แชร์เรื่องนี้
2FA และ MFA คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อประสบการณ์ของผู้ใช้ดิจิทัลโปรดักต์
โดย Seven Peaks เมื่อ 21 ก.พ. 2025, 14:44:16
2FA (two-factor authentication) และ MFA (multi-factor authentication) คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาในยุคดิจิทัลที่ทุกคนใช้งานแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ และโปรแกรมต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกันเป็นประจำ เพราะทุกวินาทีล้วนมีความเสี่ยงที่จะถูกแฮ็กเกอร์เจาะเข้าถึงบัญชีหรือขโมยรหัสผ่าน Gitnux องค์กรที่วิจัยเกี่ยวกับการตลาดเปิดเผยว่า 81% ของการถูกคุกคามความปลอดภัยในดิจิทัลโปรดักต์ต่างๆ มีสาเหตุมาจากรหัสผ่านที่คาดเดาได้ง่าย สิ่งนี้อาจทำให้คุณรู้สึกตกใจไม่มากก็น้อย
เพื่อให้คุณรู้ว่าทำไม 2FA และ MFA จึงกลายเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อประสบการณ์ของผู้ใช้งานดิติทัลโปรดักต์ อย่างเช่นในวงการ FinTech, E-wallet, หรือที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการเงินและการธนาคารมากกว่าที่คิด เราจะอธิบายให้คุณเข้าใจทั้งหมดผ่านทางบทความนี้

2FA (two-factor authentication) กับ MFA (multi-factor authentication) คืออะไร
2FA (two-factor authentication) คือการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน กับ MFA (multi-factor authentication) เป็นการยืนยันตัวตนแบบหลายขั้นตอน ทั้งสองมีไว้เพื่อปกป้องบัญชีของคุณให้ปลอดภัยเพิ่มขึ้นอีกขั้น ด้วยการตรวจสอบว่าผู้เข้าสู่ระบบนั้นเป็นเจ้าของตัวจริง ผ่านการใส่รหัสผ่านชุดที่ 2 ซึ่งได้จากแหล่งที่ต่างกันไป
จากสถิติที่เปิดเผยโดย Google เมื่อปี 2019 ระบุว่าเพียงผู้ใช้ทำการเพิ่มเบอร์มือถือเพื่อสำรองไว้ในกรณีการกู้คืนบัญชี เพื่อให้ระบบส่งรหัสผ่าน SMS ที่ถือเป็นหนึ่งในวิธีการยืนยันตัวผ่านทาง 2FA ก็สามารถบล็อก automated bot ได้ 100%, การโจมตีแบบฟิชชิ่ง 96% และการโจมตีแบบกำหนดเป้าหมาย 76% แล้ว นี่ถือว่าเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพสูงมาก และยังช่วยป้องกันบัญชีของผู้ใช้จากการถูกคุมคามได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
วิธีการยืนยันตัวตนแบบ two-factor authentication และ multi-factor authentication มีอะไรบ้าง
มาดูไปพร้อมกันว่าวิธีการยืนยันตัวตนแบบ 2FA และ MFA ที่นิยมใช้งานในปัจจุบันมีอะไรบ้าง ซึ่งเราจะใช้หลักเกณฑ์การแบ่งตามเงื่อนไขดังนี้
- สิ่งที่เจ้าของบัญชีเท่านั้นที่รู้ เช่น รหัส PIN หรือ คำถามลับเฉพาะ
- สิ่งที่เจ้าของบัญชีเท่านั้นที่มี เช่น ลายนิ้วมือ, ใบหน้า, ม่านตา, เสียง, การลากจุดบนหน้าจอ
- สิ่งที่เจ้าของบัญชีเท่านั้นที่เข้าถึงได้ เช่น รหัส OTP ที่ได้รับจากทาง SMS และแอปฯ Authenticator (Google Authenticator, Microsoft Authenticator), รหัสผ่านที่ได้จากอีเมล มือถือ, และ Security Key, โทเค็น ฯลฯ เป็นต้น
สำหรับการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน (2FA) กับ การยืนยันตัวหลายขั้นตอน (MFA) มีข้อดีหลักๆ ดังนี้
- ไม่จำเป็นต้องพกพาหรือดาวน์โหลดตัวสร้างโทเค็น เนื่องจากผู้ใช้ส่วนใหญ่นิยมใช้มือถือในการเข้าสู่เว็บไซต์และรับรหัส 2FA สำหรับการใช้งานในแต่ละครั้ง
- ตัวสร้างรหัสผ่านมีประสิทธิภาพมากกว่ารหัสผ่านแบบเดิมที่ผู้ใช้คิดด้วยตัวเอง
- การใส่รหัสผ่านที่มีความปลอดภัยสูงจะป้องกันไม่ให้อาชญากรไซเบอร์เข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนได้
- ผู้ใช้ทุกระดับสามารถใช้และจัดการกับ 2FA หรือ MFA ได้ง่าย

3 ประโยชน์ของ 2FA และ MFA ที่ส่งผลดีต่อทั้งธุรกิจและผู้ใช้
ต่อจากนี้คุณจะได้รู้ถึงประโยชน์ 3 ข้อที่จะได้รับจากการประยุกต์ใช้ 2FA กับ MFA กับเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน รวมถึงโปรแกรมต่างๆ โดยมีสิ่งที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
ลดความเสี่ยงในการถูกลักลอบเข้าใช้งานบัญชี
การเข้าถึงใดๆ ที่ไม่ได้กระทำโดยเจ้าของบัญชีจะมี 2FA และ MFA คอยเป็นประตูที่เข้ามาป้องกันอีกขั้น ยกตัวอย่างเช่น จะมีการส่งข้อความแจ้งเตือนว่ามีคนกำลังพยายามเข้าถึงบัญชีของคุณอยู่ ผ่านทาง SMS หรืออีเมล พร้อมกับการบังคับให้ใส่รหัสผ่านหรือยืนยันตนแบบ 2 ขั้นตอน เพื่อพิสูจน์ว่าคนที่กำลังเข้าสู่บัญชีนั้นเป็นเจ้าของตัวจริง
ข้อมูลน่าสนใจที่เปิดเผยโดย okta บริษัทจัดการด้านการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลสัญชาติอเมริกา ระบุว่า ในปี 2023 มีพนักงานเพียง 4% เท่านั้นที่ใช้วิธีการยืนยันตัวตนหลายขั้นตอน (MFA) เพื่อป้องกันการฟิชชิ่ง (การพยายามขโมยเงินหรือข้อมูลส่วนตัว) ซึ่งยากต่อการป้องกันและเกิดขึ้นได้กับผู้ใช้ทุกคน
ผู้ใช้ไว้วางใจในการใช้งานดิจิทัลโปรดักต์เพิ่มมากขึ้น
การใช้ 2FA และ MFA กับแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ หรือโปรแกรมใดๆ ส่งผลเชิงบวกอย่างมากต่อความรู้สึกของผู้ใช้งาน สองสิ่งนี้ช่วยให้พวกเขารู้สึกมั่นใจว่าจะไม่มีใครสามารถเข้าถึงบัญชีโดยไม่ได้รับอนุญาต และทำให้พวกเขาอยากที่จะใช้งานดิจิทัลโปรดักต์นี้ต่อไปโดยรายงาน “การสำรวจสถานการณ์การถูกหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ ปี 2566” ของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า “ร้อยละ 89 ของกลุ่มประชากรตัวอย่าง มีการป้องกันตัวเพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือตามลำดับ” ซึ่งพวกเขาได้ทำการเตรียมตัวเพื่อปกป้องตัวเองจากการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงดังนี้
- ตั้งรหัสล็อกหน้าจออุปกรณ์ แอปพลิเคชัน ให้แตกต่างกัน
- ลบหรือบล็อกบุคคลต้องสงสัย หรือแอ็กเคานต์ปลอม
- ใช้แอปพลิเคชัน ซอฟต์แวร์ รวมถึงแอปฯ authenticator เพื่อตรวจสอบหรือป้องกันการลักลอบการเข้าถึงบัญชีและข้อมูลส่วนตัว
- ทำการรีพอร์ตให้ผู้ให้บริการทราบ และมีการอัปเดตข้อมูลกับบุคคลอื่นผ่านช่องทางต่างๆ
ป้องกันไม่ให้ธุรกิจได้รับความเสียหาย
2FA และ MFA ไม่เพียงช่วยให้ผู้ใช้ไว้วางใจเมื่อพวกเขาได้ใช้งานดิจิทัลโปรดักต์มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการป้องกันไม่ให้ธุรกิจได้รับความเสียหายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาจากการถูกแฮ็กหรือมีคนแอบเข้าใช้งานบัญชีของผู้ใช้ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงที่ข้อมูลของลูกค้าจะรั่วไหล หรือการรับผิดชอบกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการลักลอบทำธุรกรรมใดๆ ก็ตาม
Adroit Market Research เผยว่า ภายในปี 2025 ระบบยืนยันตัวตนแบบหลายขั้นตอน (MFA) จะมีส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกสูงถึง 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบรรดาภาคธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้ที่เป็นลูกค้ามากขึ้น เพราะหากข้อมูลของลูกค้ารั่วไหลธุรกิจก็มีแนวโน้มที่จะต้องแบกรับค่าชดเชย และเสื่อมเสียชื่อเสียงที่สั่งสมมาเป็นเวลานานไปในเวลาอันรวดเร็ว
ตัวอย่างที่น่าสนใจของการใช้ 2FA และ MFA กับดิจิทัลโปรดักต์
เราจะพาคุณไปดูตัวอย่างการนำ 2FA กับ MFA ไปประยุกต์ใช้เพื่อมอบทั้งความปลอดภัยและเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้เว็บไซต์ แอปฯ และซอฟต์แวร์ต่างๆ ไปพร้อมกัน
-
Facebook
โซเชียลมีเดียชื่อดังขวัญใจคนไทยอย่าง Facebook ได้นำเสนอทางเลือกให้ผู้ใช้เปิดใช้งานการยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอน (2FA) โดยการเชื่อมต่อบัญชีของตนเข้ากับเบอร์มือถือ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับรหัสยืนยันการเข้าสู่ระบบผ่านทาง SMS หรือใช้แอปฯ authenticator เพื่อรับรหัสสำหรับการเข้าสู่ระบบได้
-
GitHub
GitHub หนึ่งในตัวช่วยสำคัญของเหล่า developer ได้มอบความมั่นใจให้กับผู้ใช้ ด้วยการเปิดใช้งานการยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอน (2FA) โดยใช้แอปฯ authenticator, SMS หรือ Security Key เพื่อช่วยให้แน่ใจว่าจะมีแต่ผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงและแก้ไขโค้ดที่ถูกเก็บไว้ได้
-
Microsoft
ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทชั้นนำด้านซอฟต์แวร์ของโลก Microsoft จึงเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้อีกขั้น ด้วยการให้ตัวเลือกแก่ผู้ใช้ในการเปิดใช้การยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอน (2FA) โดยใช้แอป Microsoft Authenticator หรือผ่านทางแอปฯ authenticator อื่นๆ, รหัสที่ได้จาก SMS หรืออีเมล ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มความปลอดภัยสำหรับบัญชีและบริการของ Microsoft เช่น Outlook และ OneDrive
ความปลอดภัยเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ดิจิทัลโปรดักต์เติบโต
2FA และ MFA คือมาตรการความปลอดภัยที่มีขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับความสบายใจและลดความเสี่ยงจากการถูกเข้าถึงบัญชีหรือทำธุรกรรมโดยบุคคลอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาต ในฝั่งของธุรกิจเองก็ยังได้ประโยชน์ในเรื่องของภาพลักษณ์ที่ดูใส่ใจถึงผู้ใช้อย่างแท้จริง ทั้งเรื่องข้อมูลส่วนตัวอันมีค่าและประสบการณ์ของผู้ใช้ เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันให้แอปฯ เว็บไซต์ หรือซอฟต์แวร์สามารถพัฒนาไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและคว้าโอกาสในการเข้าถึงผู้ใช้กลุ่มใหม่ได้มากขึ้น
Seven Peaks ในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ และซอฟต์แวรหลากหลายประเภท เราพร้อมที่จะช่วยให้สร้างสรรค์ digital product ต่างๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ทางธุรกิจของคุณได้วางเอาไว้ ปรึกษาเราตอนนี้
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Banking (5)
- Cloud (5)
- Cross-Platform Application (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 2FA (1)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MFA (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Product Growth (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- กุมภาพันธ์ 2025 (3)
- พฤศจิกายน 2024 (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)