งานสัมมนา BYOND Thursday ได้รับการจัดขึ้นอีกครั้งที่ออฟฟิศของ Seven Peaks ซึ่งเราจัดการอภิปรายเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่าง โซลูชันและโปรดักต์ 5G รวมถึงผลกระทบต่ออุตสาหกรรม IT และการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อหาคำตอบว่าหากบริษัทหนึ่งจะอัปเกรดมาใช้ 5Gจะคุ้มหรือไม่
เริ่มจากทำความรู้จักกับผู้เชี่ยวชาญที่มาร่วมงานในครั้งนี้กันก่อน
คุณอุบลย์ สุฑธนะ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) ผู้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาของไทย คุณแดน อิสระยั่งยืน CTO ของ Ascend Group ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการทำ digital transformation ให้กับหลายบริษัทในเครือ CP และ คุณ Per-Erik Bergman ผู้เป็น Head of Mobile ของ Central Tech ซึ่งจะมาให้ทรรศนะส่วนตัวเกี่ยวกับโซลูชันและโปรดักต์ 5G สำหรับธุรกิจ ในฐานะที่เคยเป็น game developer มาก่อน
ด้วยประสบการณ์การทำงานของแต่ละท่านที่ต่างกัน ทำให้เกิดมุมมองอันหลากหลายต่อโลกของ 5G โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้
เราจะนิยามการ อัปเกรดจาก 4G ไป 5Gว่าอย่างไร? สิ่งที่เป็นนัยของการลงทุนเรื่องนี้คืออะไร? ถ้าอยาก อัปเกรดไปใช้ 5Gต้องปรึกษาใคร? และทำไมต้องมี 5G?
ตอนนี้เรากำลังอัปเกรดจาก 4G ไปยัง 5G ซึ่งเป็น ประเด็นร้อนของปี 2022 เทคโนโลยีนี้เป็นการส่งสัญญาณ ไร้สายที่รวดเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม มันยังมีสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นอยู่ ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะมีโปรดักต์ที่ใช้ 5G อย่างมือถือ แต่คุณอาจจะยังไม่รู้ว่ามันสามารถทำงานบนอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ได้เช่นกัน พูดง่ายๆ ก็คือ 5G ช่วยเชื่อมต่อหลายๆ อุปกรณ์เข้าด้วยกัน ไม่ใช่แค่แล็ปท็อปและมือถือ แต่เป็นอุปกรณ์ทุกชนิด ดังนั้น 5G จึงเป็นได้ทั้งโปรดักต์และโซลูชัน
ความคาดหวังเกี่ยวกับธุรกิจจึงสูงกว่าเดิมมาก เพราะว่าเรากำลังอยู่ในโลกที่ทุกอย่างเชื่อมต่อกันมากขึ้น นั่นหมายความว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะผนวกรวมสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน และทำให้สิ่งเหล่านั้นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น
แต่ต้องลงทุนมากแค่ไหนในการสร้างประสบการณ์ดีๆ จากการที่อุปกรณ์เหล่านี้เชื่อมต่อกัน ในมุมมองของธุรกิจนั้น คำถามหลักๆ ที่ควรถามคือ เราจะอัปเกรดจาก 4G ไป 5G ได้อย่างไร? ซึ่งเป็นเรื่องยากเพราะว่ามีขั้นตอนมากมายที่ต้องทำกว่าที่มันจะไปถึงมือของลูกค้าได้ คุณจำเป็นต้องหาทางมอบประสบการณ์ที่เหมาะสมในราคาที่สมเหตุสมผล และยังต้องมีโปรโมชันดีๆ ในจังหวะที่ใช่ ให้กับลูกค้าผ่านทางระบบ CRM ของคุณด้วย ซึ่งนี่เป็นการลงทุนที่สูงมากกว่าที่คุณจะรู้ว่าคุณต้องโปรโมทกับใครบ้าง
สำหรับ developer ชาวไทย การอัปเกรดไปใช้ 5G เป็นเหมือนกับความฝันเลยทีเดียว เพราะเน็ตเวิร์กจะทรงพลังและทำงานอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าเดิม ทำให้เราสามารถสร้างนวัตกรรมที่ใช้งานได้จริงในสังคม
จากประสบการณ์ของคุณอุบลย์ในด้านการศึกษา เทคโนโลยี 5G นั้นมีประโยชน์มากเพราะว่าช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อช่วยให้ครูอาจารย์สามารถอธิบายบทเรียนยากๆ ได้ แต่ปัญหาก็คือ มีเพียงองค์กรขนาดใหญ่และหน่วยงานของรัฐเท่านั้นที่สามารถลงทุนเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มของตัวเองได้ ด้วยเหตุนี้ สถาบันการศึกษาหลายแห่งจึงถูกทิ้งให้รอคอยความช่วยเหลือเพื่อก้าวสู่โลกดิจิทัลต่อไป
ในกลุ่มของการพัฒนาซอฟต์แวร์ในไทย ลูกค้าส่วนใหญ่เป็น SME และยังไม่มีเงินมากพอที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มของตัวเองขึ้นมา ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังขาดความรู้เกี่ยวกับ digital transformation อยู่ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการให้ความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัลให้กับคนในสังคมก่อน เพื่อให้ทุกคนพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่โลกของ 5G
คุณ Per-Erik เชื่อว่าธุรกิจต่างๆ สามารถใช้ข้อมูลได้ดีกว่านี้เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยี 5G การจะทำแบบนั้นได้ เราควรรวมเอา 5G และ เทคโนโลยี virtual reality (VR) เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะช่วยยกระดับประสบการณ์ในการใช้งาน VR ได้
เราได้กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้วว่าอินเทอร์เน็ตจะมีอยู่ทุกที่ แม้แต่บนพื้น อย่างที่ Ikea หรือในระบบรักษาความปลอดภัยบนเรือที่มีป้ายดิจิทัลเพื่อให้สัญญาณคนทั้งในส่วนของสัญญาณฉุกเฉินและใช้เป็นสื่อโฆษณา
ที่จริงแล้ว เราใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT เช่น กล้องถ่ายรูปที่คอยจับภาพการเคลื่อนไหวคน โดนทำการติดตามสถานะและเก็บข้อมูลจากกิจกรรมต่างๆ ของผู้คนเหล่านั้น ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่เราสร้างประสบการณ์แบบนี้ขึ้นมา วิธีนี้ช่วยกระตุ้นให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ใช้งานจริงได้มากขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม
ยกตัวอย่างเช่น ลองจินตนาการดูว่า การไปช็อปปิงที่ Tops Supermarket คุณต้องเดินไปที่แคชเชียร์แล้วเห็นว่าพวกเขามีลูกอมและของชิ้นเล็กๆ ที่สามารถหยิบมาคิดเงินได้ง่ายๆ ดูสิ นั่นเป็นเพราะพวกเขารู้ว่าต้องมีคนมาผ่านทางนั้นอยู่แล้ว และมีแนวโน้มที่จะหยิบของราคาไม่แพงเหล่านั้นมาใส่ตะกร้าเพื่อคิดเงิน
การรวบรวมข้อมูลเพื่อระบุว่าจุดไหนบ้างที่มีความสำคัญต่อธุรกิจคือโอกาสอันยอดเยี่ยม นอกจากนั้น เรายังสามารถรวบรวมข้อมูลในแบบเรียลไทม์ได้ด้วย เราก็จะรู้ว่ามีคนเยอะในพื้นที่ไหนบ้างและพวกเขาไปทำอะไรตรงนั้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถนำข้อมูลที่ดีที่สุดมาพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้พวกเราได้
แบนด์วิดท์ส่วนใหญ่จะถูกใช้โดยทีมพัฒนาธุรกิจที่ต้องการข้อมูลแบบเรียลไทม์จากทีม development ซึ่งพวกเขาจะต้องลำบากในการรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ เพราะว่าการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์นั้นเป็นสิ่งที่ยากมาก อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วทุกอย่างก็จะเชื่อมต่อกับ CRM
จากที่คุณแดนมอง สิ่งที่บริษัทใหญ่ๆ น่าจะเป็นเหมือนกันคือ ต้องการวิธีที่จะรู้จักลูกค้าทุกคนและมอบข้อเสนอที่พวกเขาต้องการจริงๆ ในเวลาที่เหมาะสมที่สุด
ทำให้หลายบริษัทกำลังพยายามจูงใจลูกค้าให้สแกนสิ่งต่างๆ ในร้านเพื่อให้พวกเขาสามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าผ่านระบบสมาชิกได้ จากนั้น เขาก็จะรู้ว่าโปรโมชันแบบไหนที่ลูกค้าต้องการ
ถ้าการขายของเป็นสิ่งที่คนอยากทำกันมากขึ้น แล้ว social selling สำคัญแค่ไหน?
ในความคิดของคุณแดน social selling คือเรื่องของความเชื่อใจ สิ่งที่โลกโซเชียลมอบให้คุณคือความเชื่อใจ ซึ่งนำไปสู่คำถามที่สำคัญกว่า นั่นก็คือ การเข้าใจลูกค้าได้ดีขึ้น กับการเผยแพร่สื่อแบบเสมือนจริงได้มากขึ้น แบบไหนช่วยสร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่ากัน
social selling กลายเป็นปรากฏการณ์ในตลาดของประเทศไทย แตกต่างจากที่อื่นๆ ซึ่งการใช้ 5G ในเชิงธุรกิจของไทยนั้น พวกเขาใช้ในการส่งเสริมประสบการณ์ในการขายของออนไลน์ เทคโนโลยีเว็บไซต์ทำให้ผู้คนสามารถสร้างสื่อของตัวเองแล้วแชร์ให้โลกรับรู้ได้ จนทุกคนสามารถกลายเป็นสื่อได้ด้วยตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ผู้คนต่างก็ต้องการความมั่นใจก่อนจะซื้อของ คุณเคยโดนเพื่อนฝูงมากมายต่างก็เข้ามาแนะนำสิ่งต่างๆ กับคุณบ้างไหม หรือคุณเคยสงสัยไหมว่าคำแนะนำเหล่านั้นเชื่อถือได้หรือเปล่า
ในทางตรงกันข้าม คุณ Per-Erik บอกว่าในสวีเดน มีเพียงวิธีเดียวเท่านั้นที่จะทำได้ พวกเขาไม่ต้องการให้ใครมาคะยั้นคะยอขายของให้ ถ้าพวกเขาต้องการอะไรก็จะไปหาข้อมูลด้วยตัวเอง
5G จะเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของคนเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างไร? แนวคิด no-code กับ low-code มีส่วนเกี่ยวข้องมากแค่ไหน? คุณเพิ่มการพัฒนาบางส่วนลงไปเพราะว่าผู้ใช้มีแบนด์วิดท์มากขึ้นหรือเปล่า?
ในประวัติศาสตร์ของคอมพิวเตอร์ เราเปลี่ยนจากโมเดลการทำงานแบบ client-server และเมนเฟรม สู่ยุคของ end-user computing จากนั้นเรากลับมาสู่ยุคของ client-server อีกครั้ง ก่อนที่จะเข้าสู่ยุคของอินเทอร์เน็ตและเกิดประชากรของอินเทอร์เน็ต และก็ยังคงไม่ชัดเจนว่าตอนนี้เน้นไปที่แนวทางไหนมากกว่ากันระหว่างแนวทาง end-user computing, client-server, และ distributed computing
ในมุมมองของคุณแดน สิ่งที่เราพบเห็นในปี 2022 นั้นดูเหมือนจะเป็นโมเดล client-server แต่มีองค์ประกอบของอุปกรณ์แบบ end-user เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปัญหาหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลงก็คือ คุณต้องรอให้ถึงยุคต่อไปเสียก่อน แต่เป็นเรื่องยากมากสำหรับคนที่ไม่เคยสัมผัสกับเทคโนโลยีแบบนั้นมาก่อนหรือไม่ใช่ developer ที่จะนำมันไปใช้งาน หนึ่งในฟีดแบ็กสำคัญที่สุดที่ทีมพัฒนาโปรดักต์ได้รับจากผู้ใช้ก็คือ “ฉันไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณสร้างขึ้นมา”
5G จะกระทบต่อแนวทางพัฒนาแบบ low-code และ no-code อย่างไร?
ในบริบทของการพัฒนาแบบ no-code และ low-code นั้น ยังไม่ชัดเจนว่าปัจจัยไหนโดดเด่นกว่ากันในแง่ของการสร้างความเปลี่ยนแปลงและทำให้ผู้คนคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มเหล่านี้ ซึ่งมันอาจเป็นทัศนคติที่น่าเศร้าอย่างเช่น “โอ้ developer ของคุณคงยังไม่สามารถส่งงานนี้ให้กับทีมพัฒนาธุรกิจได้ในเร็วๆ นี้หรอก”
หากคุณมองที่การพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือ เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรทั้งสิ้นเกี่ยวกับการพัฒนาแอปฯ เหล่านั้น เนื่องจากว่าต้องใช้เวลากว่าที่มือถือสเปกต่ำในตลาดทั้งหมดจะใช้การไม่ได้ ดังนั้น ถ้าคุณมี 5G ในอุปกรณ์ระดับไฮเอนด์ ก็ต้องใช้เวลาอีกนานหลายปีกว่าเราจะก้าวข้ามการทำ caching ได้
สิ่งเพียงสิ่งเดียวที่น่าจะเปลี่ยนแปลงเร็วๆ นี้ก็คือ เราจะสามารถปรับปรุงประสบการณ์ของคนที่ใช้เทคโนโลยีนี้ได้ แต่เรายังจำเป็นต้องคิดถึงอุปกรณ์อื่นๆ ด้วย ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นคือ developer ต้องใช้เวลานานขึ้นในการทำสิ่งต่างๆ เพราะว่าพวกเขาจำเป็นต้องคำนึงถึงหลายสิ่งมากขึ้น
จริงอยู่ที่ 5G คือการส่งสัญญาณแบบไร้สายที่เร็วกว่าเดิม แต่มันเป็นมากกว่านั้น ความคาดหวังเกี่ยวกับโปรดักต์ 5G นั้นสูงกว่าเดิมมาก เพราะว่าเรากำลังอยู่ในโลกที่เชื่อมต่อกันมากขึ้น และเราจำเป็นต้องมีวิธีที่สร้างสรรค์ในการรวมเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชันใหม่ๆ ที่เกินความคาดหมาย