การเกิดขึ้นของ digital healthcare หรือการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัล ในปัจจุบันได้กลายเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการแพทย์ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงนี้มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากเกิดการระบาดใหญ่ของโควิด-19 รวมถึงการที่ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เหล่านี้เป็นสาเหตุให้ไทยมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนเทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพหรือที่เรียกว่า HealthTech ให้ก้าวไปข้างหน้า
บทความนี้จะทำให้คุณได้รับข้อมูลอัปเดตล่าสุดเกี่ยวกับแนวโน้มที่กำลังพัฒนาในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพดิจิทัลของประเทศไทย
ภายในปี 2568 แนวโน้มอุตสาหกรรม digital health ในเอเชียมีศักยภาพที่จะเพิ่มมูลค่าได้ถึง 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท) เทียบกับมูลค่าเริ่มต้นที่ 37,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท) โดยสำหรับตลาด digital health ในประเทศไทยนั้น มีโอกาสที่จะขยายตัวได้ถึง 25% ต่อปีภายในปี 2563
นอกจากนี้ McKinsey ค้นพบว่าระบบการบริการสุขภาพมีมูลค่าคิดเป็น 75% ของมูลค่าตลาด digital healthcare ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาคส่วนนี้มีแนวโน้มที่จะเติบโตในอนาคต มาดูเทรนด์ที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นกันดีกว่า
แพทย์สามารถให้บริการด้านสุขภาพผ่านการโทรและวิดีโอคอลโดยใช้แอปฯ มือถือ telemedicine Raksa แอปนี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ส่วนบุคคล, ตรวจสอบความสามารถเฉพาะด้านของแพทย์, ซื้อยา, หรือรับใบสั่งยาออนไลน์ เพื่อที่พวกเขาจะได้ซื้อยาที่ร้านขายยาด้วยตัวเอง นอกจากนี้ Raksa ยังให้บริการเคลมประกันสุขภาพออนไลน์ซึ่งช่วยประหยัดเวลาได้มากขึ้นอีกด้วย
ในด้านบริการส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างร่วมมือกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง Apple, (Apple Watch), AIA (AIA Vitality) และบริษัทประกันสุขภาพระดับโลกอย่าง Prudential (Pulse by Prudential) กำลังเร่งพัฒนา digital healthcare ที่สามารถประเมินความเจ็บป่วยเบื้องต้น, ดูบันทึกด้านสุขภาพและวัคซีน, บันทึกโภชนาการของมื้ออาหาร, และคุณสมบัติอื่นๆ สำหรับผู้ที่รักสุขภาพ
โรงพยาบาลหลายแห่งพยายามพัฒนาแพลตฟอร์มบริการสุขภาพแบบดิจิทัลแบบครบวงจร ซึ่งผู้ป่วยสามารถนัดหมายแพทย์, รับยา, ประเมินความเสี่ยงของโรคต่างๆ, และเข้าถึงข้อมูลการฉีดวัคซีนได้ตามต้องการ
โดยรัฐบาลสิงคโปร์ได้เปิดให้ประชาชนเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ผ่านแอปฯ HealthHub ในขณะเดียวกัน โรงพยาบาลกว่า 1,000 แห่งในจีนก็ได้ให้บริการด้านสุขภาพออนไลน์ร่วมกับพาร์ตเนอร์ดิจิทัล เช่น Alibaba, Tencent, และ Ping An
Medlinker และ ClouDr สองแพลตฟอร์มการจัดการโรคเรื้อรังในจีน ช่วยอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วย แพทย์ สถานพยาบาล และเภสัชกร ให้ทุกคนติดต่อกันได้ง่ายยิ่งขึ้น
ความปรารถนาที่จะยกระดับระบบสาธารณสุขของประเทศไทยเพื่อความยั่งยืนในระยะยาวได้รับแรงผลักดันจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ผลกระทบที่ยืดเยื้อของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ซึ่งกินเวลากว่า 3 ปี และปัญหาประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
การรวม digital healthcare กับกรอบของระบบการดูแลสุขภาพถือเป็นทางออกที่ดี องค์กรต่างๆ กำลังนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเต็มที่ เช่น AI, ที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์, เครือข่าย 5G, และ Internet of Medical Things (IoMT) ซึ่งสถาบันสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยต่างตระหนักถึงศักยภาพของการปฏิวัติดิจิทัล นำไปสู่การแนะนำนโยบายใหม่ๆ ที่มุ่งสร้างคุณค่าชีวิตด้วยการขยายการเข้าถึงบริการด้าน digital healthcare ให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำด้าน AI & Big Data ในปี 2564 ผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้รวมตัวกันเพื่อพูดคุยถึงข้อดีของการใช้ประโยชน์จาก AI และ Big Data ในการสร้างระบบการจัดการข้อมูลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สิ่งที่ดึงดูดความสนใจอย่างมากคือเทคโนโลยีดิจิทัลของโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกด้าน digital healthcare ในประเทศไทย
AI Paramedic จะช่วยประเมินผู้บาดเจ็บหรือคนไข้ในกรณีฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยให้ทีม ER สามารถจัดการกับการบาดเจ็บเล็กน้อยและการเจ็บป่วยในที่เกิดเหตุได้ทันที
โรงพยาบาลศิริราชใช้เทคโนโลยี 5G และ AI เพื่อประเมินอาการเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็วและวินิจฉัยได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ทำให้แพทย์สามารถติดตามสุขภาพของผู้ป่วยได้ดีขึ้น ประโยชน์หลักของเทคโนโลยีทางการแพทย์นี้คือทำให้แพทย์สามารถตรวจผู้ป่วยได้จากทุกที่ทุกเวลา
การฝึกอบรมและประสบการณ์ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีความสำคัญต่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง โรงพยาบาลศิริราชจึงได้พัฒนาพยาธิวิทยานี้ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว และลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการประเมินสภาวะที่รุนแรงให้เหลือน้อยที่สุด
การจัดหาอุปกรณ์การแพทย์และยาเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาลขนาดใหญ่หลายแห่ง ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลศิริราชจึงได้สร้างระบบ smart inventory ที่ใช้ AI ในการตรวจสอบการเวชภัณฑ์ว่ามีปริมาณเพียงพอหรือไม่
ความพยายามที่เพิ่มขึ้นจากทั้งภาครัฐและเอกชนในการปรับปรุงเทคโนโลยีด้านสุขภาพบ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงแนวโน้มด้าน digital healthcare ที่เพิ่มขึ้น ความสนใจที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง แต่ได้เกิดขึ้นกับทุกแห่งทั่วโลกและยังมีศักยภาพการเติบโตที่สูงขึ้นในระยะยาว โดยปัจจุบันบริษัทเอกชนหลายแห่งกำลังเตรียมพร้อมรับมือกับโรคระบาดในอนาคต, สังคมสูงวัย, และตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ในเรื่องสุขภาพของพวกเขา
ที่ Morphosis บริษัทในเครือของเรา สามารถช่วยคุณในทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาแอปฯ ตั้งแต่การวิจัยผู้ใช้ (UX research) และการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (การออกแบบ UI) ไปจนถึงการพัฒนาแอปฯ มือถือ (MAD) และการตลาดดิจิทัล
โดยเราได้ช่วยเหลือบริษัทต่างๆ มากมาย เช่น ChiiWii, Raksa, Pulse by Prudential, แอปฯ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, แอปฯ โรงพยาบาลกรุงเทพ และ Samitivej Virtual Hospital ในการขยายธุรกิจอีคอมเมิร์ซของพวกเขา
ติดต่อเราวันนี้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม