บทความและข่าวสาร | Seven Peaks Insights

UX Writing, Copywriting, และ Content Writing ต่างกันอย่างไร

เขียนโดย Seven Peaks - 15 ก.ค. 2024, 3:42:09

การสร้างคอนเทนต์ที่มีความหมายสามารถเชื่อมโยงธุรกิจและลูกค้าของคุณในยุคดิจิทัลได้ ท่ามกลางการแข่งขันสูงและสิ่งล่อตาล่อใจมากมาย

คอนเทนต์ทำหน้าที่หลักในการสื่อสารระหว่างธุรกิจและลูกค้าให้มีความเข้าใจตรงกัน และช่วยให้แบรนด์ของคุณเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น ด้วยการสื่อสารผ่านข้อความ การพัฒนาเอกลักษณ์ของแบรนด์ และสร้างตัวตนที่มีลักษณะเฉพาะได้อย่างชัดเจน ดังนั้น คอนเทนต์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้สำหรับการโฆษณา เพื่อช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

หรืออีกนัยหนึ่งคือ คอนเทนต์เป็นหนึ่งในการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่ขาดไม่ได้ ซึ่งนักธุรกิจระดับผู้บริหารหลายคนทุ่มเทเวลาและงบประมาณไปกับการฝึกทักษะของพนักงานในองค์กรให้เป็นประโยชน์กับธุรกิจที่สุด อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้ที่จะสร้างคอนเทนต์ด้านธุรกิจที่มีคุณภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยพัฒนาให้ธุรกิจเติบโตได้

ในบทความนี้ เราได้แบ่งความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างคอนเทนต์ออกเป็น ความแตกต่างของคอนเทนต์แต่ละประเภท ประกอบด้วย UX writing การเขียนคอนเทนต์ทั่วไป และ copywriting ตลอดจนแนะนำแนวทางการสร้างคอนเทนต์ที่จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

คอนเทนต์คืออะไร ทำไมถึงมีบทบาทสำคัญกับการทำธุรกิจ

คอนเทนต์ในช่วงแรกเป็นเพียงการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ในการเข้าถึงลูกค้าผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ หรือเข้าใจได้ว่า คอนเทนต์สื่อกลางที่จะทำให้ผู้พบเห็นได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกย่อยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกคอนเทนต์ที่พยายามสร้างขึ้นจะประสบความสำเร็จเสมอไป เพราะมีหลายคนที่ละเลยความสำคัญของการทำคอนเทนต์ ซึ่งเราได้รวบรวมวิธีการคิดคอนเทนต์ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ธุรกิจของคุณไว้ ดังนี้

  1. ลูกค้าต้องได้เห็นคอนเทนต์ 

    คอนเทนต์ที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจของคุณเข้าถึงลูกค้าได้อย่างง่ายดาย โดยการยิงโฆษณาคอนเทนต์ เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นและเข้าถึงวัตถุประสงค์ของธุรกิจ ได้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และได้ประโยชน์ในการทำโฆษณาอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ คอนเทนต์ยังเป็นสื่อกลางที่ช่วยเชื่อมโยงลูกค้าและธุรกิจของคุณได้อย่างยอดเยี่ยม

  2. กระตุ้นให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับธุรกิจ 

    ถ้าคอนเทนต์ของคุณมีคุณภาพมากพอ ก็จะกระตุ้นให้มีคนอยากอ่าน กดไลก์ และกดแชร์มากขึ้น ซึ่งเป็นคอนเทนต์ที่ประสบความสำเร็จในการเชื่อมโยงลูกค้า และทำให้มีลูกค้าประจำหมุนเวียนเข้ามาใช้บริการหรือซื้อขายกับธุรกิจของคุณในระยะยาว

  3. สร้างยอดขายและหาลูกค้ารายใหม่

    ปฏิเสธไม่ได้ว่า ลูกค้ารายใหม่และยอดขายคือสิ่งสำคัญขั้นพื้นฐานที่ทุกธุรกิจคาดหวังจากการทำคอนเทนต์ ซึ่งคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพควรมีข้อมูลที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้พบเห็นให้ได้นั้นอาจต้องใช้เวลาและเงินลงทุนในเพจธุรกิจของคุณ

ความแตกต่างของคอนเทนต์แต่ละประเภท

คอนเทนต์ที่สื่อความหมายได้ชัดเจนจะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังทำให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การเขียนคอนเทนต์แต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ธุรกิจต้องการสื่อสารกับผู้บริโภค แบ่งเป็น UX writing, copywriting และการเขียนคอนเทนต์ทั่วไป 

เริ่มจากความหมายของ copywriting ซึ่งในช่วงปี 1900 กระแสการทำคอนเทนต์นิยมทำในรูปแบบหนังสือพิมพ์ โฆษณาบิลบอร์ด โดยการเขียนคอนเทนต์ทั่วไป และ UX writing ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่เปรียบเหมือนเครื่องมือในการทำธุรกิจอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยให้เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น

แม้การเขียนคอนเทนต์ทั้ง 3 ประเภทจะมีขั้นตอนในการวางแผน การเขียน และการปรับเปลี่ยนที่คล้ายกัน แต่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน มาดูกันว่าคอนเทนต์แต่ละประเภทมีความเหมือนและต่างกันอย่างไร

1. UX writing – เขียนเพื่อช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจการใช้งานของแอปฯ และเว็บไซต์ได้ง่าย

นักเขียน UX จะสร้างคอนเทนต์หรือข้อความสำหรับแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ และผลิตภัณฑ์ดิจิทัลอื่นๆ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจการทำงานและใช้งานง่าย ซึ่งนักเขียน UX รู้อยู่แล้วว่าต้องใช้คำหรือกลุ่มคำอะไรเพื่อให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์ดิจิทัล โดยส่วนใหญ่มักคุ้นเคยกับคำและกลุ่มคำเหล่านี้

  • เมนู

  • คำอธิบาย

  • ปุ่มกด

  • ข้อความชี้แนะ

  • แชตบอด

  • ข้อความที่มีปัญหา

  • หน้าแนะนำการใช้งานแอปฯ หรือเว็บ

  • Empty states 

นอกจากนี้ นักเขียน UX ยังเป็นผู้สร้าง microcopy อีกด้วย

ส่วน copywriting มีความแตกต่างจาก UX writing อย่างสิ้นเชิง โดย copywriting มีวัตถุประสงค์ในการขายสินค้าและบริการ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจประโยชน์ที่จะได้รับจากธุรกิจของคุณ แต่ UX writing เขียนเพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจและรู้ว่าควรจะต้องทำอะไรในลำดับถัดไป เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการใช้งานผลิตภัณฑ์ ซึ่งการเป็นนักเขียน UX จะต้องสามารถทำความเข้าใจผู้ใช้ได้อย่างถ่องแท้ ควบคู่กับการทำ user research 

เพื่อให้แน่ใจว่าคอนเทนต์ที่สร้างขึ้นจะสะท้อนเอกลักษณ์หรือสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชัน และเว็บไซต์ให้ลูกค้าเข้าใจได้จริง ควรวางแนวทาง แผนการเขียน copy และคอนเทนต์ให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจ

ฉะนั้น หัวใจของการเขียน UX writing คือเทคนิคการเขียนที่ทำให้ใครๆ ก็สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ดิจิทัลได้อย่างราบรื่นด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายและชัดเจน เช่น บางคนอาจรู้สึกว่าไม่อยากทำรายการต่อหรือวิตกกังวล เมื่อได้รับการแจ้งเตือนจากแอปฯ หรือเว็บว่า “มีความผิดพลาดเกิดขึ้น” เพราะผู้ใช้อาจไม่เข้าใจรายละเอียดเชิงเทคนิคว่าเกิดปัญหาขึ้นได้อย่างไร นั่นจึงเป็นความรับผิดชอบของนักเขียน UX ที่จะต้องปรับปรุงการสื่อความหมายห้วนๆ และแข็งกระด้างนี้ ให้เป็นข้อความที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และดูเป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้น

ภาพจา “How to build a better product with UX writing”

อย่างไรก็ตาม นักเขียน UX เป็นผู้เขียนที่คำนึงถึงผู้ใช้แอปฯ และเว็บไซต์เป็นหลัก โดยใช้หลักการในการเขียนด้วย 4 ปัจจัยนี้

  1. สื่อความหมายได้ชัดเจน

  2. คอนเทนต์สั้น กระชับ และช่วยให้ผู้ใช้จับใจความได้ในทันที

  3. ใช้ศัพท์ที่มีความสอดคล้องกันทั้งหมด เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้สับสน

  4. ช่วยให้ผู้ใช้มั่นใจที่จะทำรายการในแอปฯ หรือเว็บไซต์ต่อไปได้อย่างมั่นใจ

ดังนั้น เหตุผลที่ต้องมี 4 ปัจจัยพื้นฐานข้างต้นในการเขียน UX writing เป็นเพราะผู้เขียนต้องการช่วยให้ผู้ใช้ทำรายการออนไลน์ได้อย่างราบรื่น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างมาก

2. การเขียนคอนเทนต์ทั่วไป – เขียนเพื่อแจ้งให้ผู้อ่านรับทราบข้อมูล

การเขียนคอนเทนต์เพื่อการเพิ่มยอดขาย ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ขายตรงหรือขายแบบเนียนๆ ก็ล้วนมีจุดประสงค์ในการให้ความรู้ แจ้งให้ลูกค้าทราบ และสร้างอรรถรสในการอ่านควบคู่กันไป นอกจากนี้ ผู้เขียนคอนเทนต์ยังมุ่งมั่นใส่เนื้อหาที่จะเป็นประโยชน์กับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้อ่าน ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของคอนเทนต์ได้ ดังนี้

  • บทความ

  • บล็อก

  • หนังสือพิมพ์

  • นิตยสาร

  • บทความประชาสัมพันธ์

  • จดหมายข่าว

คอนเทนต์แต่ละประเภทดังกล่าว มีเทคนิคการนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่หลีกเลี่ยงการขายตรงทุกรูปแบบ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นการนำเสนอที่ถูกออกแบบให้ขายในรูปแบบที่แนบเนียน ลองคิดง่ายๆ ดูได้ว่า คอนเทนต์ที่เป็นสื่อกลางในการนำเสนอข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมายของคุณ ด้วยวิธีการค่อยๆ โน้มน้าวใจ เพื่อให้ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการ พร้อมทั้งหาลูกค้ารายใหม่ที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าประจำของคุณเพิ่มขึ้น

อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้การเขียน copywriting และการเขียนคอนเทนต์ทั่วไปต่างกัน คือความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งนักเขียนคอนเทนต์ทั่วไปจะต้องค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ ที่ได้รับมา และเน้นการเลือกใช้คีย์เวิร์ดที่มีประสิทธิภาพด้าน SEO เพื่อให้ได้ organic traffic เข้าสู่เว็บไซต์ ในขณะที่นักเขียน copywriter อาจค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ควบคู่กับการขายสินค้าหรือบริการไปด้วย 

3. Copywriting – เขียนเพื่อขายสินค้าและบริการ

นักเขียน copywriter เขียน copy หรือคอนเทนต์ เพื่อดึงดูดและกระตุ้นให้ผู้อ่านรู้สึกอยากซื้อสินค้าหรือบริการ หรือพูดง่ายๆ ว่าผู้เขียน copywriting มีจุดประสงค์ที่จะขายโดยเฉพาะ โดยเขียนคอนเทนต์ได้หลายประเภท ดังนี้

  • เขียนพาดหัวเรื่อง

  • เขียนโฆษณา

  • โบรชัวร์

  • Landing pages

  • บล็อก

  • คอนเทนต์โซเชียลมีเดีย

  • เขียนโฆษณาทางอีเมล

สรุปได้ว่าการเขียน copywriting ใช้เพื่อการขายสินค้าหรือบริการ ผู้เขียนจะเลือกใช้คำที่ดึงดูดความสนใจจากลูกค้าให้ทำรายการได้สำเร็จ  ต่างกับการเขียน UX writing ที่มีเป้าหมายที่จะช่วยให้ผู้ใช้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำรายการได้ง่าย 

 

ภาพจาก Outlier Creative 
 

นอกจากนี้ นักเขียน copywriter ต้องการให้ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการให้เร็วที่สุด เช่น การแนะนำให้ลูกค้าดาวน์โหลดคำแนะนำหรือจดหมายข่าว โดยมีจุดประสงค์แอบแฝงที่จะให้ลูกค้าทำรายการ สมัครสมาชิก หรือคลิก เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งต่างจากการเขียนคอนเทนต์ทั่วไปที่ต้องการให้ลูกค้ามีส่วนร่วม หรือให้ข้อมูลต่างๆ กับลูกค้าเพียงเท่านั้น

อยากสร้างคอนเทนต์ทั้ง 3 ประเภทให้มีประสิทธิภาพใช่ไหม

ในปัจจุบัน มีคนทำงานที่จากบ้านและใช้โซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น การเขียนคอนเทนต์จึงมีความสำคัญกับธุรกิจมากกว่าที่ผ่านมา เพราะคอนเทนต์จะเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้คุณเข้าถึงลูกค้า และสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในอนาคตได้อย่างแน่นอน

เราหวังว่าตอนนี้คุณคงเข้าใจความแตกต่าง และคล้ายคลึงของคอนเทนต์แต่ละประเภทได้ดียิ่งขึ้นหลังจากอ่านบทความนี้จบ ซึ่งคอนเทนต์ทั้ง 3 ประเภททำได้จากการเขียนที่มีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน และต้องใช้ความเชี่ยวชาญที่ไม่เหมือนกัน

เพื่อพัฒนาธุรกิจของคุณให้เติบโตยิ่งขึ้น คุณจำเป็นต้องใช้คอนเทนต์ทั้ง 3 ประเภทนี้ เพื่อแจ้งข้อมูลและโน้มน้าวใจลูกค้า เข้าถึงลูกค้ารายใหม่ในเวลาและสถานที่ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ดังนั้น การสื่อสารคอนเทนต์แต่ละประเภทในจังหวะเวลาที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้ธุรกิจออนไลน์ของคุณประสบความสำเร็จ

เรียนรู้วิธีที่เราจะช่วยทำให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัล ติดต่อเรา เพื่อรับคำปรึกษาวันนี้

 

Pakazite (Om) Sudchai

Pakazite is a storyteller at Seven Peaks. He's an expert who can create content in various formats, including articles and microcopy, that answers business expectations and ensures user satisfaction.