ปัจจุบันแอปพลิเคชันมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนทั่วไป หรือแม้แต่ในภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น web application หรือแม้แต่ mobile application ที่ใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหลาย App นั้นในแต่ละวันเราได้ใช้กันแทบที่จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยตัวเลขจาก Bankmycell ชี้ว่าในแต่ละวันผู้บริโภคจะใช้งาน mobile application วันละ 9-10 แอปฯ และในแต่ละเดือนมีการใช้งานแอปฯ เฉลี่ยอยู่ที่ 30 แอปฯ เลยทีเดียว
เทรนด์การพัฒนาแอปฯ ในปัจจุบันถือว่ามีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงหลายสิบปีก่อน เห็นได้จากการสร้าง mobile app ที่ใช้สามารถใช้งานในโทรศัพท์มือถือได้ทุกแพลตฟอร์ม เช่น iOS และ Android มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
บทความนี้จะพาคุณผู้ที่อาจเป็นคนที่กำลังสนใจอยากเป็น mobile app developer หรือ dev ที่อยู่ในวงการมานาน แต่กำลังมองหาตัวเลือกการสร้างแอปฯ ใหม่ๆ ไปดูถึงการเลือกภาษาในการเขียนโปรแกรมรวมถึงโปรแกรมสำหรับสร้างแอปพลิเคชันว่ามีอะไรบ้าง แล้วปัจจัยสำคัญใดที่ต้องนำมาพิจารณาก่อนที่จะมีการพัฒนา mobile app บ้าง
การเลือกภาษา programming สำหรับโปรแกรมสร้างแอปพลิเคชันมีหลากหลายปัจจัยให้ต้องพิจารณา ไม่ว่าจะเป็น
สิ่งหนึ่งที่สำคัญสุดในการเลือกภาษาหรือโปรแกรมสร้างแอปพลิเคชันคือความต้องการของลูกค้าในโปรเจกต์พัฒนาแอปฯ หรือเว็บแอปฯ นั้น ไม่ว่าจะเป็นขอบเขตงาน เช่น ภาษาหรือเฟรมเวิร์กต่างๆ ลูกค้าได้กำหนดให้เราต้องพัฒนาตามแนวทางหรือไม่ หรือแม้แต่ให้พัฒนาต่อยอดจากโปรเจกต์เดิมที่ลูกค้าดำเนินการอยู่แล้ว
ขณะเดียวกัน การพิจารณาถึงความต้องการใช้งานบนแพลตฟอร์มใดก็มีส่วนสำคัญ เช่น การสร้าง mobile app บน iOS อาจมีความต้องการต่างกันกับ Android หรือแม้แต่การพัฒนา web application ที่ใช้งานทั่วๆ ไปก็มีความต้องการที่แตกต่างกันไป
ปัจจัยดังกล่าวถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ developer หรือแม้แต่ภาคธุรกิจควรจะทำการสำรวจความต้องการอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะเริ่มพัฒนาโปรแกรม
หลายครั้งที่องค์กรต้องการที่จะพัฒนาแอปฯ ให้เสร็จเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นักพัฒนาโปรแกรมเองจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยนี้ขณะเลือกใช้ภาษาที่ผู้คนพร้อมจะให้คำปรึกษาหรือสนับสนุนผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ชุมชนของ developer ที่ใช้ภาษาต่างๆ ในการพัฒนา appplication ถ้าเกิดปัญหาติดขัดใดๆ ในการพัฒนาโปรเจกต์ขึ้นมา คงจะดีกว่าหากมีช่องทางช่วยเหลือที่ทำให้ dev สามารถเขียนโปรแกรมได้ไวและไม่ติดขัด
ในทางกลับกัน หากลูกค้าหรือคุณตัดสินใจเลือกใช้ภาษาเขียนโปรแกรมที่เป็นภาษาใหม่ ก็ต้องเข้าใจด้วยว่าการที่มีชุมชนและจำนวน dev ที่ใช้ค่อนข้างน้อย อาจทำให้ระยะเวลาของโปรเจกต์ยืดออกไปนานมากขึ้น ขณะเดียวกันตัวแอปฯ เองก็ยังมีความเสี่ยงที่อาจการทำงานผิดพลาด หรือคุณภาพการทำงานของ app ลดลงในแต่ละส่วนหรือโดยรวมลดลง
อีกปัจจัยที่สำคัญคือเรื่องของงบประมาณในการพัฒนาแอปพลิเคชัน บรรดาค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ใช่เพียงแค่ค่าจ้าง dev ให้ทำการเขียนโปรแกรมใหม่ขึ้นมาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงค่าใช้จ่ายในการปรับปรุง, เพิ่มฟีเจอร์ของแอปฯ ในอนาคต, การดูแลความปลอดภัย, หรือแม้แต่แก้ไขตัวแอปฯ ถ้าหากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น
หากเกิดเหตุไม่คาดคิดจนทำให้การประเมินค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ผิดพลาด นอกจากจะทำให้เสียเวลาในการพัฒนาแอปฯ แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อบริษัทหรือผู้ที่รับงานพัฒนาแอปพลิเคชันอีกต่างหาก ขณะเดียวกันตัวโปรแกรมที่ส่งมอบให้ลูกค้าอาจไม่ได้มีประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น รวมถึงยังทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นโดยไม่จำเป็นในภายหลัง เนื่องจากต้องทำการแก้ไขเพิ่มเติม หรือซ้ำร้ายอาจถึงขั้นที่ต้องเขียนแอปฯ ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด
เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมจากบรรดา developer มาช้านาน เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูงรวมถึงมีฐานนักพัฒนาผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก และ JavaScript ยังเป็นภาษาสำคัญในการเขียนหน้าเว็บไซต์ให้ออกมามีประสิทธิภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นการแสดงภาพเคลื่อนไหว หรือแม้แต่การรีเฟรชหน้าเว็บไซต์หรือบนแอปฯ มือถือ ได้โดยอัตโนมัติ
ถือเป็นอีกภาษาที่ได้รับความนิยมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า JavaScript โดยเฉพาะในการพัฒนา web application ไปจนถึงแมชชีนเลิร์นนิง นอกจากนี้ Python ยังอยู่เบื้องหลังการทำงานของเว็บไซต์ชื่อดังอย่างเช่น YouTube หรือ Netflix อีกต่างหาก แถมเป็นภาษาที่เรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย และสามารถใช้งานในการเขียนโปรแกรมได้หลากหลายรูปแบบตั้งแต่เว็บแอปพลิเคชันไปจนถึงแมชชีนเลิร์นนิง
สำหรับ Swift ถือเป็นอีกภาษาสำคัญในวงการ developer เนื่องจากผู้พัฒนาภาษาดังกล่าวอย่าง Apple ได้ใช้ภาษาในการพัฒนาโปรแกรมบนผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ iPhone จนถึง Mac ซึ่งมีผู้ใช้งานจำนวนมาก นอกจากนี้หากนักพัฒนาต้องการเขียนแอปฯ ให้สามารถใช้ได้ทั้ง iPhone หรือ Mac ได้ การเขียนด้วยภาษา Swift ก็ยังช่วยลดเวลาที่ต้องพัฒนาตัวแอปฯ ขึ้นมาใหม่ได้อีกด้วย
Google ประกาศให้ Kotlin เป็นภาษาหลักในการพัฒนา application บน Android ในปี 2019 ทำให้ภาษาดังกล่าวได้รับความนิยม เนื่องจากผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการ Android มีสัดส่วนการใช้งานมากถึง 70% จากสัดส่วนโทรศัพท์มือถือทั้งหมดทั่วโลก
Google ได้พัฒนา Golang หรือเรียกย่อๆ ว่า Go ในปี 2007 โดยต้องการที่จะใช้ทดแทนภาษา Java หรือแม้แต่ C++ เนื่องจากต้องการความรวดเร็ว เน้นความเข้าใจในภาษาที่ง่าย ส่งผลทำให้ผู้พัฒนาโปรแกรมสามารถมี productivity เพิ่มมากขึ้น
Flutter เป็นโปรแกรมสร้างแอปฯ ที่ใช้ได้หลากหลายแพลตฟอร์ม โดยสามารถดีไซน์ UX/UI ได้ตามความต้องการของแต่ละโปรดักต์ ปัจจุบัน Flutter ได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นมิตรต่อนักพัฒนาโปรแกรม ไม่เพียงเท่านี้ Flutter ยังมีการอัปเดตอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สามารถใช้งานฟีเจอร์ใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง
เป็นอีกโปรแกรมที่ช่วยให้ developer ทำสร้างแอปพลิเคชันบน Android และ iOS หรือพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ขณะเดียวกันโปรแกรมยังมีการพัฒนาตัวโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้นักพัฒนาที่คุ้นเคยกับ JavaScript อยู่แล้วสามารถที่จะทำงานกับ React Native ได้ง่ายมากขึ้นด้วย
ด้วยการใช้ NativeScript นักพัฒนาจะทำการพัฒนาแอปฯ แบบเนทีฟโดยใช้ภาษา JavaScript เป็นต้น และ developer เองก็สามารถที่เขียนแอปพลิเคชันบนสองแพลตฟอร์มทั้ง Android และ iOS ควบคู่กันได้
App Inventor จาก MIT มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกจากสหรัฐอเมริกาที่จะช่วยให้คุณสามารถเข้าใจการเขียนโปรแกรมได้เพิ่มมากขึ้น โดยไม่ต้องหัดเขียนโค้ด เพียงแค่ลากและเชื่อมโยงสิ่งที่ต้องการ และที่สำคัญโปรแกรมสำหรับสร้างแอปพลิเคชันดังกล่าวนี้เป็นของฟรีอีกต่างหาก
การใช้ภาษาหรือโปรแกรมในการสร้างแอปพลิเคชันถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการมีไอเดียที่ดีในการสร้างสรรค์ดิจิทัลโปรดักต์ ขณะเดียวกัน แอปพลิเคชันที่ดีและมีประสิทธิภาพสูงก็ถือเป็นประตูอีกบานในการในการเพิ่มรายได้ให้กับองค์กร เนื่องจากแอปพลิเคชันที่ดีจะสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานหรือทำให้ลูกค้าประสบทำสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาต้องการได้สำเร็จเป็นอย่างดี
Seven Peaks ยินดีที่จะช่วยคุณวางกลยุทธ์ต่างๆ ในการสร้างแอปพลิเคชัน ด้วยการใช้ภาษาในการเขียนโปรแกรมที่เหมาะสม ควบคู่กับทีมงานที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่ทีม developer, ทีม designer, ทีมการตลาดดิจิทัล, และทีมอื่นๆ ซึ่งมีความเข้าใจในทุกขั้นตอนของการพัฒนาดิจิทัลโปรดักต์ และทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโตต่อเนื่อง รวมถึงเป็นที่หนึ่งในใจของลูกค้าเสมอ ปรึกษาเราตอนนี้