แชร์เรื่องนี้
เซ็นเซอร์ 5 อันดับแรกที่ใช้มากที่สุดใน IoT และคำอธิบายการใช้งาน
โดย Seven Peaks เมื่อ 6 ก.ค. 2021, 13:21:00
ปัจจุบันมีเซ็นเซอร์ IoT หลายประเภทที่นิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ตัวอย่างเช่น 'off-the shelf sensors' ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีราคาไม่แพง ในบทความนี้ เราจะอธิบายให้คุณเข้าใจถึงเซ็นเซอร์ที่ใช้มากที่สุด 5 อันดับแรกใน IoT จากอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้นและคุ้มค่ากับการลงทุนเพื่อช่วยให้ธุรกิจต่างๆ เปลี่ยนมาใช้งาน IoT มากขึ้น
เซ็นเซอร์ IoT คืออะไร
เซ็นเซอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคน คุณอาจไม่เคยสังเกตเห็นด้วยซ้ำว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในทุกที่ที่คุณไป ไม่ว่าจะเป็นในโรงเรียน, ห้างสรรพสินค้า, เมืองอัจฉริยะที่มีระบบ IoT และอาคารต่างๆ ทั่วไป
เซ็นเซอร์เหล่านี้มีหลากหลายรูปแบบ โดยทำหน้าที่วัดพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น ความร้อน ความดัน ระดับน้ำ และการเคลื่อนไหว อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อถึงกันและระบบการจัดการ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงประโยชน์ใช้สอยที่ขาดไม่ได้ในชีวิตสมัยใหม่ อันที่จริงแล้ว เซ็นเซอร์ได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของ Internet of Things หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า IoT นั่นเอง
เซ็นเซอร์ทำงานร่วมกับ IoT อย่างไร
เซ็นเซอร์นั้นทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อม โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ตามประเภทของเซ็นเซอร์ ได้แก่
- เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิที่รวบรวมข้อมูลจากความร้อนหรือความเย็น
- เซ็นเซอร์ความชื้นที่รวบรวมข้อมูลจากอากาศโดยรอบ
- เซ็นเซอร์ก๊าซที่รวบรวมข้อมูลจากก๊าซที่อยู่ในอากาศ
เซ็นเซอร์ส่งข้อมูลไปยังคลาวด์ผ่านโซลูชันคลาวด์ เมื่อรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมแล้ว ข้อมูลจะถูกส่งไปรวมกันไว้ที่คลาวด์ ซึ่งมีวิธีการที่หลากหลายที่เซ็นเซอร์จะสามารถเชื่อมต่อกับคลาวด์ได้ ตั้งแต่ WiFi, Bluetooth, เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่, การเชื่อมโยงผ่านดาวเทียม, low-power wide-area networks (LPWAN) หรือโดยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยตรงผ่านอีเทอร์เน็ต
ซอฟต์แวร์ของระบบจัดการข้อมูลผ่านชุดขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล โดยเริ่มจากข้อมูลดิบที่เซ็นเซอร์รวบรวมไว้ สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการแปลงข้อมูลให้เป็นข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งมักจะรวมถึงการตรวจสอบพารามิเตอร์ เช่น อุณหภูมิ เพื่อให้แน่ใจว่าจะอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้
การแจ้งเตือนผู้ใช้แบบเรียลไทม์ ที่สามารถทำได้โดยการตั้งค่าระบบซอฟต์แวร์ที่ต้องการติดตามผลให้เป็นค่ามาตรฐาน โดยแจ้งเตือนเราหากค่านั้นสูงหรือต่ำกว่าค่ามาตรฐาน อุปกรณ์บางชนิดสามารถส่งสัญญาณได้อัตโนมัติ เช่น เซ็นเซอร์ความชื้นที่สามารถรดน้ำต้นไม้ได้อัตโนมัติในเวลาที่เหมาะสม โดยการตรวจสอบและดำเนินการกับข้อมูลที่ได้รับเกี่ยวกับความชื้นในดิน
ทำความรู้จักกับ 5 เซ็นเซอร์ที่ใช้มากที่สุดใน IoT
เซ็นเซอร์แต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ในบล็อกนี้ เราจะเจาะลึกถึงเซ็นเซอร์ 5 อันดับแรกที่ใช้กันมากที่สุดใน IoT ที่คุณควรรู้ เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจได้ดีขึ้นว่าเซ็นเซอร์เหล่านี้ใช้ทำอะไรบ้าง
ในบริบทของแผนการในอนาคตของ ATT นั้น Facebook ตั้งใจที่จะยุติการติดตามผู้ใช้ที่เลือกไม่ใช้ iOS ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติตามข้อกำหนด การเปลี่ยนแปลงนี้อาจลดการเข้าถึงเหตุการณ์ conversion บนเว็บ และลดความสามารถในการติดตามและปรับแต่งแคมเปญโฆษณาของคุณ
เซ็นเซอร์ที่ใช้มากที่สุดใน IoT - เริ่มต้นด้วยเซ็นเซอร์อุณหภูมิ
เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อวัดปริมาณพลังงานความร้อนที่ผลิตหรือดูดซับโดยระบบ มีความสามารถในการแยกแยะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ จากนั้นจึงประมวลผลข้อมูลนี้เพื่อใช้งานโดยอุปกรณ์ผ่านเอาต์พุตแอนะล็อกหรือดิจิทัล
เซ็นเซอร์อุณหภูมิใช้สำหรับงานอะไร
เกษตรกรรม: เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิมีบทบาทสำคัญในการทำเกษตรกรรม นั่นก็คือการตรวจสอบทั้งอุณหภูมิของดินและอากาศ เซ็นเซอร์เหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากต่อเกษตรกร เพราะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของการจัดการการเกษตร รวมถึงทำให้เกษตรกรกำหนดเวลาการใช้น้ำ ปริมาณน้ำ และยังสามารถคาดการณ์สถานการณ์จากข้อมูลเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่จะมาถึงได้
ห้องเย็น: การใช้เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิมีความสำคัญในการรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมภายในห้องเย็น เซ็นเซอร์เหล่านี้สามารถกำหนดค่าให้แจ้งเตือนเมื่ออุณหภูมิเกิดการเปลี่ยนแปลงเกินกว่าที่ตั้งค่าไว้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าวัสดุที่เสี่ยงต่อการเสียหายจะไม่ได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป โดยการใช้งานห้องเย็นมีแพร่หลายมาก ไม่ว่าจะเป็นธนาคารเลือด, ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์, และการจัดเก็บวัคซีน เป็นต้น
อุตสาหกรรมอาหาร: ในขอบเขตของอุตสาหกรรมอาหาร เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิที่รวมอยู่ในระบบ IoT จะป้องกันไม่ให้สินค้าที่เน่าเสียง่ายเกิดความเสียหายในระหว่างที่ทำการขนส่ง โดยเฉพาะในรถบรรทุกห้องเย็น ด้วยการตรวจสอบอุณหภูมิแบบเรียลไทม์และการบันทึกข้อมูลเพื่อการเรียกดูในภายหลัง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มคุณภาพและความน่าเชื่อถือของการบริการขนส่งอาหารให้ดีขึ้นในที่สุด
เซ็นเซอร์ความชื้นคืออะไร?
เซ็นเซอร์ความชื้นใช้ในการวัดปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศหรือก๊าซอื่นๆ ภายในบรรยากาศ โดยทั่วไปการวัดนี้จะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ RH
เซ็นเซอร์ความชื้นสามารถประเมินระดับความชื้นสัมพัทธ์ภายในช่วง 10-90%RH ด้วยขนาดที่กะทัดรัดและมีราคาถูก จึงนิยมใช้ทั้งในระดับครัวเรือนและอุตสาหกรรม
เซ็นเซอร์ความชื้นเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้ในการควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่
อุตสาหกรรมผลิตกระดาษ
เซ็นเซอร์วัดความชื้นใช้เพื่อจัดการระดับความชื้น ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการอบแห้งในอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมความชื้นของแผ่นกระดาษและช่วยให้ขั้นตอนการวินิจฉัยทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุตสาหกรรมอาหาร
การรักษาระดับความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมถือเป็นสิ่งจำเป็นในการผลิตอาหารเนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อรสชาติอาหารอย่างมาก เป็นผลให้อุตสาหกรรมอาหารต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ เช่น เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิจาน, เทอร์โมมิเตอร์ตรวจสอบอาหาร, และเทอร์โมมิเตอร์สำหรับทอด เพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพอาหารให้ออกมาดีที่สุด ซึ่งในอุปกรณ์เหล่านี้มีเซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับความชื้นที่มีความแม่นยำสูง
ห้องปลอดเชื้อและห้องเก็บวัคซีน
ห้องปลอดเชื้อหรือห้องเก็บวัคซีนจำเป็นต้องมีการควบคุมอย่างพิถีพิถันเนื่องจากข้อกำหนดที่เข้มงวด ตั้งแต่เรื่องของอุณหภูมิ, ความชื้น, ความเร็วลม, และการควบคุมความดัน ปัจจัยเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายของจุลินทรีย์, แบคทีเรีย, อนุภาค, และสิ่งปนเปื้อน ดังนั้น เซ็นเซอร์ความชื้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไปไม่ได้เลยสำหรับสถานที่ต่างๆ เช่น โรงพยาบาล, ห้องปฏิบัติการ, และศูนย์วิจัย เป็นต้น
การเกษตร
เซ็นเซอร์ความชื้นทำหน้าที่ในการวัดความชื้นในดินหรือทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์น้ำ ซึ่งจะสร้างการเชื่อมต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์โดยใช้การอ่านแบบแอนะล็อกเพื่อประเมินระดับความชื้นหรือโดยการตีความสัญญาณดิจิทัลที่ส่งโดยโมดูลเฉพาะ เซ็นเซอร์เหล่านี้เป็นเครื่องมือในการสร้างระบบชลประทานอัตโนมัติซึ่งช่วยลดความจำเป็นในการรดน้ำพืชด้วยตนเอง ด้วยเทคโนโลยีนี้ คุณสามารถที่จะตั้งโปรแกรมระบบเพื่อดูแลสวนของคุณได้
เซ็นเซอร์ก๊าซคืออะไร?
เซ็นเซอร์ก๊าซใช้เพื่อตรวจจับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีอยู่ของก๊าซพิษ, ก๊าซไวไฟ, หรือก๊าซอันตราย รวมถึงการสูญเสียออกซิเจน ซึ่งถือได้ว่าเป็นเซ็นเซอร์ชนิดที่พวกเราหลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เนื่องจากมีการใช้งานในที่พักอาศัย อย่างไรก็ตาม ยังมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในภาคส่วนต่างๆ เช่น เหมืองแร่ น้ำมัน การวิจัยทางเคมี และการผลิต
ก๊าซอันตรายรวมถึงก๊าซที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ตั้งแต่สารระคายเคืองไปจนถึงสารที่สามารถก่อให้เกิดการเจ็บป่วย, การสูญเสียชีวิต, หรือก่อให้เกิดเพลิงไหม้และการระเบิด การปรากฏตัวของสิ่งเหล่านี้แสดงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
เซ็นเซอร์ก๊าซกับ IoT – ตรวจจับก๊าซอันตรายที่อยู่ในอากาศ
โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่โรงงานน้ำมันและก๊าซ, โรงงานอิเล็กทรอนิกส์, และโรงกลั่นก๊าซธรรมชาติ ไปจนถึงแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ, โรงงานเคมี, โรงงานเยื่อกระดาษ, โรงบำบัดน้ำเสีย, โรงงานถลุงและผลิตเหล็ก, โรงงานปิโตรเคมี, โรงงานประกอบรถยนต์, และโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ คนทำงานในสถานที่เหล่านี้จึงมีความเสี่ยงที่จะสูดดมหรือสัมผัสกับสารอันตราย นั่นถึงเป็นสาเหตุว่าทำไมการใช้เซ็นเซอร์ก๊าซจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย
ด้วยเหตุนี้ สถานประกอบการเหล่านี้จึงจำเป็นต้องรวมระบบและอุปกรณ์ที่มีไว้สำหรับการตรวจจับก๊าซอันตรายเหล่านี้อย่างต่อเนื่องตลอดการปฏิบัติงาน เพื่อให้มั่นใจว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานจะมีความปลอดภัยอยู่เสมอ
"Internet of Things แสดงให้เห็นถึงพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สามารถปฏิวัติระบบนิเวศทางธุรกิจทั้งหมดได้"
-Joerg Grafe
เซ็นเซอร์ใดบ้างที่ถูกใช้อยู่ในเซ็นเซอร์อินฟราเรด IoT
เซ็นเซอร์อินฟราเรดหรือที่เรียกว่าเซ็นเซอร์ออปติคอลเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนค่าความต้านทานหรือการนำไฟฟ้าเมื่อมีแสงตกกระทบ ซึ่งทำงานด้วยการตรวจจับวัตถุผ่านการสะท้อนของแสงเมื่อพบสิ่งกีดขวาง หรือเมื่อมีวัตถุผ่านหน้าเซ็นเซอร์ และสามารถใช้ตรวจจับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ได้ด้วย
เซ็นเซอร์เหล่านี้ประกอบด้วยทั้งตัวรับและตัวส่งสัญญาณอินฟราเรด พวกมันปล่อยสัญญาณอินฟราเรด (แสงสีขาว) ออกมา แต่เมื่อมีวัตถุกีดขวางสัญญาณ มันจะสะท้อนกลับไปยังเครื่องรับ (สีดำ) สัญญาณที่สะท้อนกลับมานี้จะถูกใช้เพื่อตรวจจับวัตถุในบริเวณใกล้เคียง และเซ็นเซอร์สามารถปรับความไวเพื่อตรวจจับวัตถุในระยะห่างที่แตกต่างกันได้
เซ็นเซอร์อินฟราเรดที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา
เซ็นเซอร์อินฟราเรดถูกนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การดูแลสุขภาพ, เครื่องใช้ในบ้าน, และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สวมใส่ได้ นอกจากนี้เซ็นเซอร์อินฟราเรดยังสามารถใช้เพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อมต่างๆ เนื่องจากสามารถตรวจจับสารเคมีได้หลายประเภทและสามารถตรวจจับการรั่วไหลของความร้อนได้
ด้านสุขภาพ
ในด้านการแพทย์นั้น มีการใช้เซ็นเซอร์อินฟราเรดเพื่อวัดอุณหภูมิผิวหนัง ซึ่งเป็นเทคนิคที่เรียกว่าอินฟราเรดเทอร์โมกราฟฟี แนวทางนี้ทำให้แพทย์สามารถประเมินอุณหภูมิผิวหนังได้อย่างครอบคลุม โดยเซ็นเซอร์จะมอบข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าในด้านสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญและการควบคุมอุณหภูมิ ข้อมูลดังกล่าวมีความสำคัญมาก เพราะช่วยให้แพทย์ผิวหนังสามารถวินิจฉัยและทำการประเมินผลการรักษาได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
เซ็นเซอร์อินฟราเรดสามารถนำมาใช้ในเครื่องปรับอากาศและฮีตเตอร์ทำความร้อนเพื่อช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวและการทำงานของอุปกรณ์เหล่านั้น ทั้งยังส่งเสริมการประหยัดพลังงานและรักษาสภาพอากาศที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกสบาย โดยเซ็นเซอร์สามารถสแกนห้องเพื่อเตรียมและควบคุมอุณหภูมิอยู่ในค่าที่กำหนดไว้ได้ นอกจากนี้ ยังประเมินข้อมูลสภาพแวดล้อมที่จำเป็นแบบเรียลไทม์ และคำนวณความร้อนที่เข้ามาจากหน้าต่างเพื่อปรับแอร์ให้ทำความเย็นหรือความร้อนได้ตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป
เซ็นเซอร์ gyroscope คืออะไร?
Gyroscope sensor หรือที่รู้จักกันในชื่อเซ็นเซอร์อัตราเชิงมุมหรือเซ็นเซอร์ความเร็วเชิงมุม ได้รับการออกแบบมาเพื่อวัดอัตราเชิงมุมหรือความเร็วเชิงมุมในทิศทาง 3 แกน โดยการวัดโดยทั่วไปจะแสดงเป็นองศาต่อวินาที
เซ็นเซอร์นี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุปกรณ์นำทาง ตัวอย่างเช่น ในสมาร์ตโฟนของเรา มันช่วยให้เราดูวิดีโอและภาพถ่ายได้ 360 องศา โดยที่หน้าจอจะปรับตามการเคลื่อนไหวของเราในขณะที่เราเอียงหรือหมุนโทรศัพท์ ทั้งหมดนี้ต้องขอบคุณ gyroscope sensor
Gyroscope sensor ในสมาร์ตโฟน
gyroscope sensor เป็นส่วนประกอบสำคัญในสมาร์ตโฟน ที่ช่วยให้สามารถหมุนหน้าจออัตโนมัติได้ การใช้งานอย่างแพร่หลายในสมาร์ตโฟนสมัยใหม่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ผู้ใช้โดยรวม และทำให้อุปกรณ์รู้ว่าตอนนี้มันถูกวางอยู่ในแนวตั้งหรือแนวนอน ซึ่งเซ็นเซอร์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในเกม 3D เช่น Pokemon Go ที่ช่วยเปิดประสบการณ์ augmented reality (AR) และหากไม่มีฟังก์ชัน AR ก็คงจะเป็นไปไม่ได้
Gyroscope sensor ในแอปพลิเคชัน
gyroscope sensor ถูกนำมาใช้งานในระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ของยานพาหนะ, การตรวจจับการสั่นในกล้องดิจิทัล, และระบบหุ่นยนต์ รวมถึงการใช้งานอื่นๆ ซึ่งเซ็นเซอร์เหล่านี้เป็นเครื่องมือในระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบออปติคัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการกับปัญหาภาพเบลอระหว่างการถ่ายรูป
การใช้ gyroscope sensor เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์
เราสามารถใช้ gyroscope sensor เพื่อรวบรวมข้อมูลการเคลื่อนไหวของคนไข้โดยติดเซ็นเซอร์ชนิดนี้ไว้ที่ตำแหน่งเฉพาะ จากนั้นมันจะทำการบันทึกทิศทางการเคลื่อนไหวในช่วงเวลาหนึ่งโดยนำเสนอเป็นกราฟ 3 แกน หลังจากประมวลผลข้อมูลภายในซอฟต์แวร์แล้ว ผลลัพธ์จะถูกแสดงเป็นภาพในรูปแบบสามมิติ คล้ายกับการบันทึกการเคลื่อนไหวในภาพยนตร์ จากนั้น จึงเปรียบเทียบรูปแบบการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยกับคนที่มีสุขภาพดี ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติในตรงจุดใดได้อย่างละเอียด
สรุปสาระสำคัญ
เซ็นเซอร์ที่ใช้งานร่วมกันกับ IoT ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว เซ็นเซอร์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการรวบรวมข้อมูลที่แม่นยำและปรับปรุงกระบวนการทำงานผ่านระบบอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น การใช้เซ็นเซอร์อุณหภูมิและความชื้นสามารถช่วยให้การทำเกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้โดยการเปิดใช้งานระบบรดน้ำอัตโนมัติ เป็นต้น
โดยตอนนี้ธุรกิจจำนวนมากกำลังค้นคว้าสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีเซ็นเซอร์และกระบวนการด้าน IoT มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการทำความคุ้นเคยกับเซ็นเซอร์ 5 อันดับแรกที่ใช้บ่อยที่สุดใน IoT ของเรา คุณจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ลูกค้าจะนึกถึงเป็นลำดับแรกๆ อย่างแน่นอน
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Product Growth (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- พฤศจิกายน 2024 (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)