แชร์เรื่องนี้
บทวิจารณ์จากนักวิเคราะห์การประกันคุณภาพซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการทดสอบแอป metaverse
โดย Seven Peaks เมื่อ 28 มิ.ย. 2022, 17:24:00
คำแนะนำและเทคนิคสำหรับการทดสอบแอปพลิเคชัน metaverse ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงในตอนนี้
Metaverse เป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงและมีการถกเถียงกันอย่างร้อนแรงมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่คุณรู้ไหมว่าจริงๆ แล้วคำคำนี้ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1992 โดย Neal Stephenson ที่ตอนนั้นฟังแล้วดูมันเหมือนเป็นคำที่ถูกดึงออกมาจากนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ว่าในปัจจุบันคำนี้ได้ขยับเข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ
ในบทความนี้ เราอยากจะแนะนำคุณในเรื่องเคล็ดลับจากมุมมองของนักวิเคราะห์การประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ผู้เชี่ยวชาญ ที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบเพื่อค้นหาแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตของแอปพลิเคชัน metaverse อย่างมีประสิทธิภาพ
วิทยากรของเราในวันนี้คือ QA manager จาก RingZero Games Studio อย่างคุณ Anuj Tripathi ผู้มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 15 ปีในหลายอุตสาหกรรม ได้แก่ ธนาคาร หลักทรัพย์ แอปฯ มือถือ และเกม โดยตอนนี้เขาได้ทำงานให้กับธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นบริษัทธนาคารขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงลำดับต้นๆ ของไทย และเขาได้ตระหนักว่ามีงานด้าน QA domain IT จำนวนมากที่ต้องทำในประเทศไทย และได้ตัดสินใจที่จะลงลึกไปกับเรื่องนี้
Metaverse คืออะไร?
รวมถึงแอปพลิเคชัน metaverse ประเภทต่างๆ
Metaverse จะไม่สามารถเป็นเมต้าเวิร์สได้เลย หากไม่มีทรัพยากรที่ใช้ร่วมกัน เพราะมันต้องทำหน้าที่เชื่อมโยงกับพลังงาน สกุลเงิน และทรัพยากรด้านต่างๆ ดังนั้นการเชื่อมต่อกันแบบไร้จุดบกพร่องจึงจำเป็นอย่างยิ่ง
แอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้
ต้องขอบคุณโลก metaverse อันยอดเยี่ยมที่ทำให้คุณไม่จำเป็นต้องเดินเข้าไปในมหาวิทยาลัยจริงๆ เพื่อรับประกาศนียบัตรแต่อย่างใด แค่ทำการเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ AR และ VR เพียงเท่านี้อาจารย์ก็สามารถสอน นิสิตและนักศึกษาจนจบหลักสูตรปริญญาด้วยการเข้าคลาสเรียนผ่านการใช้แอปพลิเคชัน metaverse ได้แล้ว
แอปพลิเคชันเกม
แอปพลิเคชันเกม Metaverse ก็มีลักษณะเหมือนกับระบบนิเวศของเกมคาสิโน ที่การซื้อไอเทมในเกมทุก อย่างจะอ้างอิงจากข้อมูลประจำตัวของผู้เล่นและสกุลเงินเดียวกัน
แอปพลิเคชันโซเชียลมีเดีย
Anuj คาดหวังว่าในวันใดวันหนึ่งพวกเราจะมีตัวตนเสมือนที่อยู่ร่วมกับตัวตนของคนอื่นๆ ในอนาคต ไม่แน่ว่า Facebook, Instagram และ Twitter อาจถูกรวมเข้าไว้ด้วยกันและกลายเป็นส่วนหนึ่งของ Metaverse นั่นหมายความว่าภาพโฮโลแกรมและเรื่องเพ้อฝันต่างๆ จากหนังไซไฟ คงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป
แอปพลิเคชันเพื่อธุรกิจ
Anuj อ้างว่านี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับบรรดาธุรกิจมากกว่าที่เคย เนื่องจากมันมีวัฏจักรของการสร้างและการใช้จ่ายเงินควบคู่กันอย่างมีนัย
เขากล่าวว่า “ธุรกิจหรือบริษัทพัฒนาแอปฯต่าง ๆ จะต้องเข้ามาทำแอปพลิเคชันทางธุรกิจซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับชีวิตของผู้คน”
ตัวอย่างเช่น สิ่งที่เรามีอยู่ตอนนี้ก็คือ NFT ที่ผู้คนสามารถสร้างสรรค์และอวดสิ่งของเสมือนจริงเหล่านี้ในโลกดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้นมาได้
หรือแม้แต่การส่งมอบบริการต่างๆ ที่เคยได้รับและใช้งานในชีวิตจริง เหล่านี้ทั้งหมดก็สามารถทำได้ผ่านเทคโนโลยี metaverse เช่น การให้คำปรึกษาออนไลน์ การสัมภาษณ์งานเสมือนจริง หรือร้านค้าปลีกที่ให้คุณเดินตรงไปยังหน้าร้านได้แบบเสมือนจริง
ตามคำแนะนำของ Anuj ที่ได้เปิดเผยว่าฮาร์ดแวร์ไม่ได้อยู่ในความคาดหวังของเขา แม้ว่าตอนนี้เราจะมีแว่นตา VR แล้ว แต่เทคโนโลยีก็ไม่ได้ก้าวหน้ามากพอ และราคาก็ยังแพงเกินไปที่จะนำมาใช้อย่างแพร่หลายอีกต่างหาก
อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีที่ใช้ทดสอบเรื่องนี้อยู่ สำหรับวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการเข้าไปค้นหากลุ่มเป้าหมายผ่าน Google ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีการใช้มากที่สุดในปี 2565 โดยปกติแล้วจะมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์และมือถือเป็นหลัก และแน่นอนว่าฮาร์ดแวร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ Oculus Quest นั่นเอง
ฮาร์ดแวร์ที่อยู่ในขอบเขตของผู้ตรวจสอบการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์
ชุดหูฟัง VR ของ Oculus Quest ส่วนใหญ่นิยมใช้สำหรับเล่นเกม ออกกำลังกาย วาดภาพเสมือนจริง และการสื่อสารเสมือนจริง (ใช้ได้เฉพาะบนพีซีและไม่ค่อยให้ความสมจริงเท่ากับคำจำกัดความของ Metaverse)
นอกจากนี้ยังมีระบบนิเวศของแว่นตา AR ที่เน้นการใช้งานภายในองค์กร เช่น Microsoft HoloLens ซึ่งเป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกันสำหรับการทำงานจากระยะไกล
สำหรับคอมพิวเตอร์คุณภาพสูง โทรศัพท์มือถือระดับไฮเอนด์ และสมาร์ทวอทช์ ก็ยังคงเป็นที่กังวลเมื่อต้องพูดถึงกระเป๋าเงินดิจิทัลและการซื้อขายแลกเปลี่ยน NFT
วิธีจัดการฮาร์ดแวร์และฟีเจอร์ต่างๆ ในฐานะนักวิเคราะห์การรับประกันคุณภาพซอฟต์แวร์
Anuj แนะนำว่าวิธีที่ดีที่สุดในทดสอบก็คือการใช้งานด้วยตัวเอง แม้ว่าการซื้ออุปกรณ์เหล่านี้อาจทำให้คุณต้องเสียเงินจำนวนมาก แต่ก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะความรู้ที่ได้จากการทดลองด้วยตัวเองเป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจพฤติกรรมตามธรรมชาติของผู้ใช้แอปและฮาร์ดแวร์ metaverse
อย่างไรก็ตาม การดูวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและเริ่มพิจารณาว่าจะนำฟีเจอร์ใหม่ๆ นี้ไปใช้ในทางปฏิบัติได้อย่างไร ดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า
ตัวอย่างเช่น คุณสามารถศึกษาผ่านคุณฟีเจอร์ใหม่ที่ Apple เพิ่งเริ่มให้ใช้ เช่น ‘Apple Share Play’ ซึ่งเจ้าฟีเจอร์ใหม่นี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถ FaceTime และดูวิดีโอหรือภาพยนตร์ร่วมกับเพื่อนๆ จนทำให้รู้สึกเหมือนกำลังดูอยู่ด้วยกัน
คุณสามารถดูกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เช่น ‘Binance Fan Token’ ซึ่งเป็น utility token ที่ให้ประโยชน์แก่ผู้ถือมันเอาไว้ โดยเฉพาะกับบางคลับที่เชื่อมต่อและใช้งาน Binance Fan Token เป็นหลัก
อีกหนึ่งวิธีที่ได้ผลไม่แพ้กันก็คือการเล่นเกม เนื่องจากเทคโนโลยีและฟีเจอร์ด้านไอทีล่าสุดมักจะเปิดตัวให้ใช้งานเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมเกมหรือภาพยนตร์สำหรับผู้ใหญ่นั่นเอง
เกมที่เข้าใกล้กับคำว่า metaverse ที่สุดในตอนนี้คือ ‘Axie Infinity’ โดยอ้างอิงจากบทความของ Uig Studios ในแง่ของระบบการเงิน เกมนี้ได้ผสมผสานแนวคิดของ NFT เพื่อควบคุมสถานะรวมถึงมูลค่าของเจ้าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า Axies รวมถึงสิ่งของอื่นๆ ที่สร้างขึ้นมา และเกมนี้ก็ยังมีสกุลเงินเป็นของตัวเอง อย่างเช่น spanning, Axie Infinity Shards (AXS) และโทเค็น SLP
สิ่งที่ต้องลองใน Oculus Rift?
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Oculus Rift หรือชุดหูฟัง VR อื่นๆ เป็นฮาร์ดแวร์หลักเพียงอย่างเดียวที่ช่วยให้เราเข้าสู่โลก metaverse ได้ในปัจจุบัน ในฐานะนักวิเคราะห์การรับประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ สิ่งสำคัญก็คือต้องเป็นเจ้าของและลองใช้แอปพลิเคชันดังกล่าวด้วยตัวของคุณเอง
Anuj แนะนำว่าหลังจากได้รับ Oculus Rift มาแล้ว คุณควรลองใช้แอปพลิเคชันออกกำลังกายหรือเกมที่เกี่ยวข้องกับ cryptocurrency เสียก่อนเพื่อเป็นการปรับตัวให้คุ้นชิน
การทดสอบ UX/UI สำหรับ metaverse
ระบบนิเวศ metaverse กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่ผู้ที่ไม่ได้มีความรู้ด้านเทคนิคหรือที่เรียกว่า tech savvy โดยระบบนิเวศจะถูกพัฒนาให้เทียบเท่ากับระบบนิเวศของสมาร์ทโฟน ซึ่งคนเรามีความคุ้นเคยกับการใช้งานและฟีเจอร์ต่างๆ จนในท้ายที่สุดก็ไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากสิ่งเหล่านี้
ทีมประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพควรประเมินจากฟีเจอร์ที่ส่งผลต่อการใช้งานของมนุษย์ เช่น ความไวในการสัมผัส การจดจำเสียง และการแสดงท่าทาง ตัวอย่างเช่น นักพัฒนาควรแก้ไขอาการเมารถและปวดศีรษะที่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกไม่ดีระหว่างที่พวกเขากำลังใช้งานแอปพลิเคชันดังกล่าว
การทดสอบประสบการณ์ผู้ใช้
ในฐานะนักวิเคราะห์การรับประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ คุณต้องแน่ใจว่าแอปพลิเคชันนั้นสามารถทำความเข้าใจและใช้งานได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ของผู้ใช้จะขึ้นอยู่กับประเภทของแอปพลิเคชันที่พวกเขาใช้งานอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชันเกมควรสนุก ท้าทาย ทำให้หวาดกลัว ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ แอปฯ ที่เกี่ยวข้องกับ NFT ก็ควรมีรูปแบบการใช้งานที่ตรงไปตรงมา รวมถึงมอบคำแนะนำในแอปที่เข้าใจง่ายและเป็นประโยชน์
FTUE ที่แปลว่า ‘ประสบการณ์ครั้งแรกของผู้ใช้’ จะต้องได้รับการออกแบบไว้เป็นอย่างดี และควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าแอปฯ มีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับผู้ใช้ก่อนที่จะให้พวกเขาดำเนินการใดๆ ต่อไป นอกจากนี้บุคคลที่สามารถใช้งานแอปฯ ทุกคนก็ควรมีสิทธิ์เข้าถึงการทดสอบการช่วยเหลือที่หลากหลาย
การทดสอบ UI หรืออินเทอร์เฟซผู้ใช้
อินเทอร์เฟซผู้ใช้ควรมีความใช้งานง่าย ยกตัวอย่างเช่น การผงกหัวหรือการเคลื่อนไหวของมือตามธรรมชาติที่แอปฯ กำหนดให้ผู้ใช้ทำควรที่จะเรียบง่ายและคล้ายกับการเคลื่อนไหวตามปกติของเรานั่นเอง
ประเภทของเคส
การใช้ประเภทของเคสอาจช่วยคุณได้เช่นกัน นั่นก็เพราะว่าฮาร์ดแวร์เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องใส่ใจมากๆ โดยแอปพลิเคชันควรที่จะรองรับการใช้งานฮาร์ดแวร์ได้ทุกประเภท ดังนั้นต้องทำให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ยอดนิยมทั้ง 5 อันดับแรกนั้นมีอะไรบ้าง นอกจากนี้ Anuj ยังแนะนำว่าควรที่จะทำการทดสอบฮาร์ดแวร์ด้วยคำถามต่างๆ เช่น แอปพลิเคชันจะเปิดตัวเมื่อไร หรือใครจะเป็นผู้ใช้งานบ้าง
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ‘ประเภทของเคส’ ในบทความนี้
สูตรโกงสำหรับการทดสอบระบบ metaverse
เนื่องจากฟีเจอร์ที่มีเรื่องของเวลามาเกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะอ้างอิงการใช้งานแบบเรียลไทม์ สูตรโกงเพื่อแก้ไขการประทับเวลาในฐานข้อมูลจึงมีความสำคัญมาก โดย Anuj ได้ยกตัวอย่างของการฟักไข่ใน Pokemon-Go หรือการเจริญเติบโตของพืชใน Hay-day นักวิเคราะห์การประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ควรมีสูตรโกงสำหรับสิ่งนี้เพื่อช่วยให้การทดสอบสามารถทำได้เร็วขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือต้องคำนึงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งก่อน ระหว่าง และหลังกระบวนการ ซึ่งในกรณีนี้ก็คือไข่ที่มีการฟัก และการค้นหาแมลงอย่างระมัดระวังที่สุด
การทดสอบข้อมูล
โลกเสมือนจริงจะมีกลุ่มผู้ใช้งานทุกประเภท ไม่ว่าจะรวยหรือจน เป็นผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก หรือแม้แต่สัตว์ ซึ่งนักวิเคราะห์การรับประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ที่ดีจะต้องสามารถทดสอบบทบาทที่หลากหลายเหล่านี้ในอุปกรณ์เป้าหมายที่มีโปรไฟล์ต่างกันได้
Anuj ได้แนะนำว่า “ให้แน่ใจว่าทุกอย่างดีสำหรับทุกบทบาท”
ความปลอดภัยทางไซเบอร์
Metaverse มีการเชื่อมโยงกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์และแหล่งที่มาต่างๆ ซึ่งหมายความว่าอาจจะมีโอกาสเกิดช่องโหว่มากขึ้น ในขั้นต้นนั้น การหานักพัฒนาที่สามารถรับประกันความปลอดภัยของเว็บไซต์ ซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก
การทดสอบ API
ในฐานะนักวิเคราะห์การประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ การดำเนินการนี้อาจใช้เวลามากที่สุดเนื่องจากความผันผวนที่เกิดจากระบบที่เชื่อมต่อระหว่างผู้พัฒนาและอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งระบบการทำงานร่วมกันของ metaverse ได้ทำให้การทดสอบ API อัตโนมัติกลายเป็นสิ่งสำคัญมาก
ข้อกำหนดใหม่สำหรับ API กำลังจะออกสู่ตลาดเร็วขึ้นในขณะที่ข้อกำหนดที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นมีความล้าสมัย ซึ่งเราแนะนำให้ใช้เครื่องมือทดสอบ API ที่ได้แก่ Katalon, REST Assured, Apigee, JMeter และ Postman
การมาถึงของบรรดา NFT
ตอนนี้หลายๆ แบรนด์กำลังรวบรวมเอา NFT เข้าไว้ด้วยกัน ตัวอย่างเช่น Coca-Cola ได้สร้างกล่องของขวัญ NFT ที่มีการ์ดเสียง NFT ของโค้กดริป รวมถึงเสื้อผ้าดิจิทัลสำหรับอวาตาร์ใน metaverse และตู้เย็นโคคา-โคลารุ่นพิเศษ
หรือ NBA Top Shots ที่ได้นำเอาคอลเลกชันจริงแปลงไปเป็นคอลเลกชันดิจิทัลที่สามารถเคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้พวกเขายังสร้าง GIF การเล่นบาสเก็ตบอลแบบเคลื่อนไหว เช่น คะแนนในนาทีสุดท้ายหรือช่วงเวลาสำคัญอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น NFT ที่สร้างขึ้นมาก็ยังมีความเป็นของแท้จากบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่มีใครลอกเลียนแบบได้
อะไรคือความแตกต่างระหว่างภาพถ่าย Shutterstock และ NFT
ความแตกต่างระหว่างภาพถ่าย Shutterstock และ NFT นั่นก็คือใน NFT จะมีเจ้าของภาพเพียงคนเดียว ส่วนของเทคโนโลยีจะช่วยให้สามารถรับประกันได้ว่ารูปภาพใดเป็นของแท้และอนุญาตให้ผู้ซื้อเป็นเจ้าของรูปภาพต้นฉบับเพียงคนเดียวเท่านั้น เราสามารถพูดได้ว่าด้วยการเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีบล็อกเชน ทุกสิ่งจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร
ซอฟต์แวร์ที่ใช้การทดสอบโดยใช้มนุษย์เป็นหลัก
Anuj แนะนำว่าการทดสอบการสัมผัสและความรู้สึกพึงพอใจเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุด ยิ่งแอปพลิเคชันสามารถใกล้ชิดกับมนุษย์ได้มากเท่าไรก็ยิ่งประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น
“เมื่อผมบอกว่ามันมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น นั่นหมายถึงต้องมีคนที่เข้ามาทำการทดสอบมันมากขึ้น นี่เป็นเรื่องของความรู้สึกและความเข้าใจในวิธีที่มนุษย์จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเหล่านี้”
อนาคตของ metaverse
Anuj คาดหวังไว้ว่าแนวคิดของ metaverse จะได้รับความนิยมอย่างมากจนในที่สุดผู้คนก็จะไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากมันในอนาคต
“ดังนั้น เมื่อมันได้รับความนิยม พร้อมๆ กับการที่ทุกคนได้ใช้งานอย่างแพร่หลาย นั่นจะเป็นการสร้างมูลค่าให้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล”
นอกจากนี้เขายังระบุด้วยว่าในตอนนี้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ของ Morphosis และ Seven Peaks Software พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้แล้ว
“เมื่อเป็นเช่นนั้น นักพัฒนาจากทั้ง Morphosis และ Seven Peaks จะสามารถสร้างแอปพลิเคชันประเภทนี้ซึ่งพร้อมสำหรับระบบนิเวศนี้ได้แน่นอน”
สรุปทิ้งท้าย
ไม่ช้าก็เร็ว metaverse จะกลายเป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และการทดสอบ metaverse ด้วยหลักปฏิบัติในการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง
เราหวังว่าบทความนี้จะมอบคำแนะนำและเคล็ดลับดีๆ ที่เป็นประโยชน์กับบริการ QA ของคุณ อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการบริการที่ดีและมีคุณภาพ ก็สามารถติดต่อเราได้ทันที
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)