แชร์เรื่องนี้
การทำงานแบบ Agile ช่วยให้การบริหารโปรเจกต์พัฒนาซอฟต์แวร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร
โดย Seven Peaks เมื่อ 10 ก.พ. 2022, 11:39:00
ทำไม การทำงานแบบ Agile ถึงมีความสำคัญต่อการส่งมอบโปรเจกต์ของคุณ
กระบวน การทำงานแบบ Agile ถือเป็นหนึ่งในหลักการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดานักพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยกัน เนื่องจากมันช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับซอฟต์แวร์ได้ภายในเวลาที่สั้นกว่าเดิม เมื่อเทียบกับหลักการแบบเก่าอย่าง Waterfall แล้ว Agile software development คืออะไรกันแน่ และข้อดีที่ว่ามีอะไรบ้าง ทั้งหมดรวบรวมอยู่ในบทความนี้แล้ว
กระบวนการทำงานแบบ Waterfall คืออะไร
กระบวนการทำงานแบบ Waterfall คือสไตล์การทำงานแบบดั้งเดิมที่มีขั้นตอนตรงไปตรงมา กระบวนการทำงานจะไหลจากขั้นหนึ่งไปอีกขั้นหนึ่งเหมือนน้ำตกตามชื่อ waterfall ซึ่งแต่ละขั้นต้องเสร็จเรียบร้อยก่อนที่จะขยับไปสู่ขั้นต่อไปได้ ซึ่งทำให้กระบวนการนี้ใช้เวลานานมาก และจะมีเพียงผลงานชิ้นใหญ่เพียงชิ้นเดียวเท่านั้นที่ออกมาตอนจบกระบวนการทั้งหมดแล้ว
Agile software development คืออะไร
Agile software development คือ กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นหลักการทำงานแบบใหม่ของอุตสาหกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะแบ่ง task ออกเป็น sprint ย่อยๆ โดยแต่ละ sprint มักจะมีความยาวประมาณ 2 สัปดาห์ ช่วยให้การพัฒนาเร็วกว่ากระบวนการแบบดั้งเดิมอย่าง Waterfall ซึ่ง การทำงานแบบ Agile จะทำให้เกิดผลลัพธ์เพิ่มขึ้นทุกครั้งที่จบ sprint
ขั้นตอนหลักในกระบวน การทำงานแบบ Agile มีดังนี้
10 ข้อดีของการนำกระบวนการทำงานแบบ Agile มาใช้
1. ปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว
กระบวนการทำงานแบบ Agile นั้นช่วยให้พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจาก task ขนาดใหญ่ได้ถูกแบ่งออกเป็นชิ้นเล็กๆ หรือ sprint ย่อยๆ เมื่อได้รับ requirement ใหม่ๆ จากลูกค้า ก็พร้อมที่จะปรับตามได้ง่ายๆ และสามารถขอฟีดแบ็กจาก sprint ได้ทุกสัปดาห์
2. เพิ่มความยืดหยุ่นและทีมเวิร์ก
กระบวนการทำงานแบบ Agile ช่วยกระตุ้นให้ทุกคนในทีมมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเนื่องจากพวกเขาสามารถทำงานได้ตามความเร็วของตัวเอง อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการประชุมอยู่เป็นประจำเพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนเข้าใจตรงกันและ task ของแต่ละสัปดาห์นั้นเสร็จตามกำหนด ด้วยเหตุนี้ การเปลี่ยนมาทำงานแบบ Agile จึงช่วยให้ทีมงานมีความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น
3. คาดการณ์ความคืบหน้าของโปรเจกต์ได้
การที่ปริมาณงานถูกแบ่งออกเป็น sprint ย่อยๆ ในแต่ละสัปดาห์ช่วยให้สามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ได้ง่าย นักพัฒนาสามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่าจะทำฟีเจอร์ใหม่ๆ เสร็จหลังจากจบแต่ละ sprint หรือแม้แต่กำหนดวันเปิดตัวซอฟต์แวร์ก็ยังได้
4. ลดความเสี่ยง
เมื่อโปรเจกต์สามารถคาดการณ์ได้ ก็สามารถประเมินความเสี่ยงได้เช่นกัน การใช้กระบวนการทำงานแบบ Agile ทำให้ทีมงานสามารถควบคุมโปรเจกต์ได้ดีขึ้นและสามารถลดความเสี่ยงได้ง่ายขึ้นด้วย
5. สร้างความโปร่งใส
แผนงานและ task ทั้งหมดจะได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกในทีมก่อนเริ่มแต่ละ sprint ด้วยความที่การให้ความร่วมมือกันคือหัวใจสำคัญของกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Agile ทำให้การทำงานมีความโปร่งใส ทั้งยังมีการให้ฟีดแบ็กกันเป็นประจำเพื่อให้มั่นใจว่าโปรเจกต์ได้รับการปรับปรุงและดำเนินต่อไปอย่างราบรื่น
6. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
ในแนวทางการทำงานแบบ Waterfall นั้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเข้ามีส่วนร่วมแค่ในบางช่วงของโปรเจกต์เท่านั้น เช่น ขั้นตอนรวบรวมข้อมูล หรือการทดสอบระบบ แต่ Agile จะต่างจาก Waterfall ตรงที่หากต้องการทำให้โปรเจกต์ประสบความสำเร็จ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องเข้ามามีบทบาทในแทบทุกขั้นตอนของโปรเจกต์
7. มีคุณภาพดีขึ้น
นักพัฒนาจำเป็นต้องทำการพัฒนาทุกฟีเจอร์พร้อมๆ กันเมื่อต้องทำงานแบบ Waterfall ซึ่งอาจทำให้เสียเวลาและเหลือเวลาสำหรับการทดสอบน้อยลง หากทำงานใน sprint ย่อยๆ แบบ Agile นักพัฒนาจะโฟกัสกับการพัฒนาทีละฟีเจอร์ ทำให้มีเวลาสำหรับการปรับปรุงและทดสอบแต่ละฟีเจอร์ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น
8. ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น
แน่นอนว่าซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพดีขึ้นย่อมทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น นอกจากนั้น ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะพึงพอใจมากกว่าเดิมเนื่องจากได้มีส่วนร่วมกับโปรเจกต์มากขึ้นด้วยกระบวนการทำงานแบบ Agile ได้ส่งฟีดแบ็กอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่แค่ตอนโปรเจกต์ใกล้จบ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่ทีมงานจะมั่นใจได้ว่าสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทั้งหมด
9. ปรับปรุงได้อย่างต่อเนื่อง
เมื่อเปลี่ยนมาทำงานแบบ Agile ทั้งสมาชิกในทีมและโปรเจกต์จะได้รับการปรับปรุงให้ทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้อยู่เสมอ เนื่องจากกระบวนการทำงานแบบ Agile นั้นสนับสนุนเรื่องของทีมเวิร์ก การให้ความร่วมมือ และการแลกเปลี่ยนไอเดียกัน กระตุ้นให้ทุกคนเรียนรู้จากคนอื่นๆ นอกจากนั้นทีมยังได้เรียนรู้จาก sprint ก่อนหน้านี้และวางแผนอย่างระมัดระวังสำหรับ sprint ต่อไปเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความผิดพลาด ทำให้มีโอกาสที่จะปรับปรุงคุณภาพของโปรเจกต์ได้อย่างต่อเนื่อง
10. พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงของการทำงานแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ
เราจำเป็นต้องปรับตัวให้ทีมงานพร้อมสำหรับการก้าวต่อไปข้างหน้าและพัฒนาตนเองให้ทันการแข่งขันของโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งกระบวนการทำงานแบบ Agile นั้นได้รับการพิสูจน์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแล้วว่าเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพดี การปรับจากกระบวนการทำงานแบบ Waterfall มาเป็น Agile ที่ทันสมัยกว่าคือหนทางอันยอดเยี่ยมในการผลักดันให้บริษัทของคุณเติบโตในระยะยาว
Seven Peaks Software นำกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Agile มาใช้อย่างไร
กระบวนการทำงานแบบ Agile นั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถแก้ไขปัญหาการทำงานในยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี นั้นช่วยให้ทีมงานพัฒนาซอฟต์แวร์ของเราสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีคุณภาพได้ในขณะเดียวกัน
การนำกระบวนการทำงานแบบ Agile มาใช้ช่วยให้เราสามารถเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระยะยาว กับลูกค้าของเราและได้รับความไว้วางใจอย่างต่อเนื่อง
สรุปทิ้งท้าย
การนำกระบวนการทำงานแบบ Agile มาใช้ หมายถึงการนำ task มาแบ่งออกเป็น sprint ย่อยๆ ที่ใช้เวลาในการทำงานน้อยกว่าหากเทียบกับการทำงานแบบดั้งเดิม การเปลี่ยนมาทำงานแบบ Agile ช่วยให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซอฟต์แวร์มีคุณภาพดีขึ้น และมีความสัมพันธ์กับลูกค้าที่ดีกว่าเดิม
การทำให้บริษัทมีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งในธุรกิจเดียวกันอาจเป็นเรื่องยาก แต่หากเปิดใจให้กว้างและนำกระบวนการทำงานใหม่ๆ มาปรับใช้ อาจช่วยพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้นได้ ซึ่งอาจเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งในแง่ของโครงสร้างและวัฒนธรรมในองค์กร แต่เมื่อพิจารณาถึงข้อดีแล้วก็คุ้มค่าที่จะลอง
แชร์เรื่องนี้
- FinTech (11)
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ (10)
- Expert Spotlight (8)
- อาชีพการงาน (8)
- Cloud (5)
- InsurTech (5)
- Mixpanel (5)
- Agile (4)
- Digital Transformation (4)
- JavaScript (4)
- QA (4)
- Trend (4)
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS (4)
- Android Developer (3)
- Azure (3)
- Banking (3)
- CSR (3)
- Hybrid App (3)
- IoT (3)
- Product-Centric Mindset (3)
- Seven Peaks Insights (3)
- Thought Leadership (3)
- การพัฒนาแอปฯ Android (3)
- การออกแบบ UX (3)
- บริษัท (3)
- เทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร (3)
- .NET (2)
- AI (2)
- Cross-Platform Application (2)
- Data (2)
- Kotlin (2)
- Native App (2)
- ReactJS (2)
- digital marketing (2)
- การพัฒนาแอปฯ (2)
- งาน Product Owner (2)
- 5g (1)
- Android (1)
- AndroidX Biometric (1)
- Azure OpenAI Service (1)
- Biometrics (1)
- CI/CD (1)
- Customer Data Platform (1)
- Data and Analytics (1)
- Design Thinking (1)
- DevOps (1)
- Digital Healthcare (1)
- Digital ID (1)
- Digital Landscape (1)
- Digital Product (1)
- Digital Product Development (1)
- E-payment (1)
- E-wallet (1)
- Financial Inclusion (1)
- GraphQL (1)
- IT Outsourcing (1)
- MVP (1)
- MVVM (1)
- Metaverse (1)
- Morphosis (1)
- Node.js (1)
- Partner (1)
- Platform Engineering (1)
- Recruitment (1)
- SCB (1)
- SEO (1)
- Scrum Master (1)
- Software Engineer (1)
- Software Tester (1)
- Stripe (1)
- Swift (1)
- SwiftUI (1)
- Tech Meetup (1)
- Turnkey (1)
- UI (1)
- UX (1)
- UX Design (1)
- UX writing (1)
- Web-Debugging Tool (1)
- customer centric (1)
- iOS17 (1)
- waterfall (1)
- การจ้างงาน (1)
- การพัฒนาด้วย RabbitMQ (1)
- การพัฒนาระบบคลาวด์ (1)
- การออกแบบ Decorator Pattern (1)
- การใช้งาน C# (1)
- งาน Product Manager (1)
- งาน platform enginerring (1)
- ทำ Context API (1)
- ฟินเทค (1)
- ระบบการชำระเงิน (1)
- สร้าง brand loyalty (1)
- อีคอมเมิร์ซ (1)
- เขียนโค้ด React (1)
- เทคโนโลยี React (1)
- เพิ่ม conversion (1)
- เฟรมเวิร์ก (1)
- แดชบอร์ด (1)
- สิงหาคม 2024 (1)
- กรกฎาคม 2024 (2)
- มีนาคม 2024 (5)
- กุมภาพันธ์ 2024 (5)
- มกราคม 2024 (14)
- ธันวาคม 2023 (4)
- พฤศจิกายน 2023 (9)
- ตุลาคม 2023 (12)
- กันยายน 2023 (7)
- กรกฎาคม 2023 (4)
- มิถุนายน 2023 (3)
- พฤษภาคม 2023 (3)
- เมษายน 2023 (1)
- มีนาคม 2023 (1)
- พฤศจิกายน 2022 (1)
- สิงหาคม 2022 (4)
- กรกฎาคม 2022 (1)
- มิถุนายน 2022 (4)
- เมษายน 2022 (6)
- มีนาคม 2022 (3)
- กุมภาพันธ์ 2022 (6)
- มกราคม 2022 (3)
- ธันวาคม 2021 (2)
- ตุลาคม 2021 (1)
- กันยายน 2021 (1)
- สิงหาคม 2021 (3)
- กรกฎาคม 2021 (1)
- มิถุนายน 2021 (2)
- พฤษภาคม 2021 (1)
- มีนาคม 2021 (4)
- กุมภาพันธ์ 2021 (4)
- ธันวาคม 2020 (4)
- พฤศจิกายน 2020 (1)
- มิถุนายน 2020 (1)
- เมษายน 2020 (1)