บทความและข่าวสาร | Seven Peaks Insights

Customer Centric Banking คือวิธีคิดที่ทุกธนาคารมีในยุคนี้

เขียนโดย Seven Peaks - 5 มี.ค. 2024, 10:56:14

ทุกวันนี้โลกของการเงินและการธนาคารแบบดั้งเดิมเปลี่ยนไปจากเดิมเมื่อหลายสิบปีก่อนอย่างมาก จากการมาของเทรนด์ digital transformation รวมถึง FinTech ที่เข้ามาแข่งขันกับธนาคารด้วยการนำเสนอโปรดักต์ทางการเงินใหม่ๆ เพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการอันหลากหลาย ทั้งยังต้องหาทางตัวรอดในยุคที่อะไรๆ ก็ก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลกันหมด โดยกรุงเทพธุรกิจเปิดเผยว่าภายใน 3-5 ปีนับจากนี้ สาขาธนาคารต่างๆ จะหายไปกว่า 50% สอดคล้องกับเทรนด์ผู้บริโภคที่หันไปทำทุกอย่างผ่านทางออนไลน์มากขึ้น

ด้วยสาเหตุเหล่านี้เอง customer centric banking จึงเป็นแนวทางที่ธนาคารในปัจจุบันควรใส่ไว้ในแผนพัฒนาของตน บทความนี้จะเผยทุกเรื่องที่ธนาคารยุคดิจิทัลต้องรู้เพื่อเอาชนะใจผู้บริโภค ในวันที่ทุกฝ่ายพยายามอย่างมากที่จะแย่งชิงฐานลูกค้าอันมีค่าไปจากคุณ

Customer Centric Banking คืออะไร? 

customer centric banking คือแนวคิดของธนาคารที่คำนึงถึงลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เรียกว่าเป็นแนวทางในที่จัดลำดับความสำคัญของความต้องการ ความชอบ และประสบการณ์โดยรวมของลูกค้า ที่ล้วนเกี่ยวข้องกับการปรับแต่งผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน ตลอดจนการสื่อสารของธนาคารให้ตรงตามความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าแต่ละรายในทุก touchpoint อย่างครบถ้วน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในระยะยาวกับลูกค้าโดยการทำความเข้าใจพฤติกรรม ความชอบ และเป้าหมายทางการเงินของพวกเขา

สาเหตุที่ทำให้ธนาคารต่างๆ หันมาใส่ใจเรื่อง Customer Centric Banking

เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งได้เปลี่ยนความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่ออุตสาหกรรมการเงินและการธนาคารไปอย่างมาก โดย Accenture เปิดเผยในปี 2021 ว่า 78% ของลูกค้าธนาคารเชื่อว่าเทคโนโลยีมีบทบาทความสำคัญในการเปลี่ยนความคาดหวังที่พวกเขามีต่อบริษัทต่างๆ รวมถึงยังพบอีกด้วยว่ากว่า 64% ของผู้บริโภคคาดหวังการตอบสนองแบบเรียลไทม์จากธนาคารที่พวกเขาใช้บริการอยู่ ซึ่งเน้นถึงความต้องการบริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ประโยชน์ที่ธนาคารจะได้รับจากการพัฒนาธุรกิจภายใต้แนวทาง Customer Centric Banking

แนวคิด customer centric banking มอบประโยชน์มากมายให้กับธนาคารที่หันมาประยุกต์ใช้แนวทางนี้กับแผนธุรกิจและการดำเนินงานในอนาคต ด้วยสามข้อดีเหล่านี้

ความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น

ธนาคารที่มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าผ่านการปรับแต่งผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละคนด้วยกลยุทธ์ personalization จะทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเข้าใจและรู้สึกว่าสิ่งที่พวกเขาได้รับนั้นมีคุณค่ามากขนาดไหน 

ลูกค้าจะประทับใจกับประสบการณ์ที่ธนาคารมอบให้มากขึ้น ซึ่งความพึงพอใจนี้เองที่ช่วยส่งเสริมให้ลูกค้าเชื่อมั่นและนิยมชมชอบในสิ่งที่ธนาคารนำเสนอเพิ่มขึ้น เนื่องจากลูกค้ามีแนวโน้มที่จะใช้บริการธนาคารที่ตอบสนองความคาดหวังของพวกเขาได้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งในเรื่องประสบการณ์การใช้งานที่ดีและเป็นส่วนตัว รวมถึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องให้ลูกค้าใช้บริการธนาคารต่อไปในระยะยาวอีกด้วย

เพิ่มมูลค่าตลอดอายุการใช้งานของลูกค้าและความสามารถในการทำกำไร

ธนาคารที่ดำเนินธุรกิจด้วยการปรับใช้แนวคิด customer centric banking ที่ยึดเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง จะมี customer lifetime value (CLV) หรือ มูลค่าตลอดอายุการใช้งานของลูกค้าเพิ่มขึ้น ด้วยการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอและรักษาความสัมพันธ์เชิงบวกเอาไว้ นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกพึงพอใจและเชื่อมั่นต่อบริการต่างๆ ที่ธนาคารนำเสนอในระยะยาว

นอกจากนี้ เมื่อลูกค้าใช้บริการของธนาคารมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความสามารถในการทำกำไรโดยรวมก็จะเพิ่มสูงอย่างเห็นได้ชัด นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการให้ความสำคัญกับ CLV ถึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเติบโตที่ยั่งยืนและความสำเร็จของธุรกิจการเงินและการธนาคารในยุคนี้

ผลกระทบเชิงบวกต่อชื่อเสียงของแบรนด์และตำแหน่งทางการตลาด

customer centric banking ส่งผลเชิงบวกต่อชื่อเสียงของแบรนด์และตำแหน่งทางการตลาดของธนาคารอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อธนาคารถูกพูดถึงเชิงบวกในเรื่องการจัดการกับความต้องการและส่งมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าทั้งหลาย โดยกลุ่มลูกค้าที่พึงพอใจกับสิ่งที่ธนาคารมอบให้มักจะกลายมาเป็นผู้สนับสนุนหรือแฟนคลับตัวยง พร้อมทั้งแบ่งปันประสบการณ์ดีๆ กับคนรอบตัว ทั้งด้วยการบอกเล่าแบบตัวต่อตัว หรือแชร์เรื่องราวดีๆ ผ่านทางโลกออนไลน์

ขณะเดียวกัน ชื่อเสียงเชิงบวกยังช่วยเพิ่มโอกาสการแข่งขันของธนาคารในตลาดที่เต็มไปด้วยคู่แข่งที่แข็งแกร่ง ด้วยการดึงดูดลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ โดยธนาคารที่แข็งแกร่งและเลือกใช้แนวคิดที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลางจะสามารถสร้างความแตกต่างที่เหนือกว่าคู่แข่งในตลาด พร้อมทั้งเสริมสร้างความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือในสายตาของลูกค้าปัจจุบันและผู้บริโภคที่ยังไม่เคยใช้บริการมาก่อน

อุปสรรคและโซลูชันต่างๆ ในการนำ Customer Centric Banking มาใช้กับธุรกิจธนาคารทั้งในปัจจุบันไปจนถึงอนาคต

การที่ธนาคารต่างๆ จะนำแนวคิด customer centric banking มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องอาศัยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า องค์กร โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจการเงินและการธนาคารในภาพรวม ด้วยการทำความเข้าใจถึงอุปสรรคและโซลูชันที่เราได้นำมาอธิบายให้คุณได้มีไอเดียในการรับมือกับสถานการณ์จริง ดังต่อไปนี้

5 อุปสรรคที่ธนาคารทั่วไปกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน

  • ระบบและโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิม

โครงสร้างพื้นฐานหรือระบบไอทีที่ล้าสมัยคือตัวการสำคัญที่ขัดขวางการนำเทคโนโลยีที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางมาใช้ เพราะการจะปรับปรุงระบบธนาคารให้ทันสมัย เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ และพร้อมสำหรับการขยายตัวในอนาคตนั้น จะต้องอาศัยทรัพยากรเป็นจำนวนมาก ทั้งในแง่เงินทุน บุคลากร และเทคโนโลยีที่นำมาใช้งาน

  • ความกังวลด้านความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัว

76% ของผู้ใช้เชื่อว่าบริษัทต่างๆ ต้องทำอะไรสักอย่างมากกว่าที่เป็นอยู่เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัวของพวกเขา ข้อมูลนี้อยู่ในรายงาน Global Consumer State of Mind Report 2021 แสดงให้เห็นว่าการสร้างความสมดุลระหว่างความเป็นส่วนตัวของลูกค้ากับกฎระเบียบด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่เข้มงวดนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับทุกธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธนาคารที่ต้องจัดเก็บและใช้งานข้อมูลของลูกค้าเป็นจำนวนมาก 

  • การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของคนในองค์กร

พนักงานแต่ละคนในองค์กรย่อมมีความคิดแตกต่างกันไปตามอายุ เพศ ตำแหน่งงาน และอื่นๆ นั่นทำให้เวลาที่ธนาคารต้องการปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้งาน หรือวิธีการทำงานจากเดิมไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีหรือทันสมัยกว่า บรรดาพนักงานมักจะเริ่มต่อต้านและแสดงออกถึงความไม่เต็มใจในสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาจำเป็นต้องเปลี่ยนตามแนวทางการพัฒนาของธนาคารที่ยึดเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

  • การใช้งานและจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน

การที่แต่ละฝ่ายในธนาคารมีฐานข้อมูลและระบบจัดการที่แยกเป็นส่วนตัว ส่งผลให้เวลาที่แผนกอื่นๆ ภายในธนาคารต้องการใช้งานระบบหรือดึงเอาข้อมูลเฉพาะของแผนกต่างๆ มาใช้ มักจะเต็มไปด้วยปัญหามากมาย ทั้งในแง่ของการเข้าถึงและแบ่งปันข้อมูลให้กับแผนกอื่นภายในองค์กรที่ทำได้ช้าและไม่มีประสิทธิภาพอีกต่างหาก

  • ขาดความเข้าใจลูกค้า

เมื่อใดที่ธนาคารไม่ได้รู้จริงในสิ่งที่อยู่ในใจลูกค้าจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ลูกค้าต้องการ ความชอบ ปัญหาที่พบเจอ และพฤติกรรมของลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินของธนาคาร อาจเป็นเพราะธนาคารนั้นๆ ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือขาดการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรับข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำมาปรับปรุงกลยุทธ์ให้เป็นไปตามแนวคิด customer centric banking ได้ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อประสบการณ์โดยรวมของลูกค้าเป็นอย่างมาก

 

6 กลยุทธ์ที่ธนาคารควรทำเพื่อเอาชนะอุปสรรคต่างๆ

  • การทำ digital transformation ที่ครอบคลุม

สิ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการทำ digital transformation ที่ครอบคลุม ซึ่งรวมถึงการลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่ โซลูชันคลาวด์ และวิธีการพัฒนาแบบ Agile ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนแนวคิดการดำเนินงานแบบ customer centric banking ให้ประสบความสำเร็จได้

  • วัฒนธรรมที่ยึดเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

เพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลางให้กับพนักงานทุกคนในองค์กร จะต้องทำให้ทุกคนเห็นว่าผู้นำของพวกเขามีความมุ่งมั่นและจริงจังกับเรื่องนี้มากขนาดไหน ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน พร้อมให้การฝึกอบรมพนักงาน และสร้างแรงจูงใจให้พวกเขาอยากที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่คิดถึงลูกค้าเป็นอันดับแรกเสมอ ขณะเดียวกัน ก็ต้องทำสิ่งที่ว่าเหล่านี้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้กลายเป็นนิสัยติดตัวพนักงานทุกคนตลอดไป

  • มาตรการการปฏิบัติตามข้อกำหนดและการรักษาความปลอดภัย

การจัดลำดับความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลและการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ทำให้ธนาคารทุกแห่งจำเป็นต้องอัปเดตโปรโตคอลความปลอดภัยเป็นประจำ ควบคู่ไปกับการตรวจสอบและติดตามข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สิ่งนี้ช่วยให้มั่นใจได้ถึงสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี

  • การทำงานร่วมกันข้ามสายงาน

วิธีที่มีประสิทธิภาพในการทำให้แนวคิด customer centric banking ที่ธนาคารแต่ละแห่งต้องการบรรลุเป้าหมายนั้นให้ได้ ต้องเริ่มจากการส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างแผนกต่างๆ ตั้งแต่การเปิดโอกาสให้ผู้คนจากแต่ละแผนกสามารถสื่อสารระหว่างกันได้อย่างเต็มที่ สร้างทีมงานข้ามสายงาน และส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างแผนกไอที การตลาด และบริการลูกค้า ที่เป็นกระดูกสันหลังหลักของธนาคารแต่ละแห่ง

  • รับฟังฟีดแบ็กจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

หนึ่งในเป้าหมายของการดำเนินงานด้วยแนวคิด customer centric banking คือการสร้างรูปแบบการทำงานที่ช่วยให้รับรู้ถึงความคิดเห็นทั้งในแง่บวกและลบจากลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการดำเนินการสำรวจฟีดแบ็กจากลูกค้าเป็นประจำ การติดตามเสียงจากโซเชียลมีเดียและโลกออนไลน์ รวมถึงข้อเสนอแนะที่เข้ามาจากช่องทางต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยปรับให้เข้ากับความรู้สึกและความชอบของลูกค้าเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

  • แนวทางการพัฒนาแบบ Agile และกระบวนการพัฒนาแบบซ้ำๆ

กลยุทธ์สุดท้ายที่จะช่วยให้ธนาคารสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินดีลูกค้าต้องการได้อย่างรวดเร็ว เกิดขึ้นได้ด้วยการนำวิธีการทำงานแบบ Agile มาใช้ในกระบวนการพัฒนา โดยแบ่งโปรเจกต์ออกเป็นวงจรการทำงานแบบวนซ้ำ (iterative process) ซึ่งแนวทางนี้จะมอบความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็วต่อความต้องการของลูกค้าและตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องในอนาคต

รู้ทุกแง่มุมของลูกค้าพร้อมสนับสนุนแนวทาง Customer Centric Banking ด้วยการทำ Data Analytics

Data analytics หรือ การวิเคราะห์ข้อมูล มีบทบาทสำคัญในการทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าภายในกรอบการทำงานของธนาคารที่ยึดเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ด้วยการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือและเทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูง ธนาคารจะได้รับข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ และปรับปรุงประสบการณ์โดยรวมของลูกค้าให้ดีขึ้น เพื่อให้คุณเข้าใจมากขึ้นเราจะพาไปดูว่าการวิเคราะห์ข้อมูลช่วยให้คุณคว้าโอกาสก้าวนำคู่แข่งได้อย่างไรบ้าง 

Data Analytics เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า

  • แบ่งกลุ่มลูกค้าอย่างชัดเจน

การทำ data analytics เป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยในการแบ่งกลุ่มของลูกค้าตามพฤติกรรม ความชอบ และข้อมูลประชากรให้ออกมาถูกต้องและตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยการแบ่งกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจนจะช่วยให้ธนาคารสามารถกำหนดเป้าหมายในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน รวมถึงข้อเสนอที่เหมาะสำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้อย่างตรงจุด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างครอบคลุม

  • วิเคราะห์สิ่งต่างๆ เพื่อคาดการณ์อนาคตที่ใกล้มาถึง

Predictive analytics หรือ การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์คือการใช้ข้อมูลลูกค้าในอดีตเพื่อคาดการณ์พฤติกรรมในอนาคต สิ่งนี้ช่วยให้ธนาคารสามารถรู้ถึงแนวโน้มต่างๆ ตั้งแต่โอกาสที่ลูกค้าอาจเปลี่ยนใจ และความต้องการใหม่ๆ เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าได้ล่วงหน้า และส่งเสริมให้แนวทาง customer centric banking ทำได้ประสบความสำเร็จ

  • ทำ personalization ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละคน

การวิเคราะห์ข้อมูลเปิดโอกาสให้ธนาคารตรวจสอบการโต้ตอบและธุรกรรมของลูกค้าแต่ละรายได้ละเอียดมากขึ้น ซึ่งข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ช่วยให้ธนาคารสามารถดำเนินกลยุทธ์ personalization เพื่อมอบคำแนะนำต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการ และสร้างแคมเปญการตลาดที่ตรงกับเป้าหมายของลูกค้าแต่ละรายได้อย่างตรงจุด ส่งผลให้ความพึงพอใจและความชื่นชอบของลูกค้าที่มีต่อธนาคารเพิ่มสูงขึ้น

  • บริหารความเสี่ยงครบทุกมิติ

ธนาคารต่างๆ จำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าเพื่อประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตและรู้ถึงการฉ้อโกงต่างๆ ที่เกิดขึ้น สิ่งนี้ช่วยให้ธนาคารสามารถตัดสินใจให้สินเชื่อแก่ลูกค้าด้วยการรับความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด โดยการใช้ข้อมูลที่ได้จากการทำ data analytics นำมาปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง และอัปเดตมาตรการรักษาความปลอดภัยเพื่อปกป้องทั้งตัวธนาคารและลูกค้าไปพร้อมกัน

  • สร้าง customer journey ที่ใช่

Customer journey ที่ใช่มักได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ช่วยให้ธนาคารสามารถจัดทำเส้นทางที่ลูกค้าเข้ามาใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินได้อย่างสมบูรณ์แบบ ความเข้าใจนี้ช่วยให้ธนาคารรู้จุดที่เป็นอุปสรรค ปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน และปรับเปลี่ยน touchpoint ต่างๆ ให้ดีขึ้นได้ ท้ายที่สุดแล้วการทำสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลดีต่อประสบการณ์โดยรวมของลูกค้าเป็นอย่างมาก

  • วิเคราะห์ความคิดเห็นของลูกค้าแบบเจาะลึก

การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์คำติชมและความคิดเห็นของลูกค้านั้นมีข้อดีหลายประการ เริ่มตั้งแต่การที่ธนาคารสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับระดับความพึงพอใจของลูกค้า ระบุจุดที่ต้องปรับปรุง และแก้ไขข้อกังวลที่มีอยู่ของลูกค้าได้ทันที ซึ่งแน่นอนว่าการทำ data analytics จะช่วยส่งเสริมแนวคิด customer centric banking ให้ตอบสนองต่อความต้องการและมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางได้มากขึ้น

  • พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ลูกค้าต้องการจริงๆ

การวิเคราะห์ความชอบของลูกค้าและแนวโน้มของตลาดเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สิ่งนี้ช่วยให้ธนาคารสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า เพื่อให้มั่นใจว่ามีความเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องในตลาดและตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

Mixpanel แปลงข้อมูลดิบให้เป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอด

การค้นหาข้อมูลเชิงลึกที่เหมาะสมสำหรับแนวคิด customer centric banking จำเป็นต้องใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลที่มากกว่าแค่ Google Analytics หรืออื่นๆ ที่มีอยู่ในตลาด เพราะข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เข้ามาอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน รวมถึงของเดิมที่มีอยู่ในฐานข้อมูลของธนาคารนั้น เป็นอะไรที่ไม่สามารถจัดการได้ง่ายเหมือนกับการวิเคราะห์ข้อมูลในธุรกิจประเภทอื่น ที่มีผู้ใช้งานราวหลักร้อยถึงหมื่นคน รวมถึงมีธุรกรรมเกิดขึ้นไม่มากเท่าไรนัก

คำตอบที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลของธนาคาร ก็คือ Mixpanel เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดที่ช่วยแปลงข้อมูลดิบให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกที่พร้อมสำหรับการนำไปใช้ในเรื่องต่างๆ รวมถึงสามารถหา insight ได้ละเอียดว่าผู้ใช้มีพฤติกรรมแบบไหนและโต้ตอบกับโปรดักต์อย่างไร รวมถึงการช่วยปรับปรุง conversion, ทำ user segmentation, A/B testing และอื่นๆ อีกมากมายได้

Mixpanel ยังมีจุดเด่นอีกมากมายที่เหมาะสำหรับธุรกิจต่างๆ และธนาคารที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลให้กลายเป็นขุมทรัพย์ที่มีค่าสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการในอนาคต ดังนี้

  • ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างแผนกต่างๆ เช่น UI/UX และเวิร์กโฟลว์ที่ใช้งานง่าย พร้อมเมนูสร้างรายงานหลักและเทมเพลตที่ติดตั้งเอาไว้ล่วงหน้า 
  • สื่อสารได้คล่องตัวมากขึ้น ด้วยเครื่องมือที่ติดตั้งมากับ Mixpanel อย่าง Slack, Figma, และ Notion 
  • นำข้อมูลที่ได้ไปต่อยอดหรือทดลองทำสิ่งใหม่ๆ ได้มากมาย ด้วยการเชื่อมโยงกับเครื่องมืออื่นๆ อาทิ data warehouse เช่น AWS, Azuze, และ Google Cloud หรือ CDP เช่น Segment, Freshpoint ฯลฯ เครื่องมือทำ A/B testing อย่าง ABTasty, split ฯลฯ รวมถึงเครื่องมืออื่นๆ อีกมากกว่า 100 รายการ
  • เก็บข้อมูลอันมีค่าไว้ได้นานกว่า ด้วยระยะสูงสุด 5 ปี ทำให้สามารถดึงข้อมูลย้อนหลังมาใช้วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลชุดใหม่ที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องได้ตามความต้องการ


ยังมีข้อดีอีกมากมายที่รอให้คุณได้ศึกษาเพื่อประกอบการตัดสินใจและเลือกใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลที่ครบวงจรอย่าง Mixpanel คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่

วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อเข้าถึงขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ภายในแนวทาง customer centric banking

Customer centric banking คือแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจการเงินและการธนาคารสามารถฟันฝ่าพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงที่โถมเข้ามาตลอดหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ ด้วยการทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าแบบเจาะลึกและครบทุกมิติ เพื่อเข้าถึงข้อมูลอันมีค่าจำนวนมหาศาลที่ซ่อนอยู่ในทุกๆ เรื่อง

Seven Peaks และ Morphosis ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ digital transformation, การทำ data anayltics, การตลาดดิจิทัล ตลอดจนการพัฒนาดิจิทัลโปรดักต์ ที่เคยร่วมงานกับสถาบันการเงินชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศมาแล้ว เรายินดีอย่างยิ่งที่จะพูดคุยกับคุณถึงแนวทางและโซลูชันในการนำพาธุรกิจของคุณไปสู่อนาคตที่ตั้งเอาไว้ ปรึกษาเราตอนนี้