประมาณหนึ่งเลย
เราเองยังชอบในแง่ของความหลากหลายในการทำงานเป็น product owner ที่นี่ เพราะเราได้ทำงานกับคนจากหลายเชื้อชาติ ตอนแรกก็แอบกังวลอยู่นิดหน่อยเกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมการทำงานที่นี่ แต่พอได้พูดคุยและทำงานร่วมกันจริงๆ ก็รู้สึกว่าทุกคนที่นี่เป็นมิตรมากๆ พร้อมจะพูดคุยและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์กับงานอยู่เสมอ
ก็มีช่วงแรกๆ ที่ต้องบริหารจัดการคนในทีมที่ทำงานแบบ remote อยู่ที่ต่างประเทศหรือคนละ time zone เราก็รู้สึกกังวลอยู่ว่าจะทำให้งานได้ตามที่วางแผนไว้ไหม คนที่ทำงานจะคิดยังไงกับการสื่อสารของเรา และอื่นๆ อีกหลายข้อ แต่ผลที่ได้กลับออกมาดีกว่าที่คิดไว้ อาจด้วยความที่ทุกอย่างอยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบมืออาชีพ ทำให้เราสามารถผลักดันโปรเจกต์ต่างๆ ให้เสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
อุปสรรคที่เจอระหว่างการบริหารจัดการแต่ละโปรเจกต์
สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการเป็น product owner ทุกคนบนโลกนี้คือการทำอย่างไรก็ได้ให้ทุกคนที่ทำงานร่วมกันในโปรเจกต์นั้นมีความเข้าใจตรงกัน พูดง่ายๆ เราเป็นคนที่ทำให้ product นั้นเกิดขึ้นและมีคนใช้งานจริงๆ แบบว่าลูกค้าเข้ามาหาเราพร้อมกับ requirement เราต้องทำอย่างไรก็ได้ให้โปรดักต์นั้นมี value ที่ดีจริงๆ ไม่ใช่ว่าลูกค้าอยากได้ตู้เสื้อผ้าแล้วเราจะทำตู้เสื้อผ้าให้พวกเขา แต่เราจะถามกลับไปว่าทำไมถึงอยากได้ตู้เสื้อผ้า ต้องการเอาไปทำอะไร เพราะสุดท้ายแล้วอาจอยากได้แค่ราวตากผ้าก็ได้ หรือไม่ก็อยากได้แค่กล่องใส่เสื้อผ้าแทนที่จะเป็นตู้เสื้อผ้าก็ได้
อย่างที่บอกไปว่าหน้าที่ในการแปลงไอเดียให้กลายเป็นโปรดักต์ที่มี value นั้นเป็นอะไรที่ยากมาก เพราะเราจะต้องประสานงานกับทีมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรดักต์นั้นขึ้นมา เช่น ทีม designer, ทีม developer, ทีม scurm master, และทีม business development รวมถึง stakeholder จากทางฝั่งของลูกค้าด้วย ซึ่งแต่ละคนล้วนมีสไตล์การทำงาน การพูด และการบริหารจัดการสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนกันเลย
ทำให้บางครั้งเราพูดเรื่องนี้กับบางคนเขาก็อาจเข้าใจได้ทันที แต่สำหรับบางคนต้องอธิบายซ้ำอยู่บ่อยๆ ทั้งที่เราเคยพูดเรื่องนี้ไปเมื่อสัปดาห์ก่อน อะไรแบบนี้ ซึ่งเราจะทำอย่างไรให้คนที่มีความคิดหลากหลาย รวมถึงสไตล์การทำงานที่แตกต่างกัน บางคนอาจทุ่มเทกับงานเกิน 100% ในขณะที่อีกคนทำแค่ 20% พร้อมกับคิดแค่ว่าทำไปเพื่อให้งานที่ได้รับมอบหมายมาเสร็จเท่านั้น
ซึ่งการจัดการทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโปรเจกต์ หรือที่เรียกว่า stakeholder management จะมีโจทย์อยู่ว่า จะทำอย่างไรให้แผนงานกับเป้าหมายที่มีสามารถบรรลุได้ครบถ้วน พร้อมกับการทำให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมกับที่มีความเข้าใจต่องานนี้ที่แตกต่างกันสามารถเข้าใจได้ตรงกัน
เพราะบางทีเวลาเราพูดเรื่องนี้กับบางคนไปเขาก็คิดไปไกลจนหลุดขอบเขตของงานในปัจจุบัน เราต้องทำให้เขากลับเข้ามาอยู่ในกรอบหน้าที่รับผิดชอบของเขา หรือไม่ก็เป็นปัญหาอย่างการที่ทีมมีคนทำงานทั้งในออฟฟิศและ remote จากที่อื่นๆ ทำให้มีปัญหาการสื่อสารที่ไม่ได้ราบรื่นเหมือนมาคุยกันต่อหน้าจริงๆ เช่น สัญญาณอินเทอร์เน็ตขาดหาย พูดกันแล้วไม่ค่อยได้ยินใจความที่ผู้พูดกำลังอธิบายอยู่ แบบนี้เป็นต้น
เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่คนทำงานแต่ละคนย่อมทุกเทต่อโปรเจกต์ที่ได้รับมอบหมายมาไม่เท่ากัน แต่หน้าที่ของ product owner คือทำอย่างไรก็ได้ให้งานสำเร็จเป็นรูปร่างพร้อมใช้งาน ทุกอย่างที่เราทำในแต่ละงานไม่ได้มีขั้นตอนการทำงานที่ถูกกำหนดไว้ตายตัว แบบ 1-2-3-4-5 แต่จะต้องทำอย่างไรก็ได้ให้โจทย์ที่ลูกค้าตั้งมา สมมติว่าอยากได้เฮลิคอปเตอร์ เราก็พยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อทำให้สำเร็จออกมาเป็นโปรดักต์จริงได้ภายในกรอบเวลาที่กำหนด แต่ก็มีหลายครั้งที่เราเจอกับปัญหา ทำให้เราต้องถามกับลูกค้าว่าเอาส่วนประกอบอื่นๆ ที่เสร็จแล้วไปก่อนได้ไหม เพื่อให้งานมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง
Just Get It Done ทำทุกอย่างเพื่อผ่านอุปสรรคไปให้ได้
แม้ว่าเราเองจะมีหลายโหมดในการทำงาน แต่ “Just Get It Done” ก็คือหนึ่งโหมดที่มีต่อการเป็น product owner ในเวลาที่ไม่รู้จะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นให้ทุกฝ่ายพอใจได้อย่างไร สุดท้ายแล้วเราก็ต้องผลักดันให้งานเสร็จเป็นรูปเป็นร่างให้ได้ บางทีเราเลือกไม่ได้ว่าจะทำเพราะชอบหรือไม่ชอบ
บางครั้งก็เจอ requirement ที่เป็นไปได้ยากหรือทำให้เสร็จภายในเวลาที่สั่งมาไม่ได้เลย เช่น สั่งวันนี้อยากได้พรุ่งนี้ ถ้าเจอลักษณะนี้เราอาจต้องพูดบางสิ่งบางอย่างแบบตรงๆ ที่ทำให้บรรดาคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโปรเจกต์รู้สึกไม่พอใจ ทั้งฝั่งของเราเองและฝั่งลูกค้า แต่สุดท้ายแล้วเราต้องเผชิญหน้ากับความจริงและบอกว่าสิ่งไหนเป็นไปได้และสิ่งใดสามารถทำได้บ้างในสถานการณ์นั้น เพื่อให้งานเสร็จได้ในท้ายที่สุด
เสริมอีกนิดหนึ่งก็คือเรื่องที่ว่าทำไมบางครั้ง product owner ถึงไม่ได้เข้าใจในสิ่งที่แต่ละฝ่ายกำลังเผชิญอยู่ จริงๆ แล้วเราเข้าใจว่างานทั้งหมดนั้นมีความสำคัญอย่างไร แต่บางครั้งการที่เราไม่ได้มานั่งอธิบายอย่างละเอียด ก็เพราะเราต้องโฟกัสในสิ่งที่จะช่วยให้งานนั้นๆ สำเร็จและผ่านอุปสรรคที่เกิดขึ้นตรงหน้าได้ก่อน จากนั้นเมื่อผ่านไปแล้วเราก็จะมาปรับความเข้าใจเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำอีกครั้งในอนาคต
หลังจากผ่านพ้นปัญหาที่ทำให้เราต้องสู้จนหลังชนฝาได้แล้ว ต่อมาก็คือการวางแผนเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดไว้ล่วงหน้าให้มากที่สุด เพราะงานของ product owner เปรียบเหมือนกับจุดเริ่มต้นของทุกคนที่ทำงานในโปรเจกต์ ถ้าเราวางแผนไม่ดี ทุกคนก็จะพลอนได้รับผลกระทบไปด้วย เช่น เราไปรับ requirement ที่มันไม่ค่อยสมเหตุสมผลจากลูกค้ามา พอมาถึงตอนที่ต้องคุยบรีฟงานให้กับ developer พวกเขาก็จะบอกทันทีว่าไม่สามารถทำได้
หน้าที่ของ product owner ก็คือต้องวางแผนและคัดกรองปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตตั้งแต่เนิ่นๆ อาจเริ่มด้วยการหาว่าอะไรคือ priority หลักของโปรเจกต์ หรือว่าจะต้องเข้าไปพูดคุยกับใครบ้าง อันนี้คือสิ่งที่เราจะต้องรู้พร้อมเตรียมมันออกมาให้ดีที่สุด และต้องทำให้เสร็จก่อนที่ทุกคนจะเริ่มมือลงทำงาน นั่นหมายความว่าถ้าเราสามารถวางแผนทุกอย่างได้ดี ในอนาคตเราก็จะไม่ต้องใช้แผนทำงานแบบ “Just Get It Done” บ่อยๆ แน่นอนว่ามันไม่ดีต่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตัวเราเองที่ทั้งเครียดและต้องปวดหัวตลอดเวลาด้วย
มันก็เหมือนเราเตรียมวางแผนจะไปเที่ยวที่ๆ เราไม่เคยไปมาก่อนนั่นแหละ แค่เปิด Google Maps พร้อมวางแผนว่าจะไปแวะจุดไหน ต้องผ่านและเจออะไรบ้าง เท่านี้ทริปเที่ยวของเราก็จะดำเนินไปอย่างราบรื่นและได้รับผลลัพธ์ที่ประทับใจทั้งผู้ขับขี่ (เรา) และผู้โดยสาร (ลูกค้า) อย่างแน่นอน
โปรเจกต์ที่ภูมิใจ
เราได้ดูแลโปรเจกต์ของบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนยี่ห้อหนึ่ง สำหรับโปรเจกต์ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้านั้น เราได้เข้าไปดูในส่วนของโดเมนที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ ซึ่งตลอดการทำงานนี้เรากล้าที่จะไปนั่งพูดคุยกับลูกค้าตรงๆ ที่บริษัทของพวกเขาเลย เพราะตอนนั้นรู้สึกว่าข้อมูลที่ได้มามันค่อนข้างคลุมเครือไม่ชัดเจน ทิศทางของการทำงานเป็นอย่างไร ทำไมถึงมีการเปลี่ยนไปมาแบบนี้ เป็นต้น
สิ่งที่ได้กลับมาจากการพูดคุย นอกจากรู้ว่าโปรเจกต์นั้นทำเพื่ออะไร และได้หนทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ยังทำให้เราเข้าใจว่าทุกคนโฟกัสที่เรื่องงาน ไม่ได้มาเพื่อระเบิดอารมณ์หรือปาความรู้สึกหงุดหงิดเข้าใส่กัน ต่อให้การพูดคุยกันในที่ประชุมจะร้อนแรงขนาดไหน แต่หลังจากออกมาจากห้องนั้นก็ยังหัวเราะและยิ้มให้กันได้
สรุปได้ว่าความภูมิใจที่ได้จากการทำโปรเจกต์ให้กับบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าก็คือ การที่เราสามารถเคลียร์เรื่องราวต่างๆ ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี ในขณะที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังคงมีอารมณ์อยู่ระหว่างการประชุม อาจเป็นเพราะเราตัดสินใจไปนั่งพูดคุยที่ออฟฟิศของลูกค้า เราจึงได้เห็นว่าทุกคนไม่ได้เกรี้ยวกราดขนาดนั้น ต่างจากตอนที่ประชุมผ่านทางออนไลน์ที่ได้ยินแค่น้ำเสียง ไม่ได้เห็นสีหน้าท่าทางที่แสดงออกอย่างชัดเจน
วางแผนการทำงานในอนาคตไว้อย่างไร
อนาคตก็มองไว้ว่าอยากจะไปเรียนจิตวิทยา เพราะมันเป็นสิ่งที่อยู่ในใจของเรามานานตั้งแต่สมัยยังเรียนอยู่ พูดไปแล้วจริงๆ ตัวเองอยากเป็นนักจิตบำบัด เพราะว่าการที่เรามีสกิลรับฟังคนและสามารถช่วยให้คนอื่นรู้สึกดีขึ้น เราเองก็พลอยรู้สึกดีไปด้วย
ยิ่งการที่เราได้ทำงานเป็น product owner ก็ทำให้ได้ฝึกสกิลจิตวิทยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการที่เราได้เจอคนมากหน้าหลายตา ต้องพูดคุยและประสานงานกับคนเป็นจำนวนมาก เพื่อทำให้โปรเจกต์สำเร็จลุล่วงไปได้ตามแผนที่วางไว้ และทุกคนที่เกี่ยวข้องรู้สึกโอเคและไม่ต้องเครียดกับงานเหล่านั้นมากเกินไป
แน่นอนคงต้องแบ่งเวลาไปเรียนพร้อมๆ กับทำงานประจำเป็น product owner ไปด้วย ซึ่งจุดประสงค์การเรียนครั้งนี้เราไม่ได้อยากจะมีใบปริญญามาแปะที่ฝาบ้าน แต่เรียนเพื่อเติมเต็มความชอบของตัวเองเท่านั้น ถ้าถามว่าอนาคตอยากเติบโตต่อไปในสายไหน ใกล้เคียงที่สุดก็คงเป็น product manager พูดง่ายๆ ว่าเรายังอยากที่จะพูดคุย ประสานงาน และบริหารโปรเจกต์ให้ดำเนินต่อไปจนผลักดันให้เกิดโปรดักต์ที่สำเร็จตามที่วางแผนไว้นั่นเอง
สิ่งที่อยากฝากถึงคนที่อยากเป็น product owner
การจะเป็น product owner ที่ทำงานแล้วทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโอเค งานเสร็จตามเป้าหมาย และ digital product มีปัญหาน้อยที่สุด จำเป็นต้องมี soft skill และ sense แต่กลายเป็นว่าสองสกิลนี้เป็นอะไรที่อยากกว่า hard skill อย่างการเขียนโปรแกรม หรือออกแบบ UX/UI เสียอีก นอกจากนี้ เรายังคิดว่างาน product owner ยังเป็นอะไรที่ AI ไม่สามารถเข้ามาทดแทนได้ด้วย เนื่องจากต้องสื่อสารระหว่างผู้คนที่เกี่ยวข้องกับโปรเจกต์นั้นๆ อย่างต่อเนื่อง พร้อมใช้ทั้งศาสตร์และวาทศิลป์ในการเจรจาต่อรอง
นอกจากนี้ ถ้าเป็นไปได้ก็ควรมีเข้าเชี่ยวชาญในการออกแบบ การพัฒนาแอปพลิเคชัน ซอฟต์แวร์ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง พูดง่ายๆ คือคุณต้องมี core skill ที่ทำให้คุณสามารถเข้าใจว่าคนที่ทำงานในโปรเจกต์นั้นๆ เขามีวิธีการทำงานอย่างไร และคุณก็จะทำงานได้คล่องตัวมากขึ้นด้วยการที่พูดคุยกับคนทำงานจริงแล้วคุณเข้าใจได้ทันที ถึงแม้หน้าที่ของคุณจะไม่ได้มาต้องดีไซน์หรือ coding เองก็ตาม
ข้อสุดท้ายที่อยากฝากไว้และสำคัญไม่แพ้ข้ออื่นก็คือ คุณต้องมีวินัยในการทำงานมาก เพราะในทุกวันคุณจะต้องบริหารจัดการงานที่ถาโถมเข้ามาอย่างต่อเนื่องรอบตัว ไม่เพียงแต่งานของคนที่คุณดูแลพวกเขาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงงานที่คุณต้องจัดการเองด้วย บางวันอาจมีประชุมเยอะจนคุณไม่มีเวลาจะทำงานอะไรให้เสร็จเป็นชิ้นเป็นอันเลย นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราถึงบอกว่าคนที่จะเป็น product owner ถึงต้องมีวินัยสูง สามารถจัดการสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปในแต่ละวันมากที่สุด
ปานชนก สกุลเบญจา (อุ้ม) Product Owner ที่ Seven Peaks
คุณปานชนกเริ่มต้นจากการเป็น System Analyst และ Business Analyst เป็นเวลา 3 ปี จนได้มาเป็น Product Owner ให้กับบริษัทในสายธุรกิจ e-commerce เป็นเวลา 2 ปี มีประสบการณ์ในการออกแบบระบบ ประสานงานรวมกับผู้คนจากหลากหลายทีม วางแผนการออกแบบ Product รวมถึงคุม Project ต่างๆ ตลอดจนจัด design thinking workshop ภายในทีมหรือบุคคลที่สนใจ
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Product Growth (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- พฤศจิกายน 2024 (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)