แชร์เรื่องนี้
Native กับ Hybrid App แตกต่างกันอย่างไร
โดย Seven Peaks เมื่อ 16 มี.ค. 2022, 17:19:00
เข้าใจความแตกต่างระหว่างแอปฯ มือถือแบบ native กับ hybrid เพื่อให้คุณตัดสินใจเลือกจากข้อมูลที่มีได้ดีขึ้น
เรารู้ดีว่าการตัดสินใจเลือกระหว่างแอปฯ มือถือแบบ native กับ hybrid นั้นมีความท้าทายอยู่พอสมควร ซึ่งเราจะอธิบายเรื่องนี้ให้คุณได้เข้าใจเอง
- native app ถูกสร้างขึ้นมารองรับระบบปฏิบัติการ (OS) ของมันโดยเฉพาะ
- ส่วน hybrid app นั้นต่างกันตรงที่เป็น web app ซึ่งหมายความว่าจริงๆ แล้วสิ่งนี้คือเว็บไซต์ที่มีฟีเจอร์แบบ interactive ต่างๆ เหมือนกับแอปฯ มือถือ เพื่อให้รู้สึกเหมือนใช้งานแอปฯ มือถืออยู่นั่นเอง
hybrid app นั้นมักจะใช้ต้นทุนในการพัฒนาที่ต่ำกว่า แต่ว่ามักจะมีข้อเสียตรงที่ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำกว่าและมีฟังก์ชันการใช้งานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ native app
native app อาจจะใช้ต้นทุนสูงกว่าในการพัฒนาในช่วงแรกๆ แต่มันออกแบบและพัฒนามาเพื่อรันบน OS นั้นๆ โดยเฉพาะ ซึ่งช่วยให้แอปฯ ประเภทนี้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า รวมถึงมีฟีเจอร์มากกว่า ฟังก์ชันครบครันกว่า และปลอดภัยกว่าอีกด้วย
การที่คุณจะเลือกใช้แอปฯ แบบไหนก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้, งบประมาณของคุณ, และเวลาที่มีในการพัฒนาแอปฯ นั้นให้เสร็จสมบูรณ์
อ่านสิ่งที่น่าสนใจต่อไปนี้เพื่อรับรู้ข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณมั่นใจว่าแอปฯ แบบไหนที่จะเหมาะกับคุณมากที่สุด
ภาพรวมคร่าวๆ ของ native และ hybrid mobile app
ถ้าหากคุณกำลังพิจารณาว่าจะเริ่มโปรเจกต์สำหรับธุรกิจคุณขึ้นมาสักอย่าง สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจในประเด็นต่อไปนี้และที่เกี่ยวกับ native และ hybrid app ให้มากขึ้นก่อนที่จะลงมือทำอะไรลงไปในโปรเจกต์พัฒนาซอฟต์แวร์ของคุณ
จากผลการสำรวจ 79 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคจะลองใช้งานแอปฯ ใดแอปฯ หนึ่งเพียงหนึ่งถึงสองครั้งเท่านั้น และถ้าครั้งแรกไม่ดี จะมีคนเพียง 16 เปอร์เซ็นต์ที่จะกลับมาลองเป็นครั้งที่สอง แสดงว่าผู้ใช้มักจะไม่กลับไปใช้งานแอปฯ นั้นอีกเลย หากว่าเจอประสบการณ์ที่ไม่ดีไปแล้วครั้งหนึ่ง
ในบางกรณี คุณอาจมีโอกาสแค่ครั้งเดียวที่จะพิสูจน์ตัวเอง และแทบไม่มีโอกาสที่สองที่จะแก้ตัว
ในท้ายที่สุดแล้ว การตัดสินใจเลือกพัฒนา native หรือ hybrid app ก็มาจากงบประมาณ, เวลา, และฟีเจอร์ที่คุณต้องการให้มี สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งก็คือการเลือกแอปพลิเคชันที่เหมาะสมกับโปรเจกต์นั้นๆ เพื่อตอบสนองเป้าหมายทางธุรกิจของคุณ
ในบทความนี้ คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างหลักๆ ระหว่าง native กับ hybrid app เพื่อช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่าตัวเลือกไหนที่เหมาะกับคุณมากกว่าในปี 2023 นี้
native application นั้นใช้เทคโนโลยีที่มีให้ใช้งานเฉพาะของแพลตฟอร์มนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น Android, iOS, หรือ Windows ก็ตาม แพลตฟอร์มเหล่านี้รันระบบปฏิบัติการของตัวเองซึ่งเขียนขึ้นด้วยโค้ดจากภาษาที่แตกต่างกัน
- แอปฯ บน Android เขียนด้วย Kotlin หรือ Java
- แอปฯ บน iOS เขียนด้วย Swift หรือ Objective C
นั่นหมายความว่ามันไม่สามารถทำงานบนแพลตฟอร์มอื่นได้ เนื่องจากถูกสร้างขึ้นให้ทำงานบนแพลตฟอร์มของตัวเองโดยเฉพาะ
ประโยชน์หลักๆ ของการพัฒนา native app คือการที่แอปพลิเคชันเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อแพลตฟอร์มเดียว เช่น iOS, Android, หรือ Windows ซึ่งแปลว่ามันสามารถใช้งานฟีเจอร์เฉพาะของแพลตฟอร์มหรืออุปกรณ์นั้นๆ ได้อย่างครบครัน ซึ่งช่วยให้แอปฯ สามารถรันได้อย่างราบรื่น, เกิดข้อผิดพลาดได้น้อยกว่า, และมักนำไปสู่ประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ที่ดีกว่า
เป็นที่รู้กันดีว่า native app นั้นจะมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดีกว่าให้ผู้ใช้ เนื่องจากมันมีฟีเจอร์ที่อลังการและซับซ้อน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักได้รับการยอมรับว่าทำงานได้ราบรื่นและรวดเร็วกว่า ยกตัวอย่าง native app ชื่อดัง ได้แก่ Twitter และ Gmail เป็นต้น
เมื่อพูดถึง hybrid app แล้ว ที่จริงมันก็คือเว็บไซต์ที่ห่อหุ้มด้วย native code ให้ทำงานเหมือนเป็น native app นั่นเอง แต่จริงๆ แล้วขับเคลื่อนด้วยเว็บไซต์ของบริษัท hybrid app นั้นเป็น web app ที่สร้างขึ้นด้วย HTML5 และ JavaScript ห่อหุ้มด้วย native container ที่ทำหน้าที่โหลดคอนเทนต์ส่วนใหญ่ของหน้าเว็บเมื่อผู้ใช้เปิดดูไปเรื่อยๆ ต่างจาก native app ที่ต้องดาวน์โหลดคอนเทนต์ส่วนใหญ่มาตั้งแต่ตอนแรกที่ผู้ใช้ติดตั้งแอปฯ
อย่างไรก็ตาม หากพัฒนา hybrid app ขึ้นมาอย่างเหมาะสม มันก็จะมีรูปร่างหน้าตาเหมือน native app และทำงานได้ดีไม่ต่างกัน ซึ่งอันที่จริงแล้วแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมสูงสุดอย่าง Facebook และ Instagram นั้นก็เป็น hybrid app แต่ก็ควรจำไว้ว่าทั้งสองแอปฯ นี้ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาของมันเอง ไม่ใช่ HTML5 และ JavaScript ที่ใช้กันตามมาตรฐานทั่วไป
“ความผิดพลาดที่ใหญ่หลวงที่สุดที่บริษัทของเราเคยทำคือการลงทุนลงแรงไปกับ HTML5 แทนที่จะเป็น native”
– Mark Zuckerberg กล่าวในงาน TechCrunch Disrupt conference ที่ San Francisco
ข้อดีและข้อเสียของ การพัฒนา Native App
ข้อดี | ข้อเสีย |
---|---|
ประสิทธิภาพในการทำงาน native app นั้นออกแบบมาให้รองรับระบบปฏิบัติการนั้นๆ ซึ่งทำให้มันเร็วกว่า ทำงานได้ราบรื่น และยังเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าในการรันเกมหรือแอปฯ แบบเต็มประสิทธิภาพ |
ต้นทุน ต้นทุนของการสร้างแอปพลิเคชันมือถือที่เป็น native นั้นคงที่ในระหว่างการพัฒนา แต่การให้ความช่วยเหลือและบำรุงรักษา codebase นั้นอาจจะต้องลงทุนเพิ่มเติม |
ประสบการณ์การใช้งาน (UX) การจะเลือก Android หรือ iOS ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ใช้ ข้อดีก็คือ ถ้าเป็นผู้ใช้ที่ใช้เพียงแพลตฟอร์มเดียว ก็จะไม่มีปัญหาในการใช้งานอะไร เพราะแอปฯ จะมี UI ที่สอดคล้องกับมาตรฐานของแพลตฟอร์มนั้นๆ ส่งผลให้แอปฯ เหล่านี้ใช้งานง่ายยิ่งขึ้น |
ใช้เวลานานกว่าในการพัฒนา native app นั้นออกแบบมาให้รองรับระบบปฏิบัติการนั้นๆ โดยเฉพาะ ซึ่งหมายความว่ามันมักจะใช้เวลานานกว่าในการพัฒนา ดังนั้นนักพัฒนาจึงต้องเขียนโค้ดทั้งบน iOS และ Android |
การเข้าถึงของแอปฯ แอปฯ ที่เป็น native app จะสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ เช่น กล้อง, ไมโครโฟน, ปฏิทิน, GPS, เซนเซอร์ลายนิ้วมือ และ เซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวของอุปกรณ์ได้ ทำให้แอปฯ นั้นเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายมาก |
การให้ความช่วยเหลือ การที่แอปฯ มีหลายเวอร์ชันบนอุปกรณ์หลายชนิดทำให้ต้องดูแลทั้งสองเวอร์ชันของแอปฯ แทนที่จะดูแลเพียงแค่เวอร์ชันเดียว |
ความปลอดภัย native app จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจาก app store ที่มันถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้บริษัทของคุณมั่นใจได้ว่าแอปฯ จะมีความปลอดภัยสูง แอปฯ เหล่านี้จะได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มที่จาก app store หรือ marketplace ที่รองรับมัน นอกจากนั้น หากเทียบกันในด้านการเขียนโปรแกรมแล้ว native app ยังมีความปลอดภัยกว่า hybrid app อีกด้วย |
ข้อดีและข้อเสียของ การพัฒนา Hybrid App
ข้อดี | ข้อเสีย |
---|---|
ต้นทุนต่ำกว่า hybrid app ที่รันได้ทั้งบน iOS และ Android นั้นสามารถสร้างขึ้นได้ในเวลาไล่เลี่ยกันกับ native app ที่ทำงานบนแพลตฟอร์มเดียว ซึ่งเวลาในการพัฒนานี้จะส่งผลต่อต้นทุนทั้งหมดที่ใช้ |
ประสบการณ์การใช้งาน (UX) ประสบการณ์การใช้งานของ hybrid app นั้นจะไม่มีทางเทียบเท่ากับ native app ถ้าหากว่าคุณสร้างมันขึ้นมาด้วยแนวทางเก่าๆ จากการใช้งาน web framework อย่าง Cordova |
ปรับขยายได้ตามต้องการ ใช้เพียง codebase เดียว รันได้ทั้งบน Android และ iOS ต่างจาก native app ที่ต้องสร้างแอปฯ แยกในแต่ละแพลตฟอร์ม |
ต้องยุ่งเกี่ยวกับการพัฒนา Native App เมื่อต้องให้นักพัฒนา native app มาแก้ไขปัญหาการใช้งานใน hybrid app อาจส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นได้ |
พร้อมเปิดตัวในตลาดเร็วกว่า การสร้าง hybrid app นั้นใช้เวลาน้อยกว่า เพราะนักพัฒนาไม่ต้องเขียนโค้ดแยกในแต่ละแพลตฟอร์ม นอกจากนั้น QA engineer ของคุณยังใช้เวลาน้อยลงในการตรวจสอบจนแน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ไม่มีบั๊กและได้คุณภาพตามที่ต้องการ |
ข้อจำกัดด้านฟังก์ชันการใช้งาน การพัฒนา hybrid app อาจจะไม่เหมาะกับแอปฯ ที่มีฟึเจอร์หรือฟังก์ชันที่ซับซ้อน เนื่องจากมีไม่กี่ hybrid framework ที่รองรับทุกฟีเจอร์แบบ native ทำให้เป็นข้อจำกัดที่อาจกระทบต่อความเสถียรโดยรวมของแอปฯ มือถือคุณได้ |
การแก้ไขและอัปเดตสามารถทำได้ง่ายกว่า ด้วยความที่ใช้เพียง codebase เดียว ทีมงานของคุณจึงไม่ต้องทำงานแยกในแต่ละแพลตฟอร์มเมื่อต้องการแก้ไข ยกตัวอย่างเช่น แก้ไขการจัดวางองค์ประกอบหลายๆ อย่าง จึงแก้ไขเพียงครั้งเดียว สามารถใช้ได้ทุกแพลตฟอร์มที่ hybrid app นั้นรันอยู่ได้เลย |
|
ประสบการณ์การใช้งาน (UX) เมื่อใช้ Kotlin Multi Platform UI ยูสเซอร์อินเทอร์เฟซทำงานอ้างอิงจากองค์ประกอบของแพลตฟอร์มนั้นๆ ทำให้ประสบการณ์การใช้งานดีขึ้น ส่งผลให้ผู้ใช้หันมาใช้งานแอปฯ มากขึ้นและทำให้แอปฯ เติบโตได้ในระยะยาว |
ตัดสินใจเลือกระหว่าง native กับ hybrid app ตามความต้องการของคุณ
มีหลากหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือก ไม่ว่าจะเป็นการทำ user research, วิเคราะห์ผล, ทักษะของทีมงาน, การวางแผนระยะยาว, ต้นทุนการผลิต ระยะเวลาในการพัฒนา, การปรับใช้งานกับฮาร์ดแวร์และบลูทูธ เป็นต้น อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ที่นี่
เมื่อคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้แล้ว คุณก็น่าจะพอรู้ว่าเทคนิคการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบไหนที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ หากคุณยังไม่แน่ใจ ลองอ่านวิธีเลือกว่าระหว่างการพัฒนา native กับ hybrid app ควรเลือกแบบไหนดี และเมื่อไรที่ควรเลือกใช้
เหตุผลที่เลือกระหว่าง native กับ hybrid app ควรจะขึ้นอยู่กับเป้าหมายของธุรกิจคุณ ซึ่งก่อนที่จะไปพูดเรื่องของการพัฒนาแอปฯ เราแนะนำว่าคุณควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้ก่อน
- คุณกล้าเสี่ยงกับปัญหาประสิทธิภาพการใช้งาน, ขาดแคลน UI ดีๆ, และช่องโหว่ด้านความปลอดภัยหรือไม่
- ฟีเจอร์ที่ต้องการนั้นมีความซับซ้อนมากแค่ไหนถึงจะทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถทำงานได้ปกติ
- ประสบการณ์การใช้งานแอปฯ ของผู้ใช้มีความสำคัญแค่ไหนสำหรับคุณ
- อะไรสำคัญกว่ากันสำหรับคุณ ระหว่าง ระยะเวลาในการพัฒนา กับ ความคุ้มค่าในการลงทุน
เลือก Native App ถ้า
- คุณมีการวางงบประมาณสำหรับการพัฒนาลงไปแล้ว (ต้นทุนโดยรวมในการทำโปรเจกต์) และลังเลที่จะเพิ่มเงินลงทุน
- แอปฯ ของคุณใช้ฟังก์ชันต่างๆ ของอุปกรณ์ในการทำงานอย่างเต็มที่
- คุณอยากได้แอปฯ ที่น่าดึงดูดใจและมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูง
- คุณอยากให้แอปฯ มีฟีเจอร์ดีๆ มากมาย
หรือเลือกHybrid App ถ้า
- คุณอยากทำแอปฯ เวอร์ชันแรกให้เสร็จอย่างรวดเร็วและไม่ต้องลงทุนเยอะ ซึ่ง MVP อาจจะเป็นทางเลือกที่เหมาะที่สุดสำหรับคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Minimum Viable Product can be beneficial ได้ที่นี่
- แอปฯ นี้มีเพียงฟังก์ชันพื้นฐาน ไม่มีการคำนวณหรือดีไซน์ที่ซับซ้อน
- คุณยังคงต้องการทดสอบคอนเซปต์ของคุณกับตลาดอยู่
- แอปพลิเคชันนั้นไม่ได้ต้องการการเข้าถึงข้อมูลฮาร์ดแวร์ อย่างน้อยๆ ก็ในช่วงที่เป็นเวอร์ชันแรก
สรุปทิ้งท้าย
ทั้ง native และ hybrid app ต่างก็มีข้อดีและข้อเสียในตัวมันเอง
การใช้ซอร์สโค้ดเดียว, ใช้เทคโนโลยีเว็บที่รันได้ทุกแพลตฟอร์ม, อัปเดตง่าย, และใช้เงินลงทุนเริ่มแรกต่ำกว่า ทำให้ hybrid app เป็นตัวเลือกที่น่าดึงดูดกว่า
แต่ทว่า ข้อเสียหลักๆ ของ hybrid app ก็คือการเสียเวลาในการแก้ไขและปรับแต่งเพิ่มเติมเมื่อผู้ใช้บ่นเกี่ยวกับองค์ประกอบของ UI หรือมีปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงาน
native app เองก็มีข้อดีตรงที่รองรับ OS ที่มันถูกสร้างขึ้นโดยตรง และสามารถใช้งานฟังก์ชันอย่าง กล้องถ่ายรูป, GPS, ที่อยู่ติดต่อ, และอื่นๆ ได้ง่าย การใช้แนวทางนี้ทำให้คุณได้แอปที่มีความปลอดภัยสูง, ประสิทธิภาพดี, และสามารถเข้าถึง native API ทั้งหมดได้
แม้ว่าการลงทุนในช่วงเริ่มแรกจะสูงกว่าเล็กน้อย แต่มันจะช่วยประหยัดทั้งเงินและเวลาในการมอบประสบการณ์ผู้ใช้ที่ยอดเยี่ยมและทำให้แอปฯ มีประสิทธิภาพการทำงานดีตามมาตรฐาน
ดังนั้น หากถามว่า สรุปแล้วควรเลือกอะไรดีระหว่าง native vs hybrid app แม้ว่าทั้งสองแบบจะมีข้อดีและข้อเสียในตัวเองแต่สุดท้ายแล้วการเลือก native app จะส่งผลดีกว่าต่อผลกำไรของบริษัท
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)