บทความและข่าวสาร | Seven Peaks Insights

การตรวจสอบ UX/UI ทำไมถึงต้องทำและทำอย่างไร?

ก่อนที่เราจะลงลึกในคำแนะนำของเราเกี่ยวกับวิธีดำเนินการตรวจสอบ UX (UX Audit) เรามาทำความเข้าใจหลักการสำคัญของการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้จากนักออกแบบที่มีประสบการณ์ของเราที่ Seven Peaks Software กันก่อน

388ed861-69c2-4b93-8c31-1cef679b3831

รู้จักกับ Andy ชายผู้เป็น Head of Design ของเรา

Andy เป็นนักคิดที่กระตือรือร้น มีจินตนาการ พร้อมขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายและมุ่งมั่นที่จะทำทุกอย่างให้ประสบความสำเร็จ โดยความเชี่ยวชาญของเขาครอบคลุมบริการออกแบบที่หลากหลาย ตั้งแต่กระบวนการด้าน UX แบบครบวงจรไปจนถึงการส่งมอบโปรเจกต์ที่มีประสิทธิภาพ

ตลอดเส้นทางอาชีพของเขา Andy ได้ร่วมงานกับแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น BP, Telenor, Dtac, IHG, Sky, DHL, Accenture, Disney, BCG, HSBC, SCB, RHB Malaysia และ UOB Singapore การได้ร่วมงานกับลูกค้าที่มีชื่อเสียงได้เพิ่มพูนประสบการณ์ของเขาในความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบที่หลากหลาย

เมื่อไม่นานมานี้ Andy ได้ทำงานร่วมกับลูกค้าในโปรเจกต์ digital transformation โดยเขาเป็นผู้นำในการจัด discovery workshop และชี้แนะแนวทางการวิจัยและกระบวนการที่ขับเคลื่อนด้วยการออกแบบ แนวทางนี้ช่วยกำหนดและส่งมอบโปรดักต์สำหรับช่วงเริ่มต้น (MVP) สู่ตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Andy ได้มีส่วนช่วยทำให้หลายๆ เคสที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเวิร์กโฟลว์ประสบความสำเร็จได้ด้วยความใส่ใจในทุกรายละเอียดของเขา ซึ่งส่งผลให้สามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุมและทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นกับทีมพัฒนาเพื่อสร้างโซลูชันดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ

ด้วยความเชี่ยวชาญของทีมออกแบบนานาชาติที่เต็มเปี่ยมด้วยความเชี่ยวชาญของเรา เป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้เรามุ่งมั่นที่จะทำให้การใช้งานเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับโปรดักต์ของคุณ

กระบวนการออกแบบที่ครอบคลุมของเรานั้นครบถ้วนทั้งในเรื่องวงจรต่อเนื่องของการพัฒนาโปรดักต์ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ เช่น การวิจัยและการค้นหาวิธีออกแบบ, สถาปัตยกรรมข้อมูล, การทำ wireframe และการสร้างต้นแบบ, การทดสอบผู้ใช้และการตรวจสอบความถูกต้อง, การออกแบบ UI ขั้นสุดท้ายและการส่งมอบงาน รวมถึงการสร้างแบรนด์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

บทนำ

การออกแบบ UX มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสร้างสรรค์โปรดักต์ดิจิทัลที่มีความหมายและประสบความสำเร็จ

ในขณะที่ความคาดหวังของลูกค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการแข่งขันในตลาดที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ บริษัทต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับการยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้จากข้อเสนอของตนมากยิ่งขึ้น

ตามที่ Interaction Design Foundation ได้ให้ความหมายของการออกแบบ UX ว่าเป็นกระบวนการที่ทีมออกแบบสร้างสรรค์โปรดักต์ที่ส่งมอบประสบการณ์ที่มีความหมายและเกี่ยวข้องกับผู้ใช้

โดยพื้นฐานแล้ว เป้าหมายของนักออกแบบ UX/UI คือการกระตุ้นให้เกิดการผสมผสานเชิงบวกของอารมณ์และการรับรู้ระหว่างการโต้ตอบของผู้ใช้กับโปรดักต์, เว็บไซต์, หรือซอฟต์แวร์ที่ออกแบบ ด้วยการสร้างการโต้ตอบที่น่าพอใจและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมและอยากกลับมาใช้ซ้ำอีกเรื่อยๆ

Tเพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถส่งมอบประสบการณ์ผู้ใช้ที่มีคุณภาพสูงสุด นักออกแบบจะใช้การตรวจสอบ UX ซึ่งจะประเมินความเป็นมิตรต่อผู้ใช้ของโปรดักต์ดิจิทัลอย่างรอบด้าน

โดยการตรวจสอบประสบการณ์ผู้ใช้ (UX Audit) เป็นกระบวนการที่ช่วยระบุปัญหา, อุปสรรค, หรือความซับซ้อนใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับโปรดักต์ดิจิทัล จากนั้นจึงนำสิ่งที่ค้นพบจากการตรวจสอบมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์หลักสำหรับโปรดักต์นั้นๆ

การตรวจสอบ UX/UI มีจุดประสงค์ในการเปรียบเทียบโปรดักต์, ระบุปัญหาที่มีในปัจจุบัน, และเน้นส่วนที่เป็นจุดอ่อน ซึ่งเป็นการปูรากฐานสำหรับการพัฒนาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

การดำเนินการตรวจสอบจะรวบรวมข้อมูลที่มีคุณค่า พร้อมด้วยการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาที่มีอยู่และเสนอแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้สำหรับโปรดักต์ จึงนับได้ว่าการตรวจสอบ UX/UI เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดในระบบนิเวศของ UX

 

การตรวจสอบ UX/UI คืออะไร?

การตรวจสอบ UX/UI มีรากฐานมาจากแนวคิดของการประเมินแบบ heuristic (วิทยาการศึกษาสำนึก) หนึ่งในแนวทางที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางซึ่งพัฒนาโดย Rolf Molich และ Jakob Nielsen ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักออกแบบทั่วโลก

Nielsen Norman Group ได้กำหนด 10 Usability Heuristics for User Interface Design ซึ่งมักจะเรียกว่า 10 หลักการทั่วไปสำหรับการออกแบบงาน interactive ของ Jakob Nielsen

ในระหว่างกระบวนการตรวจสอบ UX ผู้ตรวจสอบมักจะใช้การทดสอบความสามารถในการใช้งานแบบ heuristic 10 ข้อเหล่านี้เป็นกรอบพื้นฐานสำหรับการประเมินและตรวจสอบโปรดักต์ดิจิทัล

 
 
 

หลักการทั่วไป 10 ข้อสำหรับการออกแบบงาน interactive ของ Jakob Nielsen คือ:

1. การมองเห็นสถานะของระบบ
2. จับคู่ระหว่างระบบและโลกแห่งความเป็นจริง
3. การควบคุมและอิสระของผู้ใช้
4. ความสม่ำเสมอและอิสระ
5. การป้องกันข้อผิดพลาด
6. การจดจำได้มากกว่าการพยายามนึกถึง
7. ความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการใช้งาน
8. การออกแบบที่สวยงามและเรียบง่าย
9. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจดจำ ตรวจสอบ และแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้
10. ความช่วยเหลือและเอกสารคู่มือ

 

ตลอดกระบวนการตรวจสอบ UI/UX ผู้ตรวจสอบจะใช้วิธีการ เครื่องมือ และเมตริกที่หลากหลายเพื่อประเมินโปรดักต์ดิจิทัลอย่างละเอียด

ผู้ตรวจสอบอาจรวมชุดข้อมูลต่างๆ รวมถึงการทบทวนวัตถุประสงค์ของธุรกิจและผู้ใช้, ข้อมูลการดูแลลูกค้า, ข้อมูลการขาย, การวัด conversion, ข้อมูลการเข้าใช้งานและการมีส่วนร่วม, รวมถึงการประเมินความสามารถในการใช้งานแบบ heuristic, mental modelling, wireframing, และการสร้างต้นแบบเพื่อวัดประสิทธิภาพ พฤติกรรม และการทำงานโดยรวมของโปรดักต์นั้นๆ

 

บริการออกแบบ UX/UI ที่ Seven Peaks Software

นอกจากนี้ Seven Peaks Software ยังมุ่งเน้นไปที่ 6 หัวข้อที่สามารถนำไปใช้ได้ โดยจะขึ้นอยู่กับโปรดักต์และความต้องการของลูกค้า ทั้ง 6 ประเภท ได้แก่

 
 

การตรวจสอบการวิเคราะห์

ในการตรวจสอบวิเคราะห์โปรดักต์ของคุณ ทีมของเราจะวิเคราะห์ชุดข้อมูลและตัวบ่งชี้ต่างๆ ซึ่งครอบคลุมปริมาณผู้ใช้, ตำแหน่งที่ตั้ง, ข้อมูลประชากร, รวมถึงการทำงานของเบราว์เซอร์ อุปกรณ์ และเพจ โดยการตรวจสอบการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมนี้ช่วยให้เราสามารถเปิดเผยรูปแบบพฤติกรรม, ระบุสิ่งที่ต้องปรับปรุง, ระบุปัญหาด้านประสิทธิภาพ, และรับข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเกี่ยวกับโปรดักต์มากยิ่งขึ้น

ในการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตรวจสอบ UX เราใช้เครื่องมือหลายอย่างเพื่อติดตามประสิทธิภาพของโปรดักต์ ได้แก่ Google Analytics, Hot Jar, Metrica และ Full Story เป็นต้น

ก่อนเริ่มกระบวนการตรวจสอบการวิเคราะห์ เราจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบเมตริกปัจจุบันเพื่อวัดสถานะของแต่ละองค์ประกอบภายในโปรดักต์ นอกจากนี้ เรายังพิจารณาทั้งปัจจัยภายนอกและภายในที่อาจส่งผลต่อการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ การเลือกช่วงของข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์และทำความเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องและความสัมพันธ์กับเป้าหมายของโปรดักต์ ยังถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างความมั่นใจในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องและตรงประเด็น
 

 

การนำทางและสถาปัตยกรรมข้อมูล

สถาปัตยกรรมข้อมูลเกี่ยวข้องกับการกำหนดวิธีการที่เป็นระบบในการจัดเรียงและจัดโครงสร้างคอนเทนต์, อำนวยความสะดวกในการนำทางผู้ใช้อย่างราบรื่น, และช่วยให้ดึงข้อมูลภายในโปรดักต์ออกมาได้อย่างง่ายดาย

โดยเราจำเป็นต้องตรวจสอบสถาปัตยกรรมข้อมูลและการนำทางเพื่อดูว่าสถาปัตยกรรมปัจจุบันของโปรดักต์นั้นๆ ทำงานและส่งผลอย่างไรต่อผู้ใช้

ตลอดกระบวนการเหล่านี้ จะมีการตรวจสอบชุดข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งรวมถึง AI ของแผนผังเว็บไซต์ที่มีอยู่, สถาปัตยกรรมข้อมูล, การนำทางโดยรวม, ปุ่มและการโต้ตอบ, และแถบค้นหาส่วนกลาง โดยชุดข้อมูลเหล่านี้จะเชื่อมโยงอย่างซับซ้อนกับสถาปัตยกรรมและการนำทางของโปรดักต์

 
 

เลย์เอาต์: การจัดเรียงองค์ประกอบบนหน้าจอ

เลย์เอาต์ภายในโปรดักต์ดิจิทัลนั้นจะเกี่ยวข้องกับการวางตำแหน่งและการจัดระเบียบองค์ประกอบบนหน้าจอ โดยเลย์เอาต์ที่ถูกออกแบบและสร้างมาอย่างดีช่วยให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้จะใช้งานทุกอย่างได้อย่างง่ายดายรวมถึงมีการนำทางที่ชัดเจนและราบรื่นในทุกๆ ขั้นตอน

ในระหว่างกระบวนการตรวจสอบเลย์เอาต์ Seven Peaks จะให้ความสำคัญกับประเด็นดังต่อไปนี้: การออกแบบเลย์เอาต์ในอุปกรณ์ต่างๆ, ลำดับชั้นของคอนเทนต์, ภาพประกอบ, การกำหนดขนาดคอนเทนต์, การจัดตำแหน่ง, การเปรียบเทียบให้เห็นภาพ, ตัวเลือกของเมนู, ความสอดคล้องของเลย์เอาต์, และองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเลย์เอาต์ของโปรดักต์

 
 

การเข้าถึง: สร้างโปรดักต์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

การสร้างโปรดักต์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ โดยที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องมีทักษะหรือความสามารถใดๆ เลย นั้นกลายเป็นเรื่องที่โดดเด่นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกับการพิจารณาและค้นหาว่าบรรดาผู้ทุพพลภาพสามารถโต้ตอบกับโปรดักต์หรือบริการได้อย่างไร

เราเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าการออกแบบที่สามารถเข้าถึงได้ไม่เพียงแต่เพิ่มความพึงพอใจและประสบการณ์ของผู้ใช้ แต่ยังทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพิ่มการโต้ตอบกับแบรนด์ และช่วยขยายตลาดให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

การรวมการเข้าถึงเข้ากับการตรวจสอบนั้นช่วยเน้นจุดที่ผู้ใช้อาจประสบปัญหาขณะใช้โปรดักต์หรือบริการให้เห็นชัดขึ้น ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ที่ใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการแสดงข้อความกำกับและชื่อไอคอนที่มีคำอธิบาย

นอกจากนี้ บุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นจะได้พบกับการนำทางที่ตรงไปตรงมามากขึ้นด้วยฟอนต์ที่มีขนาดเหมาะสมและสีที่ตัดกันอย่างชัดเจน

 
 

การวิเคราะห์คู่แข่งในตลาด

การตรวจสอบการวิเคราะห์คู่แข่งเป็นสิ่งที่จำเป็นเมื่อเจ้าของโปรดักต์พยายามที่จะทำความเข้าใจว่าโปรดักต์ของตนมีจุดแตกต่างกับของคู่แข่งอย่างไร การวิเคราะห์นี้จะช่วยจุดประกายความคิดใหม่ๆ ให้เจ้าของโปรดักต์สามารถช่วงชิงความได้เปรียบในการแข่งขันได้มากขึ้นกว่าเดิม

เราสร้างเกณฑ์การประเมินตามสิ่งที่ลูกค้านำเสนอ และใช้เป็นพื้นฐานในการประเมินและเปรียบเทียบโปรดักต์กับของคู่แข่ง โดยปกติแล้ว เราจะเลือกคู่แข่งในอุตสาหกรรมหลักสามอันดับแรกเพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงสำหรับการตรวจสอบ

 
 

ความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือ

ความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือของโปรดักต์คือสิ่งที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะมองหาเมื่อพวกเขาเลือกใช้โปรดักต์ดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องใช้จ่ายเงินหรือให้ข้อมูลส่วนตัว

ผู้ใช้จะระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อโปรดักต์ดูไม่ค่อยน่าไว้วางใจหรือขาดองค์ประกอบที่เชื่อถือได้ เช่น ภาพที่เหมาะสมและเนื้อหาที่สร้างขึ้นมาอย่างดี ซึ่งการใช้กลยุทธ์การออกแบบที่ตรงเป้าหมายเพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัยและความสะดวกแก่ผู้ใช้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากๆ ในการดึงดูดลูกค้าใหม่และรักษาผู้ใช้ให้อยู่ใช้งานโปรดักต์อย่างต่อเนื่องในระยะยาว

หัวข้อการตรวจสอบนี้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกแก่ลูกค้าเกี่ยวกับวิธีที่ผู้ใช้รับรู้และใช้บริการจากประสบการณ์ที่พวกเขาได้มองเห็น ได้ทำความเข้าใจ และได้สัมผัสถึงประสิทธิภาพของโปรดักต์อย่างเต็มที่

 
 

ใครบ้างที่ควรจะทำการตรวจสอบ UX?

โดยทั่วไปแล้ว การตรวจสอบ UX/UI จะเกิดขึ้นกับโปรดักต์ที่ได้มีการใช้งานมาแล้วสักระยะหนึ่ง โดยการนำข้อมูลที่มีอยู่มาประเมินเพื่อค้นหาสิ่งที่ต้องการจะรู้

อย่างไรก็ตาม เราขอแนะนำให้เริ่มการตรวจสอบ UX/UI ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาโปรดักต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบริษัทตรวจพบสัญญาณหรือข้อบ่งชี้ว่าโปรดักต์ของตนไม่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้ใช้ หรือทำให้ผู้ใช้รู้สึกสับสนและหงุดหงิดเมื่อใช้งาน

นอกจากนี้ โปรดักต์อาจจะล้มเหลวเมื่อมองจากมุมของการทำธุรกิจ เช่น ไม่สามารถเติบโตได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ หรือทำรายได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้

การวิจัยพบว่าบริษัทที่ขาดทีม UX โดยเฉพาะ มักมองข้ามข้อดีของการตรวจสอบ UX เพราะพวกเขาจะมุ่งไปที่การหารายได้และบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่ท้าทายมากกว่า แทนที่จะค้นหาว่าควรทำอย่างไรถึงจะทำให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด

ผู้ที่มีทีม UX ที่ทุ่มเทจะทำการประเมินและอัปเดตโปรดักต์เป็นประจำ เนื่องจากพวกเขาจะติดตามพฤติกรรมของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและค้นหาโอกาสในการปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้แต่ในบริษัทที่มีทีม UX ภายในองค์กร เราก็ยังแนะนำให้จ้างบุคคลภายนอกสำหรับการตรวจสอบ UX เนื่องจากมุมมองของคนนอกองค์กรสามารถช่วยเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกที่สดใหม่ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับทีมภายในที่จะรับรู้ได้จากการมองโปรดักต์ของตัวเองเพียงด้านเดียว

 
 
 

ประโยชน์ที่ได้จากการตรวจสอบ UX

ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า การตรวจสอบ UX/UI ภายในโปรดักต์ดิจิทัลถือเป็นงานสำคัญที่ต้องทำ ซึ่งจะช่วยนำเสนอให้เห็นถึงข้อดีมากมายต่อทั้งตัวโปรดักต์และบริษัทที่ได้สร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ขึ้นมา โดยมีประโยชน์ดังต่อไปนี้

 
 

เพื่อมุ่งสู่ทิศทางที่ถูกต้องและเห็นโปรดักต์ในมุมมองใหม่ๆ

การดึงข้อมูลเชิงลึกที่ค้นพบมาจากการตรวจสอบประสบการณ์ผู้ใช้ทำให้เราสามารถระบุแง่มุมที่เป็นปัญหาและศักยภาพที่ยังไม่ได้ใช้งานอย่างเต็มที่ ซึ่งช่วยทีมพัฒนาโปรดักต์สามารถจัดลำดับความสำคัญและแก้ไขสิ่งต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้นได้

กระบวนการนี้ช่วยให้บริษัทต่างๆ มีความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับข้อมูลประชากรของผู้ใช้และรูปแบบในการโต้ตอบกับโปรดักต์ ด้วยเหตุนี้ การตรวจสอบ UX/UI จึงช่วยบริษัทในการสร้างโซลูชันคุณภาพสูงและขับเคลื่อนโปรดักต์ไปสู่เส้นทางที่ถูกต้องโดยยึดเอาผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง

 
 

เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจโดยรวมของผู้ใช้

การนำเอาคำแนะนำที่ระบุไว้ในรายงานการตรวจสอบ UX/UI จะช่วยให้เจ้าของโปรดักต์เห็นถึงโอกาสในการเติบโตได้มากขึ้น นั่นก็เพราะว่าการปรับปรุงการนำเสนอคุณค่าและการสื่อสารอาจทำให้ผู้ใช้เข้าใจโปรดักต์ที่มีอยู่ได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม

การขจัดความยุ่งยากและความสับสนในระหว่างเส้นทางการซื้อจะช่วยเพิ่ม conversion rate และยิ่งโปรดักต์สามารถใช้งานได้ง่ายเท่าใด ลูกค้าก็จะยิ่งรู้สึกพึงพอใจมากขึ้นเท่านั้น

คุณสนใจบริการออกแบบ UX/UI ของเราใช่ไหม?
ลองติดต่อเข้ามาเพื่อดูว่าเราจะช่วยคุณได้อย่างไร
เริ่มตรวจสอบ UX/UI ของคุณ