บทความและข่าวสาร | Seven Peaks Insights

เรียนรู้จากตัวอย่างการใช้ API ในการพัฒนาแอปฯ สำหรับธนาคาร

Written by Seven Peaks | 22 ธ.ค. 2021, 3:43:00
 
 
 

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2021 Seven Peaks Software ได้จัดงาน meetup ทั้งในรูปแบบออนไลน์และใช้ออฟฟิศของเราเป็นสถานที่จัดงาน ในหัวข้อเกี่ยวกับตัวอย่างการพัฒนาระบบคลาวด์และ API สำหรับธนาคาร ซึ่งหัวข้อที่เราเลือกนำเสนอคือการพัฒนา API โดยมีวิทยากร 3 ท่านที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคลาวด์ที่จะมามอบความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ให้คุณได้รับทราบถึงแนวทางการพัฒนาระบบคลาวด์ให้ประสบความสำเร็จ

 

สรุปสาระสำคัญจากงาน meetup – การบริหารจัดการ API ของ Azure และตัวอย่างการใช้งาน API ในธุรกิจธนาคาร

งาน meetup ครั้งนี้เปิดงานโดยคุณ Satish Kamalchand Dadha ซึ่งเขาเป็น Senior Specialist ที่เน้นการสร้างนวัตกรรมดิจิทัลและแอปพลิเคชันที่ Microsoft โดยมานำเสนอแนวทางการบริหารจัดการ Azure API และการนำ API ไปใช้ในธุรกิจธนาคาร

เซสชันของเขาเน้นการพูดถึงการนำ API ไปใช้กับธุรกิจธนาคารและบริการทางการเงิน ขีดความสามารถที่ควรพิจารณาในโซลูชันบริหารจัดการ API และภาพรวมของโซลูชันบริหารจัดการ API ของ Azure

ในการบรรยายครั้งนี้ คุณ Satish ได้ลงลึกถึงสาเหตุว่าทำไมองค์กรมากมายจึงควรพิจารณาถึงการลงทุนด้านโซลูชันบริหารจัดการ API

เขาได้พูดต่อถึงสิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึงในการบริหารจัดการ API ขีดความสามารถที่ควรมองหาในโซลูชันบริหารจัดการ API มีอะไรบ้าง และเมื่อมีการสร้างเคสขึ้นมาด้วยชุดเครื่องมือบริหารจัดการ API แล้ว มันควรมีความสามารถแบบไหนบ้าง นอกจากนั้นเขายังพูดถึงการตรวจสอบความสามารถและข้อเสนอด้านการบริหารจัดการ API อีกด้วย

ในตอนท้าย คุณ Satish สรุปการบรรยายของเขาด้วยเคสการใช้งานจริงของ API ในธุรกิจธนาคารจากมุมมองของบริการด้านการเงิน

แล้วทำไมองค์กรของคุณถึงควรพิจารณาถึงการลงทุนด้านการบริหารจัดการ API กันล่ะ?

เมื่อองค์กรลงทุนในโซลูชันการบริหารจัดการ API พวกเขาต้องการลงทุนโดยการนำเสนอความสามารถทางธุรกิจด้วย API ซึ่งช่วยให้พวกเขาขยายขีดความสามารถทางธุรกิจได้

ดังนั้น ถ้าสมมติว่าธุรกิจของคุณคือธนาคาร ร้านค้า โรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว และคมนาคม เมื่อธุรกิจต้องการเริ่มนำเสนอความสามารถหลักๆ API จะช่วยเปิดโอกาสในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจได้ ซึ่งสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เนื่องจากมีหลายสิ่งหลายอย่างรอบตัวเราที่กำลังเปลี่ยนไปทำงานบนแอปฯ เป็นหลัก

เมื่อธุรกิจเริ่มเปิดเผยว่าใช้ API เป็นเครื่องมือหลักในการให้บริการ สิ่งนี้ได้ช่วยเปิดโอกาสในการเป็นพาร์ตเนอร์กับสตาร์ตอัปด้วยการสร้างแอปฯ จากนั้นก็จะเพิ่มขีดความสามารถให้ธุรกิจได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง

ในประเด็นต่อไป Satish ได้อธิบายว่ามีขีดความสามารถแบบใดที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาบ้าง ซึ่งแนวทางการบริหารจัดการ API แบบใดก็ตามที่มีคนใช้งานมากทั้งในด้านของลูกค้าและพาร์ตเนอร์ ก็ถือว่าแนวทางนั้นประสบความสำเร็จ.

ดังนั้น เราต้องระวังหรือรู้อยู่เสมอว่าผู้บริโภคคาดหวังอะไรจาก API ซึ่งการที่แนวคิดการบริหารจัดการ API จะประสบความสำเร็จได้นั้นจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าผู้บริโภคและผู้ให้บริการ API มีความคาดหวังอย่างไรบ้าง

ความคาดหวังของผู้บริโภค API

  • นักพัฒนาจะค้นหา API ได้อย่างไรบ้าง
  • นักพัฒนาจะสมัครการใช้งาน API อย่างไร
  • สามารถทดลองใช้ API ก่อนลงทุนลงแรงใช้งานจริงได้หรือไม่
  • มีเอกสารคู่มือไหม
  • API มีสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการมองหาหรือเปล่า หรือผู้ให้บริการสามารถทำอะไรได้บ้าง

ความคาดหวังของของผู้ให้บริการ API

  • ตัวเลือกในการสร้าง API ด้วยการทำงานแบบอัตโนมัติ การแสดงผล และการเขียนโค้ด
  • Lifecycle และ governance สำหรับ API และสินค้า
  • ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของ API และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ API
  • มี Developer Portal แบบบริการตัวเองที่ปรับแต่งได้ตามต้องการสำหรับการเผยแพร่และใช้งาน API
  • มีนโยบายในการดูแลรักษาความปลอดภัย
  • ระบบวิเคราะห์การใช้งาน API ขั้นสูง
  • รองรับรูปแบบ hybrid-cloud, multi-cloud, และ on-premise
  • สามารถปรับขยายได้ตามต้องการ

ระบบบริหารจัดการ API ของ Azure ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบต่อไปนี้

  • API – Management Plane
  • Developer portal – User Plane
  • Gateway – Data Plane