การมองหาบริษัทรับทำแอพพลิเคชั่น หลายครั้งมักลงเอยด้วยการถอดใจไม่กล้าเดินหน้าพัฒนาแอพฯ ที่วาดฝันไว้ต่อ เพราะเจอกับราคาทำแอพพลิเคชั่นที่สูงเหนือความคาดหมายไปกว่าที่คิดไว้มาก ด้วยเหตุนี้เอง Seven Peaks บริษัทรับพัฒนา digital product ชั้นนำของไทย จึงอยากพูดถึงข้อมูลควรรู้อย่างเรื่องของราคาในการพัฒนาแอพฯ เพื่อให้โปรเจกต์ที่คุณคิดไว้สามารถเกิดขึ้นเป็นแอพฯ หรือแพลตฟอร์มที่พร้อมสำหรับการเปิดตัวอย่างเร็วที่สุด
ปัญหาที่เราพบบ่อยที่สุดเมื่อมีใครสักคนเข้ามาปรึกษาเรื่องการทำแอพพลิเคชั่นขึ้นมาสักหนึ่งแอพฯ นั่นก็คือคนเหล่านั้นเข้าใจถึงปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาแอพฯ เพียงเล็กน้อย เช่น รู้แค่ว่าอยากทำแอพฯ e-commerce, แอพฯ สำหรับ FinTech หรืออื่นๆ ที่พวกเขามีไอเดียสุดล้ำ ซึ่งนั่นเป็นหน้าที่ของเราในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่ต้องอธิบายให้พวกเขาเข้าใจว่าจริงๆ แล้ว มีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อราคาการทำแอพพลิเคชั่น
เริ่มด้วยการปรับความเข้าใจระหว่างลูกค้าผู้มาพร้อมกับไอเดียที่น่าสนใจกับบริษัทรับพัฒนาแอพพลิเคชั่นก่อนว่า โปรเจกต์ที่กำลังจะทำร่วมกันนั้นมีความซับซ้อนและขอบเขตของงานอยู่ที่ตรงไหน ตั้งแต่การพิจารณาถึงจำนวนฟีเจอร์ ฟังก์ชันการทำงาน และความซับซ้อนของการออกแบบ สิ่งที่กล่าวมานี้มีผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการพัฒนา เพราะยิ่งใส่ฟีเจอร์และฟังก์ชันการทำงานที่ซับซ้อนในแอพฯ มากเท่าไรก็ยิ่งผลักให้ต้นทุนสูงขึ้นเท่านั้น
การเลือกแพลตฟอร์ม (iOS, Android หรือทั้งสองอย่าง) ที่จะทำแอพฯ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจของคุณนั้น ส่งผลต่อราคาที่ต้องจ่ายในการพัฒนาแอพฯ เป็นอย่างมาก เนื่องจากการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ (cross platform application) มักจะต้องใช้เวลาและทรัพยากรมากกว่าการมุ่งเน้นไปที่แพลตฟอร์มเดียว
ปัจจุบันการพัฒนาแอพฯ มีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน เริ่มต้นจาก web application ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานผ่านเว็บเบราเซอร์ต่างๆ ได้โดยตรงแบบไม่ต้องติดตั้งแอพฯ ในเครื่องให้ยุ่งยาก หรือจะพัฒนา hybrid app ที่สามารถใช้งานได้บนมือถือระบบ iOS หรือ Android ก็ได้ และปิดท้ายด้วย native app ที่พัฒนามาเพื่อใช้กับระบบใดระบบหนึ่งโดยเฉพาะ แน่นอนว่าอย่างสุดท้ายให้ประสิทธิภาพสูงสุด แต่ต้องแลกกับค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแอพฯ ที่สูงขึ้นและระยะเวลาที่นานกว่า
ความสวยงามเป็นสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยสำหรับแอพฯ ใดก็ตาม นั่นจึงทำให้ปัจจัยในเรื่องการออกแบบและประสบการณ์ผู้ใช้ที่ราบรื่น ใช้งานง่าย (UX/UI) มีส่วนช่วยให้แอพพลิเคชันประสบความสำเร็จ แต่ว่าก็อาจเพิ่มค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแอพฯ ไปพร้อมกัน เพราะการออกแบบสิ่งต่างๆ แอนิเมชันที่น่าตื่นตาตื่นใจ รวมถึง mobile-first design ที่เหมาะกับการใช้ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ และองค์ประกอบแบบ interactive ที่สร้างขึ้นเฉพาะแอพฯ นั้นๆ ล้วนมีความซับซ้อนรวมถึงต้องใช้ความพยายามและทรัพยากรมากขึ้นในการสร้างขึ้นจนใช้งานได้จริง
การเลือก tech stack หรือภาษาที่ใช้สำหรับการเขียนแอพฯ เฟรมเวิร์ก และเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็น ล้วนส่งผลต่อต้นทุนการพัฒนาแอพฯ ไม่น้อยไปกว่าปัจจัยอื่นๆ ก่อนหน้านี้ โดยเทคโนโลยีบางอย่างอาจมีค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเพื่อใช้งาน ในขณะที่เทคโนโลยีอื่นๆ อาจต้องพึ่งพาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญสูงเพื่อจัดการ และแน่นอนว่ามันส่งผลต่อเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแอพฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หากแอพพลิเคชั่นจำเป็นต้องเชื่อมต่อการทำงานร่วมกับบริการของบุคคลที่สาม, API หรือฐานข้อมูลภายนอกใดๆ สิ่งนี้อาจส่งผลต่อต้นทุน ความซับซ้อนใน integration เข้ากับแอพฯ และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องต่างๆ
ขนาดและองค์ประกอบของทีมพัฒนา ที่รวมเอา developer, designer, project manager, และผู้เชี่ยวชาญด้าน QA ยิ่งมีจำนวนคนเกี่ยวข้องและต้องทำงานมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น โดยเฉพาะถ้าทีมมี dev ระดับอาวุโสเป็นดรีมทีมในการพัฒนาแอพฯ นั้น
เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้เมื่อถึงวันเปิดตัวอย่างเป็นทางการ การทดสอบอย่างละเอียดเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้แอพพลิเคชั่นเสถียร ใช้งานได้ลื่นไหล และมีความปลอดภัยเมื่อใช้งาน ด้วยการกำหนด requirement สำหรับการทดสอบที่ซับซ้อน รวมถึงการทดสอบความเข้ากันได้ การทดสอบความปลอดภัย และการทดสอบประสิทธิภาพ เหล่านี้ทั้งหมดล้วนส่งผลต่อระยะเวลาและราคาที่คุณต้องจ่ายในการพัฒนาแอพฯ
หลังจากเปิดตัวแอพฯ ได้แล้วยังมีค่าใช้จ่ายตามมา อย่าการบำรุงรักษาและอัปเดตเวอร์ชันของแอพฯ อย่างสม่ำเสมอ สิ่งนี้เป็นค่าใช้จ่ายต่อเนื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นหากคุณเตรียมวางแผนการบำรุงรักษาและการอัปเดตในระยะยาวให้ครอบคลุมเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับภาพรวมของแอพฯ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่มีส่วนช่วยทำให้แอพพลิเคชันทำงานได้อย่างราบรื่นและปลอดภัยต่อภัยคุกคามต่างๆ
หลังจากที่คุณได้ทำความเข้าใจถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลถึงค่าใช้จ่ายในการทำแอพพลิเคชั่นไปพอสมควรแล้ว คราวนี้ก็ถึงคิวของผู้ที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมกับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้เกิดขึ้น โดยจะมีอยู่ราว 10 ตำแหน่งด้วยกัน
Project manager หรือผู้จัดการโครงการ เป็นคนที่คอยทำหน้าดูแลกระบวนการพัฒนาแอพฯ ทั้งหมด ตั้งแต่จัดการไทม์ไลน์ของโปรเจกต์ ทรัพยากรและงบประมาณที่ใช้ รวมถึงต้องประสานงานระหว่างทีมพัฒนากับลูกค้า หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความเกี่ยวข้องกับโปรเจกต์อีกต่างหาก
Product owner จะคอยดูภาพรวมของการพัฒนาแอพฯ ให้สามารถดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้จริงในอนาคตมากที่สุด ด้วยการกำหนดและจัดลำดับความสำคัญของฟีเจอร์ต่างๆ ภายในแอพฯ พร้อมทั้งทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมพัฒนาเพื่อให้แน่ใจว่าโปรดักต์นั้นจะตรงตามความต้องการของผู้ใช้เมื่อถึงวันที่เปิดตัวแอพพลิเคชั่นสู่ตลาด
Dev หรือบรรดาวิศวกรซอฟต์แวร์ที่รับผิดชอบด้านการเขียนโค้ดและการเขียนโปรแกรม ที่ในแง่ของการพัฒนาแอพฯ อาจหมายรวมถึง front-end developer, back-end developer, และนักพัฒนาแอพฯ มือถือที่ทั้งหมดคือฟันเฟืองสำคัญที่สรรค์สร้างทุกอย่างเพื่อให้ออกมาเป็นแอพพลิเคชั่นที่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน
UI/UX designer คือนักออกแบบที่มีหน้าที่ในการสร้างองค์ประกอบภาพ กราฟิก ปุ่ม เมนู และส่วน interactive ของแอพฯ ให้เป็นไปตามหลักการออกแบบที่คำนึงถึงประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดีที่สุด และยังต้องสื่อถึงเอกลักษณ์ความโดดเด่นของแบรนด์ที่พัฒนาแอพฯ นั้น เพื่อให้ผู้ใช้รู้สึกประทับใจเมื่อได้ใช้งานจริงอีกด้วย
QA ที่ย่อมาจากคำว่า quality assurance คือผู้ที่รับผิดชอบในการตรวจสอบว่าแอพฯ ทำงานตามที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทำงานได้ราบรื่น ไม่มีบั๊ก ตามที่ได้กำหนดเป้าหมายเอาไว้ในตอนเริ่มต้นโปรเจกต์หรือไม่ ด้วยการดำเนินการทดสอบประเภทต่างๆ ที่ไล่ตั้งแต่การทดสอบการทำงาน การใช้งาน และประสิทธิภาพในการทำงานของแอพฯ เมื่อมีการใช้งานอย่างหนักหน่วง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพแอพฯ ว่าจะไม่เกิดปัญหาใดๆ ขึ้นมาเมื่ออยู่ในมือของผู้ใช้จริง
ทุกอย่างจะเริ่มต้นไม่ได้เลยหากขาด business analyst ที่มาช่วยวิเคราะห์ requirement ทางธุรกิจที่ได้รับมาจากการพูดคุยกับลูกค้า และทำการแปลงความต้องการเหล่านั้นให้กลายเป็น requirement เฉพาะในการทำงานด้านต่างๆ ระหว่างการพัฒนาแอพฯ ซึ่งจะช่วยให้ project manager, product owner, รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผนงานสามารถที่จะกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของโปรเจกต์ได้อย่างถูกต้อง
หน้าที่สำคัญของ system architect หรือวิศวกรระบบก็คือการออกแบบโครงสร้างและสถาปัตยกรรมโดยรวมของแอพพลิเคชั่น พร้อมทั้งทำงานร่วมกับทีม developer ในการกำหนด requirement ทางเทคนิคต่างๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาแอพฯ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
DevOps เป็นคนที่คอยช่วยเหลือในการ integration การใช้เครื่องมือพัฒนาต่างๆ ให้เหมาะกับการดำเนินงานของโปรเจกต์ รวมถึงรับผิดชอบในการปรับใช้ ดูระบบอัตโนมัติให้สามารถลดภาระงานของทีม dev ได้มากขึ้น และปรับใช้สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การพัฒนาแอพฯ เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
แอพพลิเคชั่นจะมีผู้ใช้ได้รับเสียงตอบรับที่ดีหรือไม่นั้น ทีมการตลาดคืออีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จนั้นเช่นกัน ด้วยการจัดเตรียมกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีครอบคลุมในช่วงที่ต้องแนะนำแอพฯ สู่ตลาด พร้อมทั้งสร้างสื่อหรือคอนเทนต์เพื่อส่งเสริมการขายและแคมเปญต่างๆ ที่กระตุ้นให้ผู้ใช้อยากเข้ามาทดลองใช้แอพฯ และกลับมาใช้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
ลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีหน้าที่สำคัญมากที่สุดอย่างการบอกถึงสิ่งที่ต้องการจากการทำธุรกิจ วัตถุประสงค์ในการเกิดขึ้นมาของแอพฯ และแผนพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่อยากได้ในอนาคต ด้วยการเสนอความคิดเห็นในระหว่างขั้นตอนการพัฒนาและการทดสอบอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ทีมผู้พัฒนาแอพฯ มีข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้แอพฯ ที่ออกมาคว้าโอกาสประสบความสำเร็จได้มากที่สุด
แอพฯ แต่ละประเภทล้วนมีต้นทุนในการพัฒนาที่แตกต่างกันไป บ้างอาจเริ่มต้นที่หลักล้านบาทและสูงไปจนถึงหลักสิบล้านบาท และแน่นอนว่าทั้งหมดขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า โดยค่าทำแอพพลิเคชั่นนั้นไม่ใช่ปัจจัยสำคัญอย่างเดียวที่คุณต้องพิจารณาเพื่อตัดสินใจเริ่มพัฒนาแอพฯ แต่ปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดในบทความนี้ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไปไม่ได้เลยสำหรับการสร้างแอพฯ ที่ดี มีประสิทธิภาพ และมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดออกสู่ตลาด
หากคุณกำลังต้องการสร้าง digital product อย่าง แอพพลิเคชั่น เว็บไซต์ หรือแพลตฟอร์มใดก็ตาม Seven Peaks ในฐานบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำของไทยที่มีประสบการณ์สูงและผ่านการร่วมงานกับลูกค้าระดับโลกและในไทยมาหลายแห่ง ยินดีจะให้คำปรึกษาเรื่องแอพพลิเคชั่นของคุณ