หลังจากที่ร้านค้าต่างๆ ทั่วประเทศหันมาใช้คิวอาร์โค้ดในการรับชำระเงินกันอย่างแพร่หลาย บวกกับผลกระทบของโควิด-19 ที่ผลักดันให้ทุกภาคส่วนหันมาทำธุรกรรมแบบไร้สัมผัสมากขึ้น ไลฟ์สไตล์การจับจ่ายใช้สอยของคนไทยก็เปลี่ยนไปตามเทรนด์ของ “สังคมไร้เงินสด” อย่างเห็นได้ชัด จนเกิดเป็นการต่อยอดมาถึง cross-border payment ในปัจจุบัน
ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกว่า cross-border payment คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจ FinTech และ InsurTech เพื่อให้คุณมองเห็นโอกาสและวางแนวทางพัฒนาธุรกิจของคุณในยุคดิจิทัลอย่างเหมาะสม
ปกติแล้ว cross-border payment นั้นหมายถึงการชำระเงินในรูปแบบใดๆ ก็ตามที่สามารถทำรายการข้ามประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายด้วยบัตรเครดิต เดบิต โอนเงินผ่านธนาคาร หรือแม้แต่คริปโทเคอร์เรนซี และสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหลาย ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนจะหมายถึง cross-border QR payment ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นหลัก ที่มักเรียกย่อๆ ว่า cross-border payment
cross-border QR payment คือระบบชำระเงินระหว่างประเทศผ่านคิวอาร์โค้ดที่ ธปท. พัฒนาขึ้นมา โดยได้รับความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ให้ทั้งประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติสามารถสแกนจ่ายได้ในประเทศที่รองรับ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ใช้งานง่าย และปลอดภัยยิ่งขึ้น
ระบบนี้ได้เข้ามาช่วยแก้ pain point เดิมๆ ที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกเคยมี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความไม่สะดวกที่ต้องพกเงินสดทีละมากๆ กังวลเรื่องเงินหาย แบงก์ปลอม หรือ ค่าธรรมเนียมที่สูง ตั้งแต่ 1.5% ไปจนถึง 4% และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
ซึ่งในประเทศไทยก็จะใช้ระบบ Thai QR Payment ที่คนไทยคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เป็นพื้นฐานในการรับชำระเงินนั่นเอง
ระบบ cross-border QR payment นี้เริ่มมาจากโครงการ ASEAN Payment Connectivity เมื่อปี พ.ศ. 2562 ที่ ธปท. ต้องการสร้างระบบให้ประชาชนในกลุ่มอาเซียนสามารถชำระเงินระหว่างกันได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น แล้วต่อยอดมาเรื่อยๆ จนในปัจจุบันรองรับทั้งหมด 7 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ รวมถึงประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอย่างญี่ปุ่น และล่าสุดคือฮ่องกง โดยมีแนวโน้มว่าจะรองรับประเทศอื่นๆ ในเอเชียเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต เช่น อินเดีย ในเร็วๆ นี้
ข้อมูลจากเว็บไซต์ ธปท.
จากรูปจะเห็นได้ว่าธนาคารไทยที่รองรับระบบดังกล่าวนั้นยังไม่ครอบคลุมธนาคารครบทุกแห่งในไทย ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าข้อจำกัดหรืออุปสรรคที่ทำให้ธนาคารไทยบางแห่งยังไม่เข้าร่วมโปรเจกต์นี้คืออะไร เพราะหากพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะได้รับนั้นถือว่าน่าสนใจและคุ้มค่าที่จะลงทุนเป็นอย่างยิ่ง โดยเราจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป
ในด้านของผู้ใช้
ในด้านของธุรกิจ
ในด้านของเทคโนโลยี
เรื่องของ cross-border payment นั้นเรียกได้ว่าเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจ FinTech ในไทยสามารถเพิ่มรายได้แบบก้าวกระโดดได้ แต่การจะเข้าร่วมในระบบนิเวศดังกล่าวอย่างราบรื่นนั้นต้องมีระบบที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพื่อให้ปรับขนาดสำหรับการรองรับผู้ใช้จำนวนมหาศาลได้ ซึ่งหากคุณต้องการความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถปรึกษา Seven Peaks ได้ เพราะเรามีประสบการณ์ในการให้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์ และรับทำ digital transformation ให้กับลูกค้าชั้นนำมาแล้วมากมาย ติดต่อเราได้แล้ววันนี้