แชร์เรื่องนี้
การทำงานแบบ Agile กับ Waterfall: วิธีไหนดีที่สุดสำหรับโปรเจกต์ของคุณ
โดย Seven Peaks เมื่อ 31 มี.ค. 2022, 11:01:00
การทำงานทั้งแบบ Agile และ Waterfall คือวิธีในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ใครๆ ต่างก็รู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งทั้งสองวิธีนี้ล้วนมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน บทความนี้จึงมีเป้าหมายเพื่ออธิบายถึงความแตกต่างกันระหว่างวิธีการทำงานแบบ Agile กับ Waterfall เริ่มตั้งแต่ข้อดีและข้อเสียของสองวิธีนี้ รวมถึงเจาะลึกให้คุณเข้าใจว่าโปรเจกต์แบบไหนบ้างที่เหมาะกับวิธีการเหล่านี้ ด้วยการแยกประเภทให้คุณเข้าใจได้ง่ายๆ
ทั้งสองเป็นวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์นี้คือแนวทางการทำงานที่เป็นระบบซึ่งช่วยเสริมความแข็งแกร่งของการสื่อสารภายในทีม เพราะช่วยให้ทุกคนทีมพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยในตอนนี้มีการถกเถียงกันเป็นวงกว้าง ว่าวิธีใดเป็นวิธีการทำงานที่ดีที่สุด ซึ่งสิ่งที่สามารถบอกได้ตรงนี้เลยก็คือ แต่ละโปรเจกต์ย่อมมีวิธีในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไป ไม่สามารถใช้วิธีเดียวเพื่อแก้ปัญหาได้สำหรับทุกโปรเจกต์
ดังนั้น เราจึงจะพาคุณไปเรียนรู้ว่าระหว่างวิธีการทำงานแบบ Agile กับ Waterfall ควรเลือกใช้วิธีไหนถึงจะเหมาะสมกับโปรเจกต์ของคุณ พร้อมแล้วมาดูกันได้เลย!
วิธีการทำงานแบบ Agile คืออะไร?
Agile เป็น วิธีการทำงานรูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้สำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันให้สำเร็จอย่างรวดเร็ว แทนที่ขั้นตอนแบบเดิมๆ ที่ทุกอย่างถูกกำหนดไว้ตายตัว ซึ่งด้วยวิธีการทำงานแบบ Agile โปรเจกต์พัฒนาซอฟต์แวร์จึงสามารถเริ่มต้นได้เร็วมาก เพียงแค่กำหนดความต้องการเบื้องต้นสองถึงสามข้อหลัก จากนั้นจึงค่อยพัฒนาไปสู่ขั้นตอนต่อไป เช่น การออกแบบ การพัฒนา การทดสอบ และการปรับใช้
หลังจากขั้นตอนการปรับใช้ ทีมพัฒนาซอฟต์แวร์จะรวบรวมฟีดแบ็กที่มีทั้งหมดเพื่อนำมาสร้างข้อกำหนดใหม่สำหรับการอัปเดตครั้งต่อไป โดยทีมเหล่านี้จะต้องย้อนกลับไปทำงานในขั้นตอนที่เคยทำมาแล้วก่อนหน้านี้ และเราเรียกวงกลมนี้ว่า ‘sprint’ นั่นเอง
การทำงานในรอบนี้จะดำเนินต่อไปจนกว่าผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย (final product) จะได้รับการอนุมัติ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีวิธีอื่นๆ อีกมากมายในการประยุกต์ใช้วิธีการทำแบบ Agile ในโปรเจกต์ต่างๆ เช่น scrum, kanban, และ extreme programming เป็นต้น
“การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการทำงานแบบ Agile ช่วยให้คุณกำหนดเป้าหมายและสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้ทันที โดยในช่วงเวลาดังกล่าว เราสามารถมองหาวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างต่อเนื่องและรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นมาในแบบเรียลไทม์” คุณ Roy Ivar Moe, CTO ของ Seven Peaks Software ได้อธิบายให้เข้าใจมากขึ้น
ข้อดีของ Agile
-
Agile แตกต่างจากวิธีการทำงานแบบ Waterfall ตรงที่ต้องการสมาชิกในทีมที่มาจากสายงานที่ต่างกันซึ่งประกอบไปด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและทีมพัฒนาที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างใกล้ชิด ดังนั้นสิ่งนี้จึงช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ได้ในระหว่างการพัฒนาโครงการ ทั้งยังเอื้อต่อการนำเสนอแนวคิดใหม่และการสนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายที่ดีที่สุด
-
การพัฒนาโปรเจกต์ด้วย Agile นั้นเร็วพอๆ กับชื่อเลย เพราะเปิดโอกาสให้สามารถพัฒนาและปรับใช้ผลิตภัณฑ์ได้เร็วกว่า เนื่องจากเป็นวิธีการทำงานที่ข้ามขั้นตอนการวางแผนโปรเจกต์ที่มักใช้เวลา 1-4 เดือน รวมถึงการจัดทำรายละเอียดของโครงสร้างพื้นฐานและการจัดทำเอกสารในขั้นตอนเริ่มต้น จึงเหลือเวลาและพลังงานที่ใช้ในการพัฒนาและแก้ไขผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ในแต่ละรอบมากขึ้น
-
เนื่องจากวิธีการทำงานแบบ Agile จะแบ่งงานออกเป็น sprint จึงถือได้ว่าเป็นโซลูชันที่เหมาะสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเกิดขึ้นในทันทีและใช้เพื่อจัดการกับปัญหาที่เข้ามาได้เป็นอย่างดี ซึ่งปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะได้รับการแก้ไขใน Sprint ถัดไป และลูกค้ายังสามารถติดตามความคืบหน้าของการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ตลอดเวลา ซึ่งช่วยลดโอกาสที่โปรเจกต์จะล้มเหลวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“เรากำลังทำการปรับปรุงวิธีการทำงานที่สามารถติดตามและวัดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพในตลอดช่วงที่โปรเจกต์กำลังเดินหน้า” – คุณ Roy Ivar Moe
ข้อเสียของ Agile
-
Agile ต้องการความมุ่งมั่นอย่างมาก จากสมาชิกในทีมทุกคน เนื่องจากมีความจำเป็นที่ต้องปรับตัวและสื่อสารกันอยู่บ่อยครั้ง การมีส่วนร่วมอย่างจริงจังจากสมาชิกในทีมและผู้ใช้ปลายทางจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยทั้งทีมต้องพร้อมที่จะอุทิศเวลา สร้างความไว้วางใจ และมีส่วนร่วมในการสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา
-
Agile อาจ ไม่เหมาะสำหรับโปรเจกต์ที่ต้องเก็บบันทึกข้อมูลอย่างจริงจังและมีความอ่อนไหวสูง เช่น เรื่องสุขภาพและโครงการที่รัฐบาลกำลังจะทำ เนื่องจากการจัดทำเอกสารมักจะไม่เป็นไปตามวิธีการทำงานแบบ Agile
-
ในวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Agile นั้น ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายอาจแตกต่างจากที่ตั้งไว้ในวิสัยทัศน์แรกเริ่มของโปรเจกต์ เนื่องจากในตอนเริ่มแผนการทำงานแบบ Agile จะยังไม่ได้มีการกำหนดในส่วนนี้ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายที่แท้จริงจึงขึ้นอยู่กับสิ่งที่เสนอโดยลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย.
-
Agile ไม่เหมาะกับโปรเจกต์ที่ต้องการการดำเนินการและการตรวจสอบที่เข้มงวดมาก เช่น ระบบที่มีความสำคัญต่อชีวิตของผู้คน ยกตัวอย่างเช่น ระบบควบคุมการจราจร การควบคุมการบิน และระบบการแพทย์ เนื่องจากภารกิจที่สำคัญประเภทนี้ต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียดในส่วนของระบบป้องกันความผิดพลาดระหว่างขั้นตอนการออกแบบ
โปรเจกต์แบบไหนบ้างที่เหมาะกับการทำงานแบบ Agile?
การทำงานแบบ Agile เหมาะอย่างยิ่งสำหรับโปรเจกต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ยิ่งถ้าโปรเจกต์ของคุณโฟกัสไปที่ตลาดใหม่ที่มีความเฉพาะกลุ่ม คุณอาจต้องการความคล่องตัวในการเพิ่มแนวคิดใหม่ๆ เข้าไปในโปรเจกต์ทันทีหลังจากที่ได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความต้องการทางธุรกิจของคุณในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ในช่วงตลอดหลายปีที่ผ่านมา บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์หลายแห่ง แม้กระทั่งบริษัทขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคง ก็กำลังเปลี่ยนไปใช้วิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Agile เนื่องจากสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลายอย่างมาก เช่น ความต้องการในการสื่อสารทางออนไลน์ที่สูงขึ้น การเชื่อมต่อที่มีความเสมือนจริงมากขึ้น และการใช้แอปพลิเคชันบนมือถือที่พุ่งสูงขึ้นกว่าเดิมมาก
วิธีการทำงานแบบ Waterfall คืออะไร?
โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมและจัดทำเอกสารข้อกำหนดที่จำเป็นทั้งหมด จากนั้นจึงย้ายไปยังขั้นตอนการออกแบบ การพัฒนา การทดสอบ และขั้นตอนสุดท้ายในการปรับใช้และการส่งมอบโปรเจกต์ ซึ่งการทำงานในขั้นตอนต่อไปจะไม่สามารถเริ่มทำล่วงหน้าได้จนกว่าขั้นตอนปัจจุบันจะเสร็จสมบูรณ์
ข้อดีของ Waterfall
-
วิธีการทำงานแบบ Waterfall นั้นเป็นอะไรที่ตรงไปตรงมา ซึ่งหมายความว่าทั้งนักพัฒนาและลูกค้าสามารถตกลงกันได้ถึงสิ่งที่กำลังจะสร้างขึ้นในอนาคต โดยการมาพร้อมรายละเอียดที่ครบถ้วนในช่วงเริ่มต้นยังช่วยให้สามารถกำหนดวันที่เริ่มถึงวันที่สิ้นสุด เหตุการณ์สำคัญ และการส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
-
ทีมนักพัฒนาสามารถมุ่งความสนใจไปที่งานของตนได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมหรือหารือเกี่ยวกับข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ในทันที
-
นอกจากนี้ โปรเจกต์แบบ Waterfall ยังช่วยให้คาดการณ์ได้ว่าผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายจะออกมาในรูปแบบไหนได้ง่ายขึ้น เนื่องจากกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับการจัดทำเป็นเอกสารและผ่านการอนุมัติตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นโปรเจกต์เรียบร้อยแล้ว จึงทำให้ทีมนักพัฒนาไม่ต้องเข้าประชุมบ่อย ทุกคนจึงสามารถทำตามแผนอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
ข้อเสียของ Waterfall
-
ลูกค้าที่เป็นเจ้าของโปรเจกต์ไม่ค่อยมีฟีดแบ็กอะไรที่เป็นประโยชน์ในช่วงแรกๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่โปรเจกต์จะผิดพลาดไปจากเป้าหมายที่วางไว้ในตอนแรก
-
โครงสร้างการทำงานที่ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มโปรเจกต์จะจำกัดพื้นที่สำหรับการแชร์ไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่สมาชิกในทีมค้นพบระหว่างกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์
-
แนวทางการทำงานแบบ Waterfall ไม่ได้ดึงผู้ใช้ปลายทางให้เข้ามามีส่วนร่วม ดังนั้นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายอาจไม่ใช่แอปพลิเคชันที่สมบูรณ์แบบสำหรับการมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้ หรือหลังจากนั้นอาจต้องใช้งบประมาณมากขึ้นสำหรับการปรับปรุงโปรเจกต์เพิ่มเติมและมีแนวโน้มที่ต้องทำงานที่มีภาระค่าใช้จ่ายสูงซ้ำอีกครั้ง
โปรเจกต์แบบไหนบ้างที่เหมาะกับการทำงานแบบ Waterfall?
-
วิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Waterfall เหมาะสมที่สุดสำหรับโปรเจกต์ที่มีการกำหนดขอบเขตการทำงานไว้อย่างดี แต่ว่าข้อกำหนดที่คลุมเครืออาจไม่เหมาะและเสี่ยงที่จะทำให้ต้นทุนของโปรเจกต์เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นในภายหลัง เนื่องจากต้องทำกระบวนการทั้งหมดซ้ำอีกครั้ง
-
วิธีการทำงานนี้จะได้ผลดีก็ต่อเมื่อโปรเจกต์ของคุณมีผลลัพธ์ที่สามารถคาดการณ์ได้ และรวมถึงการที่บริษัทของคุณขาดผู้ที่มีความสามารถด้านเทคนิคทำงานอยู่ด้วย
-
ระบบที่มีความสำคัญต่อภารกิจซึ่งจะต้องมีการรับรองว่าจะไม่เกิดความผิดพลาดจากการทำงานของระบบตั้งแต่ในขั้นตอนการออกแบบ
สรุปทิ้งท้าย
วิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นแนวทางให้ทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ปฏิบัติตามเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการทำงานแบบ Agile ต่างจาก Waterfall ตรงที่มีจุดเด่นด้านการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดีกว่า
การเลือกวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับโปรเจกต์ที่กำลังจะเริ่มทำนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ไม่อย่างนั้นแล้วทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ของคุณอาจจะต้องเสียเวลาและเงินโดยไม่จำเป็นสำหรับปัญหาที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ตั้งแต่ตอนแรก
ดังนั้นเมื่อคุณต้องเลือกระหว่างวิธีการทำงานแบบ Agile กับ Waterfall สิ่งสำคัญที่สุดก็คือต้องพิจารณาข้อดีข้อเสีย พร้อมๆ กับศึกษาทีมและโปรเจกต์ของคุณ จากนั้นคุณจะพบเครื่องมือที่ใช่และข้อกำหนดที่เหมาะสมในการจัดทำโปรเจกต์พัฒนาซอฟต์แวร์ของคุณให้ประสบความสำเร็จได้
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Product Growth (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- พฤศจิกายน 2024 (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)